Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หัวข้อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หัวข้อ, 14 found, display 1-14
  1. หัวข้อ : น. ต้นเรื่อง, ส่วนสําคัญของเรื่องที่แยกออกเป็นส่วน ๆ และ กำหนด ไว้ตอนต้นเรื่อง, ใจความสําคัญ.
  2. ตันตระ ๑ : [-ตฺระ] (แบบ) น. ส่วนสําคัญ, หัวข้อ, คําสอน. (ส.).
  3. อรรถบท : [อัดถะบด] น. แก่นเรื่อง, เนื้อความ, หัวข้อ, สาระ.
  4. ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
  5. อังคุตรนิกาย : [คุดตะระ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดง หลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะ ตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
  6. กระทู้ ๒ : น. หัวข้อหรือข้อความที่ตั้งให้อธิบาย เช่น กระทู้ธรรม กระทู้ถาม. กระทู้ถาม (กฎ) น. คําถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิก สภานิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบ เป็นหนังสือ. (อ. question).
  7. ญัตติ : น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
  8. ธรรมปฏิสัมภิทา : น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความ เข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
  9. บรรณานุกรม : [บันนานุกฺรม] น. บัญชีรายชื่อหนังสือที่ใช้ประกอบ การค้นคว้า, บัญชีรายชื่อหนังสือในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ยุคใด ยุคหนึ่ง หรือของผู้เขียนคนใดคนหนึ่ง มักจะมีรายละเอียดหรือ บทวิจารณ์สั้น ๆ ประกอบ.
  10. แม่บท : น. หัวข้อใหญ่ เช่น ยกบาลีขึ้นมาเป็นแม่บท, หลัก เช่น โครงการแม่บท; ท่าที่เป็นหลักของการรํา, แม่ท่า ก็เรียก.
  11. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  12. วิทยานิพนธ์ : น. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.
  13. วิภัชพยากรณ์ : น. การพยากรณ์หรืออธิบาย โดยจําแนกธรรมแต่ละ หัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น ซึ่งคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.
  14. วิภัชวาที : น. ผู้จําแนกธรรมแต่ละหัวข้อตามเหตุและผลแห่งธรรมนั้น โดยคํานึงถึงนิสัยของผู้ฟังเป็นที่ตั้ง.

(0.0088 sec)