Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาหารสัตว์, อาหาร, สัตว์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาหารสัตว์, 1089 found, display 1-50
  1. อาหาร : น. ของกิน, เครื่องคํ้าจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต, เช่น อาหารเช้า อาหารปลา อาหารนก; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น อาหารตา อาหารใจ. (ป., ส.).
  2. สัตว, สัตว์ : [สัดตะวะ, สัด] น. สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมาก มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็น สามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).
  3. ปศุ : [ปะสุ] น. สัตว์เลี้ยงสําหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู, มักใช้ประกอบคํา สัตว์ เป็น ปศุสัตว์. (ส.; ป. ปสุ).
  4. โภชนะห้า : [โพชะนะห้า] น. ข้าว ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก (ข้าวมัน หรือ ข้าวผัด ก็นับเข้า) ขนมสด (ขนมที่จะบูดเมื่อล่วงเวลาแล้ว เช่น แป้งจี่ ขนมด้วง ขนม ครก) ขนมแห้ง (ที่ไม่บูด เช่น จันอับ ขนมปัง) ปลา (รวมทั้งหอย กุ้ง และ สัตว์นํ้าเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร) เนื้อ (เนื้อของสัตว์บกและนกที่ใช้เป็น อาหาร).
  5. ยุทธปัจจัย : น. สิ่งของทั้งปวงที่มิใช่ยุทธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งเกื้อกูลต่อ การรบ เช่น อาหาร ยา เคมีภัณฑ์ รวมถึงสัตว์พาหนะด้วย.
  6. เหยี่ยว : น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).
  7. สัตว์หิมพานต์ : [หิมมะ] น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่า หิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ใน วรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ.
  8. อาหารว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินใน เวลาบ่าย, ของว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องว่าง.
  9. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  10. กระเพาะ : น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ รูปเป็นถุง คือ กระเพาะอาหารและ กระเพาะปัสสาวะ. (เทียบ ข. กฺรพะ); ภาชนะสานสําหรับตวงข้าว มีอัตราจุ ๔ กระผีก.
  11. กะชะ : น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ตั้งได้คล้ายตะกร้า รูปร่างสูงตรงขึ้นไป สําหรับบรรจุเครื่องเดินทาง เช่น ผ้าและอาหาร ปากไม่มีขอบ เพื่อบีบให้ติดกันแล้วร้อยเชือกแขวนไปบนหลังสัตว์บรรทุก เป็นต้น; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตะกร้าชนิดหนึ่ง.
  12. ก้าม : น. อวัยวะของสัตว์บางชนิดเช่นปูและกุ้ง สําหรับหนีบอาหารเป็นต้น.
  13. กินเจ, กินแจ : ก. ถือศีลอย่างญวนหรือจีน โดยกินอาหารจำพวกผักล้วน ไม่มีเนื้อสัตว์.
  14. กึ๋น : น. กระเพาะที่ ๒ ของสัตว์ประเภทสัตว์ปีก มีหน้าที่ย่อยอาหารต่อ จากกระเพาะที่ ๑ ประกอบด้วยผนังที่มีกล้ามเนื้อหนาและเหนียว สําหรับบดอาหาร โดยมีหินก้อนเล็ก ๆที่กลืนเข้าไปเป็นเครื่องช่วย.
  15. ขจรจบ : [ขะจอน-] น. ชื่อหญ้าชนิด Pennisetum pedicellatum Trin. และ P. polystachyon (L.) Schult. ในวงศ์ Gramineae แพร่พันธุ์รวดเร็วมาก และปราบยาก หญ้าทั้ง ๒ ชนิดนี้ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ ต้นแก่ ใช้ทํากระดาษได้.
  16. ขน ๓ : น. ชื่อหญ้าชนิด Brachiaria mutica (Forssk.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นในที่ชื้นและชายนํ้า ข้อ กาบใบ และใบมีขน ใช้เป็นอาหารสัตว์, ปล้องขน ก็เรียก.
  17. ขนงเนื้อ : [ขะหฺนง-]น. หนังสัตว์ที่เผาไฟให้สุกแล้วต้มให้เปื่อย เพื่อปรุงเป็นอาหาร.
  18. ข้าวบาร์เลย์ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hordeum vulgare L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกกันบ้างในภาคเหนือ เมล็ดใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ และเป็นอาหารสัตว์. (อ. barley).
  19. ข้าวไรย์ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Secale cereale L. ในวงศ์ Gramineae เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ เมล็ดใช้ทําอาหารและเลี้ยงสัตว์. (อ. rye).
  20. ขุน ๒ : ก. ให้อาหารแก่สัตว์เลี้ยง, โดยปริยายหมายถึงเลี้ยงดูอย่างดี. ขุนไม่ขึ้น, ขุนไม่เชื่อง (สํา) ว. เลี้ยงไม่เชื่อง มีแต่เนรคุณ.
  21. ไข่ขาว : น. ส่วนของไข่สัตว์ เช่น ไข่ของนก ไข่ของสัตว์เลื้อยคลาน มีสีขาวใสอยู่รอบ ๆ ไข่แดงเป็นสารโปรตีนทําหน้าที่ป้องกันส่วน ที่เป็นเซลล์ของไข่ เวลาเซลล์ของไข่แบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อน ไข่ขาว จะเป็นอาหารของตัวอ่อนด้วย; (เคมี) กลุ่มของโปรตีน ซึ่งมีนํ้าหนัก โมเลกุลประมาณ ๖๕,๐๐๐ ถึง ๗๐,๐๐๐.
  22. เครื่องปรุง : น. สิ่งที่ใช้ในการปรุงอาหารเป็นต้น เช่น เนื้อสัตว์ ผัก เครื่องแกง กะทิ ผลไม้.
  23. เคี้ยวเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออกมา เคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า, บดเอื้อง ก็ว่า.
  24. แค้นคอ : ก. อาการที่คนหรือสัตว์กินอาหารแล้วติดคอหรือฝืดคอ กลืนไม่สะดวก.
  25. งัว ๔ : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae, Balistidae, Anacanthidae ผิวหนังหยาบเหนียว หรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็ม หาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรก และครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง.
  26. เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
  27. จำศีล : ก. ถือศีล, รักษาศีล; โดยปริยายหมายถึงการที่สัตว์บางชนิด นอนนิ่งไม่ออกหาอาหารชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น กบจําศีล.
  28. เจ : น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, แจ ก็ว่า. (จ. ว่า แจ).
  29. แจ ๒ : น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, เจ ก็ว่า. (จ.).
  30. ดอกจอก : น. ชื่อลายที่มีลักษณะคล้ายต้นจอก; เรียกกระเพาะอาหารหยาบ ของสัตว์บางชนิดเช่นวัวควาย ซึ่งพลิกกลับแล้วมีสัณฐานคล้ายต้นจอก; เรียกสว่านชนิดหนึ่งที่ปลายบานว่า สว่านดอกจอก; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าใส่ในพิมพ์รูปอย่างดอกจอกแล้วเอาไปทอด; (ปาก) ดอกไม้จีบ.
  31. ดี ๑ : น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ที่บรรจุนํ้าข้นสีเขียว มีรสขม ซึ่งออก จากตับ สําหรับช่วยย่อยอาหาร, เรียกนํ้าข้นสีเขียว มีรสขม ออกจากตับ สําหรับช่วยย่อยอาหารว่า นํ้าดี.
  32. ต้มเค็ม : น. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้น เคี่ยว ให้เข้าไส้หรือให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบ ไทยมีรสหวานเค็ม.
  33. ตลาด : [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
  34. ตับ ๑ : น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ใน ช่องท้อง ทําหน้าที่ทําลายพิษ สร้างนํ้าดีและโปรตีนบางชนิด เป็นต้น. ตับแข็ง น. ชื่อโรคเรื้อรังที่เกิดแก่ตับ ทําให้เนื้อเยื่อของตับหดตัวและมี จํานวนน้อยลง ส่วนเนื้อเยื่อยึดต่อมีจํานวนมากขึ้นผิดปรกติ มักทําให้เกิด อาการบวมที่ท้อง ตาเหลือง ซึม หมดสติ และอาเจียนเป็นโลหิต. ตับแลบ (ปาก) ว. มีอาการเหนื่อยมาก เช่น วิ่งเสียจนตับแลบ. ตับเหล็ก น. ม้ามของหมู. ตับอ่อน น. อวัยวะประเภทต่อมของระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ อยู่ในช่องท้อง ทําหน้าที่สร้างและขับนํ้าย่อยอาหาร สร้างฮอร์โมน เช่น อินซูลิน.
  35. ตัวตืด : น. ชื่อพยาธิในชั้น Cestoda ตัวแบนเป็นปล้องเรียงต่อกันเป็นแถบยาว หัวมี อวัยวะใช้เกาะยึด ถัดจากหัวเป็นคอซึ่งเป็นส่วนที่สร้างปล้องออกมาเรื่อย ๆ บางชนิดมีเพียง ๒-๓ ปล้อง บางชนิดมีถึง ๑,๐๐๐ ปล้อง ปล้องท้ายสุดเกิดก่อน ปล้องถัดจากคอเกิดหลังสุด แต่ละปล้องมีอวัยวะทั้งเพศผู้และเพศเมียรวมอยู่ ด้วยกัน มักอาศัยดูดอาหารในลําไส้ของมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทําให้ เป็นโรคโลหิตจาง ถ้ามีจํานวนมากจะไปกั้นทางเดินอาหาร ทําให้มีอาการปวด ท้องอย่างรุนแรง มีหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น ชนิด Taenia solium ซึ่งตัวอ่อน เรียก เม็ดสาคู อยู่ในเนื้อหมู ชนิด T. saginata ซึ่งตัวอ่อนอยู่ในเนื้อวัว, ทั้ง ๒ ชนิด อยู่ในวงศ์ Taeniidae และเป็นพยาธิในลําไส้เล็กของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมบางชนิด.
  36. ถนอม : [ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกิน ของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม). ถนอมอาหาร ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้ อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.
  37. นม ๑ : น. ส่วนของร่างกาย อยู่บริเวณหน้าอก มี ๒ เต้า, ของผู้หญิงมีต่อม สำหรับผลิตน้ำนมเป็นอาหารสำหรับลูกอ่อน ส่วนของผู้ชายมีขนาด เล็กและไม่มีน้ำนม, นมของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง ค่าง ก็มี ๒ เต้า เช่นเดียวกับคน ส่วนของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัข วัว ควาย มีหลาย เต้าเรียงอยู่ที่ท้องเป็น ๒ แถว; แม่นม, ราชาศัพท์ว่า พระนม; น้ำนม เช่น เลี้ยงลูกด้วยนม; ชื่อสิ่งที่เป็นเต้าเป็นปุ่มคล้ายนม เช่น นมทอง หลาง นมจะเข้; เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห่อหุ้มต้นผักกระเฉด ว่า นมผักกระเฉด,เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห้อยติดอยู่ตามข้อ พังพวยว่า นมพังพวย.
  38. น้ำตก : น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกนํ้าที่ทําให้ตกลงมา ในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; อาหารอย่างหนึ่งใช้เนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู หรือเนื้อวัว ย่างพอสุกเล็กน้อยหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุงด้วย พริกป่น หอมแดงซอย ข้าวคั่ว น้ำมะนาว น้ำปลา เป็นต้น; ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสดที่ ใส่เลือดวัวสด.
  39. น้ำสต๊อก : น. น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกหมู หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น ใส่เกลือ เล็กน้อย เคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนได้ที่ เคี่ยวครั้งหนึ่งเก็บไว้ได้หลายวัน ใช้ ผสมในการปรุงอาหาร เช่น แกงจืด ซุป สตู หรืออาหารประเภทผัดผัก ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น.
  40. เนยเทียม : น. สิ่งที่ทําจากไขมันหรือนํ้ามันที่ได้จากพืชและสัตว์ นํามาทํา ให้บริสุทธิ์ ผสมวิตามินเอ วิตามินดี เติมนมและสีที่เหมาะสม แบคทีเรีย ในนมจะทําให้เกิดกลิ่นและรสคล้ายเนย ใช้เป็นอาหารได้.
  41. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  42. บดเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออก มาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
  43. บึ่ง ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายสกุลในหลายวงศ์ ขนาดเท่าแมลงหวี่ หรือโตกว่าเล็กน้อย มีปีกคู่เดียว ปากแบบดูดกิน เจาะดูดเลือด คนและสัตว์กินเป็นอาหาร มีอยู่ชุกชุมตามบริเวณชายนํ้า ชายทะเล และในป่าทึบ ที่สําคัญได้แก่ สกุล Phlebotomus วงศ์ Psychodidae, สกุล Simulium วงศ์ Simuliidae, สกุล Lepto conops และ Culicoides วงศ์ Ceratopogonidae เป็นต้น, ปึ่ง หรือ คุ่น ก็เรียก.
  44. เบียน : ก. รบกวน, ทําให้เดือดร้อน, มักใช้เข้าคู่กับคํา เบียด เป็น เบียดเบียน; (โหร) เปลี่ยนแปลง เช่น ดาวพระศุกร์ถูกราหูเบียน. น. เรียกสัตว์ หรือพืชที่อาศัยอยู่ภายนอกหรือภายในสัตว์หรือพืชอื่นโดยแย่งกิน อาหารว่า ตัวเบียน.
  45. ใบไม้ ๓ : น. ชื่อพยาธิทางเดินอาหารในอันดับ Digenea มีหลายสกุลและ หลายวงศ์ ลําตัวแบนคล้ายใบไม้ เป็นพยาธิที่ทําอันตรายต่อระบบ ทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะตับ ถุงนํ้าดีและท่อ นํ้าดี มีหลายชนิด เช่น ชนิด Fasciola hepatica, Opisthorchis sinensis, Fasciolopsis buski.
  46. ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
  47. เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
  48. เปรี้ยวหวาน : น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง ใช้ผัก เช่น แตงกวา มะเขือเทศ หอมใหญ่ ผัดกับเนื้อสัตว์ ปรุงให้มีรสออกเปรี้ยวและหวาน.
  49. พาฬมฤค : น. สัตว์ร้าย, สัตว์ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร. (ป. พาฬมิค; ส. วฺยาลมฺฤค).
  50. ไฟธาตุ : น. ไฟที่โบราณถือว่ามีในร่างกายมนุษย์และสัตว์ สําหรับ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายและย่อยอาหาร.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1089

(0.0607 sec)