Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อารมณ์ , then อารมณ, อารมณ์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อารมณ์, 118 found, display 1-50
  1. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  2. อารมณ์ขัน : น. ลักษณะนิสัยที่มักเห็นเรื่องต่าง ๆ เป็นเรื่องชวนขัน.
  3. ใจคอ : น. จิตใจ, อัธยาศัย, อารมณ์, บางทีใช้ในทางร้ายก็มี เช่น ใจคอ จะทิ้งบ้านทิ้งช่องไปได้หรือ.
  4. สติอารมณ์ : น. ความคิดที่ฟุ้งซ่าน เช่น สงบสติอารมณ์เสียบ้าง อย่าคิดมากไปเลย. (ป.).
  5. สบายอารมณ์ : ว. มีอารมณ์เบิกบาน เช่น เขาทำงานไปร้องเพลงไป อย่างสบายอารมณ์ วันนี้ขอดูภาพยนตร์ให้สบายอารมณ์สักวัน.
  6. สะกดอกสะกดใจ, สะกดอารมณ์ : ก. ข่มอารมณ์มิให้หวั่นไหวต่อ เหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วหรือที่กำลังประสบ.
  7. สะเทือนอารมณ์ : ก. มีจิตใจหวั่นไหวอย่างแรงเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มากระทบทำให้รู้สึกเศร้าหมอง เช่น นวนิยายสะเทือนอารมณ์ อ่าน เรื่องเศร้าแล้วสะเทือนอารมณ์.
  8. หย่อนใจ, หย่อนอารมณ์ : ก. คลายอารมณ์, พักผ่อน.
  9. เจ้าอารมณ์ : ว. ที่โกรธง่าย, ที่เอาใจยาก.
  10. สอบอารมณ์ : ก. สอบถามประสบการณ์ทางจิตของผู้ที่เจริญวิปัสสนา กรรมฐานว่าก้าวหน้าไปถึงขั้นใดแล้ว.
  11. หนาวอารมณ์ : ว. รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ.
  12. หัวจิตหัวใจ : น. หัวใจ, จิตใจ, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น หัวจิตหัวใจเขาทำ ด้วยอะไรจึงเหี้ยมเกรียมนัก, อารมณ์ เช่น เขากำลังเศร้าโศกไม่มีหัวจิตหัวใจ จะทำอะไร.
  13. โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
  14. จิตแพทย์ : [จิดตะ-] น. แพทย์ผู้รักษาโรคทางจิตใจ ซึ่งมีอาการแสดง ความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่ผิดปรกติ. (อ. psychiatrist).
  15. ปมด้อย : น. ลักษณะความคิด ความรู้สึก อารมณ์ หรือการกระทํา ของบุคคล ที่แสดงออกถึงความตํ่าต้อยกว่าผู้อื่น. (อ. inferiority complex).
  16. โรคจิต : น. โรคทางจิตใจที่มีความผิดปรกติของความรู้สึก ความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมอย่างแรงถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ เช่น มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน, วิกลจริต ก็เรียก. (อ. psychosis).
  17. โรคจิตเภท : น. กลุ่มอาการของโรคทางจิตที่ทําให้ความคิด การรับรู้ อารมณ์ และบุคลิกภาพผิดปรกติ. (อ. schizophrenia).
  18. อสุภกรรมฐาน : [กํามะถาน] น. กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็น อารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งามความไม่เที่ยงแท้ของ สังขาร. (ป. อสุภกมฺมฏฺ?าน).
  19. กามารมณ์ : น. กามคุณ, อารมณ์ที่น่าใคร่. (ป. กาม + อารฺมณ).
  20. กล่อม ๓ : [กฺล่อม] น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทําตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบําเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. ก. ร้องเป็นทํานองเพื่อเล้าโลมใจหรือให้เพลิน, โดยปริยายหมาย ความว่า พูดให้น้อมใจตาม หรือ ทําให้เพลิดเพลิน เช่น กล่อมใจ กล่อมอารมณ์.
  21. กินรังแตน : (สํา) ก. มีอารมณ์เสียหงุดหงิดบ่นว่าเกินกว่าเหตุ.
  22. เกษมศานต์, เกษมสันต์ : ว. โปร่งอารมณ์, ชื่นชมยินดี. (ส. เกฺษม + ศานฺต, ส. เกฺษม + ป. สนฺต).
  23. ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
  24. ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า : (สํา) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตามที่ตน ต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืน ให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
  25. ขิงก็รา ข่าก็แรง : (สํา) ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน.
  26. เขลง ๑ : [เขฺลง] ว. ทอดอารมณ์อย่างสบาย (ใช้แก่กริยานอน).
  27. ครื้นเครง : [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
  28. ความเครียด : น. (ฟิสิกส์) อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับ ขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain); ลักษณะอาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลาย เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป, ลักษณะอาการที่จิตใจมีอารมณ์ บางอย่างมากดดันความรู้สึกอย่างรุนแรง.
  29. ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
  30. ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  31. เครียด : [เคฺรียด] ว. จัด เช่น ตึงเครียด, อาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลายเพราะ ครํ่าเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป เช่น หน้าเครียด อารมณ์เครียด.
  32. เครื่องดนตรี : น. เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทําให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริงได้ตามทํานองเพลง.
  33. จิตใจ : น. ใจ, อารมณ์ทางใจ, (ปาก) กะจิตกะใจ.
  34. จิตตานุปัสสนา : น. การพิจารณาจิตเป็นอารมณ์เป็นข้อ ๑ ในสติปัฏฐาน ๔.
  35. จินตนิยม : น. (ปรัชญา) ขบวนการในประวัติศาสตร์ของปรัชญาและศิลปะ ที่เน้นการเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์และระเบียบการที่ยึดถือ กันมา นักปรัชญาและศิลปินของขบวนการนี้ถือว่าอารมณ์ ความรู้สึกสำคัญ กว่าเหตุผล; (ศิลปะและวรรณคดี) คตินิยมในการสร้างสรรค์วรรณกรรม หรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกตามจินตนาการหรือมโนภาพ. (อ. romanticism).
  36. จี้เส้น : (ปาก) ก. พูดหรือแสดงท่าทางให้เกิดอารมณ์ขัน.
  37. เจตสิก : [เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).
  38. แจ่มใส : น. ปลอดโปร่งไม่ขุ่นมัว เช่น อารมณ์แจ่มใส, โปร่ง เช่น อากาศแจ่มใส.
  39. ใจเฉื่อย : ว. มีอารมณ์เฉื่อยชา, ไม่กระตือรือร้น.
  40. ซึมเศร้า : ว. อาการที่รู้สึกเศร้าหมอง ว้าเหว่ ล้มเหลวหรือสิ้นหวัง, เศร้าซึม ก็ว่า; (จิตเวช) อาการที่มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ว้าเหว่ ซึม มีความรู้สึกท้อถอย ล้มเหลว สิ้นหวัง เป็นต้น.
  41. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  42. ดนตรี : น. เสียงที่ประกอบกันเป็นทํานองเพลง, เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทําให้ รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตาม ทํานองเพลง. (ส. ตนฺตฺรินฺ).
  43. ด้วย : ว. คําแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือ ในทํานองเดียวกันเช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย. บ. คํานําหน้านามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องใช้หรือเป็นสิ่งที่ใช้เป็น เครื่องกระทํา เช่น ฟันด้วยมีด; ตาม เช่นทําด้วยอารมณ์. สัน. เพราะ, เหตุ, เช่น ด้วยปรากฏว่า.
  44. ตกมัน : ว. ลักษณะที่ต่อมน้ำมันที่ขมับของช้างบวมโตและมีน้ำมันใส ๆ ไหลออกมา ช้างตัวผู้จะมีอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ดุร้าย มีกลิ่นสาบฉุน, เรียกช้างที่มีอาการเช่นนั้นว่า ช้างตกมัน.
  45. ตจปัญจกกรรมฐาน : [ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอัน บัณฑิตกําหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไป ถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).
  46. ทอดหุ่ย : (ปาก) ว. อาการที่ไม่เอาธุระปล่อยให้เป็นไปตามเรื่อง ตามราว, อาการที่ปล่อยอารมณ์ตามสบาย, มักใช้ประกอบคำนอน ว่า นอนทอดหุ่ย.
  47. ธรรมสังเวช : น. ความสังเวชโดยธรรม เมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์). (ป. ธมฺมสํเวค).
  48. ธรรมายตนะ : [ทํามายะตะนะ] น. แดนคือธรรมารมณ์, แดนแห่งมนัสคือใจ ได้แก่อารมณ์ที่ใจรู้ หรือเรื่องที่ใจรู้. (ป. ธมฺมายตน).
  49. ธรรมารมณ์ : [ทํามา] น. อารมณ์ที่ใจรู้, อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. ธมฺมารมฺมณ).
  50. น้ำเสียง : น. กระแสเสียง, คําพูด; โดยปริยายหมายถึงคําพูดที่ส่อให้รู้ อารมณ์ที่มีอยู่ในใจ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-118

(0.0655 sec)