Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาจารย์ , then อาจารย, อาจารย์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาจารย์, 53 found, display 1-50
  1. อาจารย์ : น. ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดง ความยกย่องว่ามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง. (ส.; ป. อาจริย).
  2. บา : น. ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม.
  3. กรรมวาจาจารย์ : [กํามะวาจาจาน] น. อาจารย์ผู้ให้สําเร็จกรรมวาจา คือ คู่สวด. (ส. กรฺมวาจา + อาจารฺย = อาจารย์).
  4. อาจริย : [จะริยะ] (แบบ) น. อาจารย์. (ป., ส. อาจารฺย).
  5. อันเตวาสิก : น. ''ชนผู้อยู่ในภายใน'' หมายถึง ศิษย์ที่อยู่ในปกครอง หรือที่อาศัยอยู่กับอาจารย์ จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้, คู่กับ อาจารย์. (ป.).
  6. กถิกาจารย์ : [กะถิกาจาน] (แบบ) น. อาจารย์ผู้กล่าว. (ป., ส. กถิก + ส. อาจารฺย).
  7. คณาจารย์ : [คะนาจาน] น. คณะอาจารย์. (ส. คณ + อาจารฺย).
  8. คันถรจนาจารย์ : [-รดจะนาจาน] น. อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์. (ป. คนฺถ + ป., ส. รจน + ส. อาจารฺย).
  9. ปาจรีย์, ปาจารย์ : [ปาจะรี, ปาจาน] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย = ปฺราคต + อาจารฺย).
  10. เกจิอาจารย์ : น. ``อาจารย์บางพวก'', อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถ ในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. (ป.).
  11. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  12. ชีต้น : น. พระสงฆ์ที่เป็นอาจารย์.
  13. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  14. ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
  15. ทำการบ้าน : ก. ทํางานหรือทําแบบฝึกหัดตามที่ครูอาจารย์สั่งให้ทํา นอกเวลาเรียน.
  16. ทิศาปาโมกข์ : น. อาจารย์ผู้มีความรู้และชื่อเสียงโด่งดัง.
  17. นหาดก : [นะหาดก] น. ผู้อาบแล้ว, ผู้ล้างแล้ว, คําบัญญัติในลัทธิพราหมณ์สําหรับ เรียกผู้ใหญ่ในวรรณะ เช่น พราหมณ์ผู้ได้กระทําพิธีอาบนํ้า ซึ่งจําต้อง กระทําเมื่อเสร็จกิจศึกษาจากสํานักอาจารย์ และตั้งต้นเป็น ผู้ครองเรือน คฤหัสถ์ คือ ผู้มีภรรยาและครอบครัว), ในพระพุทธศาสนา หมายเอา ท่านที่ชําระกิเลสมลทินสิ้นแล้ว. (ป. นหาตก; ส. สฺนาตก).
  18. นอกครู : ก. ประพฤติไม่ตรงตามคําสั่งสอนของครูบาอาจารย์, ประพฤติ ไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา.
  19. นอกลู่นอกทาง : ว. ไม่ประพฤติตามแนวทางที่พ่อแม่ครูอาจารย์ได้เคย ดําเนินมา.
  20. นับถือ : ก. เชื่อถือยึดมั่น เช่น นับถือศาสนา, เคารพ เช่น นับถือผู้หลัก ผู้ใหญ่, ยกย่อง เช่น นับถือว่าเป็นครูบาอาจารย์, ใช้เป็นคําลงท้าย จดหมายแสดงความสุภาพว่า ด้วยความนับถือ หรือ ขอแสดงความนับถือ.
  21. บาจรีย์ : [-จะรี] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป. ปาจริย).
  22. บาธรรม : น. ผู้เชี่ยวชาญในทางธรรม, อาจารย์ทางธรรม.
  23. บุพพาจารย์ : น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา. (ป. ปุพฺพาจริย; ส. ปูรฺวาจารฺย).
  24. บุรพาจารย์, บูรพาจารย์ : [บุระ-, บูระ-] น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา.
  25. ปฏิบัติ : ก. ดําเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทํา เพื่อให้เกิดความชํานาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทําตาม เช่น ปฏิบัติตาม สัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติ รับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).
  26. ปรมัตถ์ : [ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความ อย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.). ปรมาจารย์ [ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือ ยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.
  27. ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
  28. พระคุณ : น. บุญคุณ เช่น รำลึกถึงพระคุณครูอาจารย์.
  29. พฤฒาจารย์ : น. อาจารย์ผู้เฒ่า, พราหมณ์ผู้เฒ่า.
  30. พิเศษ : ว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษเขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติ ธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่ง ต่างหากเช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศ เป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษพระครูสัญญาบัตรชั้น พิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).
  31. แม่พิมพ์ : น. สิ่งที่เป็นต้นแบบ เช่น แม่พิมพ์ตัวหนังสือ, โดยปริยายหมายถึง ครูอาจารย์ซึ่งถือว่าเป็นแบบอย่างความประพฤติของศิษย์.
  32. รับใช้ : ก. รับว่าจะใช้เงินให้; คอยปรนนิบัติพ่อแม่ครูอาจารย์เป็นต้นด้วย ความเต็มใจ เช่น ลูกรับใช้พ่อแม่ ศิษย์รับใช้ครู, ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นาย หรือผู้มีอำนาจเหนือสั่งหรือใช้ เช่น พลทหารอยู่รับใช้ผู้บังคับบัญชา.
  33. รายงาน : น. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนํามาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ ผู้บังคับบัญชาทราบ.
  34. รู้คุณ : ก. ระลึกถึงความดีที่ผู้อื่นทำให้แก่ตน เช่น ลูกศิษย์รู้คุณอาจารย์ ลูกรู้คุณพ่อแม่.
  35. ลบหลู่ : ก. แสดงอาการเหยียดหยามต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือต่อผู้มี อุปการคุณโดยถือว่าไม่สำคัญควรแก่การเคารพนับถือ เช่น ลบหลู่ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาที่ตนไม่ได้นับถือ ลบหลู่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ นาย ก ลบหลู่บิดานาย ข.
  36. ลูกศิษย์ : น. ผู้ศึกษาเล่าเรียนหรือผู้เยาว์วัยซึ่งอยู่ในความดูแลคุ้มครอง ของอาจารย์, ศิษย์ หรือลูกศิษย์ลูกหา ก็ว่า.
  37. วิชาเลือกบังคับ : น. รายวิชาเลือกที่อาจารย์ที่ปรึกษาบังคับให้เรียน เป็นรายบุคคล. (อ. prescribed elective course).
  38. วิชาเลือกเสรี : น. รายวิชาที่เลือกเรียนได้อย่างเสรี โดยผู้เรียนไม่ต้อง ถามอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน. (อ. free elective course).
  39. วิชาอาคม : น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิชา อาคมให้ศิษย์, วิทยาคม ก็ว่า.
  40. วิทยาคม : น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิทยาคม ให้ศิษย์, วิชาอาคม ก็ว่า. (ส.).
  41. ศิษย์ก้นกุฏิ : [กุติ] น. ศิษย์คนโปรดที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ที่กุฏิ ตลอดเวลาและเป็นผู้ที่อาจารย์ไว้วางใจมาก, โดยปริยายหมายถึง ศิษย์คนโปรดของครูบาอาจารย์เพราะเคยรับใช้ใกล้ชิดและเป็นที่ ไว้วางใจของครูบาอาจารย์ มักจะเรียนเก่งด้วย.
  42. ศิษย์คิดล้างครู : (สำ) น. ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดจะทำลายล้าง ครูบาอาจารย์.
  43. ศิษย์นอกครู : (สำ) น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของ ครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบ ฉบับที่นิยมกันมา.
  44. ศิษย, ศิษย์ : [สิดสะยะ, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้ว นับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
  45. ศิษย์หัวแก้วหัวแหวน : น. ศิษย์ที่ครูบาอาจารย์รักใคร่เอ็นดูมาก.
  46. หัวล้านนอกครู : (สำ) น. ผู้ที่ปฏิบัติผิดแผกไปจากคำสั่งสอนของ ครูบาอาจารย์หรือแบบแผนที่นิยมกันมา.
  47. ไหว้ครู : ก. ทำพิธีแสดงความเคารพสักการบูชาครูบาอาจารย์ด้วยความ สำนึกในพระคุณของท่าน.
  48. อนุศาสก : น. อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนในหอพักของวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัย. (ส.; ป. อนุสาสก).
  49. อนุศาสนาจารย์ : [อะนุสาสะนาจาน, อะนุสาดสะนาจาน] น. อาจารย์ผู้อบรมศีลธรรม ของหน่วยราชการ.
  50. อรรถกถาจารย์ : น. อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา.
  51. [1-50] | 51-53

(0.0603 sec)