Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อรรถ , then อรรถ, อรรถะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อรรถ, 28 found, display 1-28
  1. อรรถ, อรรถ : [อัด, อัดถะ] น. เนื้อความ เช่น แปลโดยอรรถ, คําที่ยังไม่ได้ แปลความหมาย เช่น คําอรรถ. (ส. อรฺถ; ป. อตฺถ).
  2. อรรถกถาจารย์ : น. อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา.
  3. อรรถกถา : [อัดถะกะถา] น. คัมภีร์ที่อธิบายความพระบาลี, คัมภีร์ ที่ไขความพระไตรปิฎก. (ส. อรฺถ + กถา; ป. อตฺถกถา, อฏฺ?กถา).
  4. อรรถกวี : [อัดถะกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรอง ตามความเป็นจริง.
  5. อรรถคดี : [อัดถะคะดี] (กฎ) น. เรื่องที่ฟ้องร้องกันในศาล.
  6. แปลโดยอรรถ : ก. แปลตามเนื้อความ, แปลตามอรรถ ก็ว่า.
  7. โดยอรรถ : ว. ตามเนื้อความ.
  8. แปลตามอรรถ : ก. แปลตามเนื้อความ.
  9. เอื้อนอรรถ, เอื้อนเอ่ย, เอื้อนโอฐ ๒ : (กลอน) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้แก่กิริยาที่ทำทีอิดเอื้อนไม่ใคร่พูดออก มาง่าย ๆ.
  10. อรรถาธิบาย : ดู อรรถ, อรรถ.
  11. กระจัด ๒ : ว. กระจะ, จะจะ, ชัด, เช่น ฝ่ายล่ามบอกออกอรรถกระจัดแจ้ง. (อภัย).
  12. กระบวน : น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
  13. กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
  14. กวาดล้าง : ก. กําจัดให้หมดไป เช่น กวาดล้างอันธพาล กวาดล้างโจรผู้ร้าย. [กฺวาน, กฺว่าน] น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่. (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน. (ยวนพ่าย). [กฺว้าน] น. ตึก ใช้ควบกันว่า ตึกกว้าน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่อยู่ซึ่งปลูกไว้คล้ายโรงนา พื้นอยู่กับดิน. [กฺว้าน] น. เครื่องสําหรับฉุดดึงและยกของหนัก. ก. ฉุดด้วยกว้าน, ขันกว้าน ก็เรียก; รวบรวมจากที่ต่าง ๆ มาไว้เป็นจํานวนมาก เช่น กว้านสินค้ามากักตุนไว้. [กฺว๊าน] (ถิ่น-พายัพ) น. บึง; น้ำตอนลึก, น้ำตอนที่ไหลวน. [กฺว้าว] ดู ขว้าว.[กฺวาว-] น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Pueraria candollei Grah. var. mirifica (Airy Shaw et Suvatabandhu) Niyomdham ในวงศ์ Leguminosae ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน มีหัวกลม ๆ ออกที่ โคนต้นและตามราก ใช้ทํายาได้. [กะวิน] (โบ) ว. ดีงาม เช่น ใครกวินซื่อแท้. (แช่งน้ำ). (ทมิฬ แปลว่า งาม). [กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จําแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).
  15. กวี : [กะวี] น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จําแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งกลอนสด. (ป.).
  16. คุณบท : [คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ``เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง''. (ศิริวิบุลกิตติ).
  17. ชนกกรรม : [ชะนะกะกํา] น. กรรมอันนําให้เกิดหรือกรรมอัน เป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทําให้เกิดเป็นคน ชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).
  18. ฎีกา : น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรือ อธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้ง การขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่ ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุด ของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือ คําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกา พิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก.ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).
  19. ทนายความ : น. ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่อง อรรถคดี, เรียกสั้น ๆ ว่า ทนาย; (กฎ) ผู้ที่สภาทนายความได้รับ จดทะเบียนและออกใบอนุญาตให้เป็นทนายความ; (ปาก) หมอความ; (โบ) ผู้พากย์หนัง.
  20. แปลตามเนื้อความ : ก. แปลเอาความ, แปลตามอรรถ หรือ แปล โดยอรรถ ก็ว่า.
  21. ผู้พิพากษา : (กฎ) น. ข้าราชการตุลาการผู้มีอำนาจและหน้าที่ ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี.
  22. ยกกระบัตร : (โบ) น. ตำแหน่งข้าราชการสังกัดกระทรวงวัง มีหน้าที่ออกไปประจำอยู่ ตามหัวเมืองเพื่อสอดส่องอรรถคดี; ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับ อรรถคดี ตรงกับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก; เจ้าหน้าที่ในการจัดหาเครื่องใช้ของทหาร; เขียน เป็น ยุกกระบัตร ก็มี.
  23. ยกบัตร : [ยกกะบัด] (โบ) น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรง กับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกกระบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก, เขียนเป็น ยกบัตร์ ก็มี.
  24. ยุติธรรม : น. ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล, เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. ว. เที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล, เช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม.
  25. ศาล : [สาน] น. (กฎ) องค์กรที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดย ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิต ของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม.
  26. ศาลรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. ศาลที่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหา ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น การพิจารณาวินิจฉัย ว่าบทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอรรถคดี ทั่วไป.
  27. หมอความ : (ปาก) น. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ว่าต่างแก้ต่างคู่ความในเรื่อง อรรถคดี, ทนาย หรือ ทนายความ ก็เรียก.
  28. อรรถปฏิสัมภิทา : [อัดถะ] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในอรรถ คือ ความเข้าใจที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไป จากเหตุ, ความเข้าใจอธิบายอรรถแห่งภาษิตย่อให้พิสดาร. (ป.).
  29. [1-28]

(0.0670 sec)