Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เกริ่น , then กรน, เกริ่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เกริ่น, 31 found, display 1-31
  1. เกริ่น : [เกฺริ่น] ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนํา ในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิง ให้ร้องตอบ; ร้องหา, เรียกหา, เช่นนกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น.
  2. เกริ่น : [เกฺริ่น] (ถิ่น-จันทบุรี) น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้เป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก.
  3. กระเกริ่น : (กลอน) ว. ระบือ เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา. (อุเทน).
  4. กรน : [กฺรน] ก. หายใจมีเสียงดังในลําคอขณะหลับ เหตุลิ้นตกจุกคอ หอยหรือลิ้นตกจุกคอหอยและลิ้นไก่กับเพดานอ่อนสั่น.
  5. กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  6. กระเกริก : (กลอน) ว. เสียงดังอึกทึก เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา. (อุเทน).
  7. กระไอกระแอม : ก. ทําเสียงไอเสียงแอม เช่น ถ้ามันจะ เกริ่นกรายกระไอกระแอมแอบเข้ามา. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  8. กริว ๒ : [กฺริว] ว. เกรียว เช่น บางหมู่ก็กริวเกริ่น. (ม. ฉันท์ มหาพน).
  9. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  10. กรนนเช้า : [กฺรัน-] (โบ) น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปหาชาย. (ม. คําหลวง มัทรี).
  11. กรุ่น : [กฺรุ่น] ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น; ยังไม่ดับสนิท, ร้อนรุ่มอยู่ภายใน, เช่น โกรธกรุ่น.
  12. ไอกรน : น. โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง พบในเด็กที่มีไข้ ไอมาก และมักมีเสียงเกิดจากการหายใจที่ลําบากตามหลังอาการไอ.
  13. ขน ๔ : (ถิ่น-พายัพ) ก. กรน เช่น คนนอนหลับขน ว่า คนนอนหลับกรน.
  14. กรณฑ์ ๑ : [กฺรน] น. ภาชนะมีฝาปิด, ภาชนะใส่น้ำ เช่น หม้อกรณฑ์, กรัณฑ์ หรือ กรัณฑก ก็เรียก; ผอบ เช่น บรรจุพระบรมธาตุ ในสุวรรณกรณฑ์. (เทศนาพระราชประวัติ). (ป., ส. กรณฺฑ, กรณฺฑก ว่า ขวด).
  15. กรณฑ์ ๒ : [กฺรน] (คณิต) น. เรียกเครื่องหมาย ?ว่า เครื่องหมายกรณฑ์; วิธีหาค่าจากจํานวนจริงที่เขียนไว้ภายในเครื่องหมายกรณฑ์ เช่น ? จะได้ ๗ ? จะได้ -๓.
  16. กรร- ๓ : [กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
  17. กระกรุ่น : (กลอน) ว. กรุ่น ๆ เช่น ไฟฟุนกระกรุ่นเกรียม. (สรรพสิทธิ์).
  18. กรัน ๑ : [กฺรัน] ว. เล็ก, แคระ, เช่น กรวดกรันขราราย. (สุธน).
  19. กรัน ๒ : [กฺรัน] น. ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa sapientum L. ผลสั้นป้อม มีเมล็ดมาก, กล้วยเต่า ก็เรียก.
  20. กราบ ๓ : [กฺราบ] (โบ) ก. นอน เช่น เถ้าก็กราบกรนอึงอยู่นั้น. (ม. คําหลวง กุมาร).
  21. กรินทร์ : น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุ ผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).
  22. กรุน : [กฺรุน] ก. ตัด, ทําลาย, เช่น จะกรุนจะกราดสงคราม. (ม. ฉันท์ มหาราช). (ถิ่นพายัพ กุน ว่า ตัด, ทําลาย, ใช้คู่กับ กาด ว่า ทําให้ราบลง).
  23. กิรินท : [-ริน,] (แบบ) น. ช้างสําคัญ เช่น อ้าบัดนี้แม่มาเดอรดิน สีพิกากิรินทไกรอาศน กวยนแก้วราชรจนา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. กรินฺท; ส. กรินฺ ว่า ผู้มีมือคืองวง).
  24. เกรน : [เกฺรน] น. มาตราชั่งอย่างหนึ่งของอังกฤษ ๑ เกรน เท่ากับ ๖๔.๗๙๙ มิลลิกรัม. (อ. grain).
  25. เกริน : [เกฺริน] น. ส่วนที่ต่อขึ้นไปที่หัวหรือท้ายราชรถ หรือขนาบอยู่ ๒ ข้างบุษบก มีลักษณะคล้ายโขนเรือที่งอนอ่อน.
  26. แกร็น : [แกฺร็น] ว. ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช).
  27. โกร๋น : [โกฺร๋น] ว. ร่วงโรยเกือบหมด, มีอยู่น้อย, มีห่าง ๆ, เช่น ต้นไม้ใบโกร๋น, มีผมน้อย ในคำว่า หัวโกร๋น. โกร๋นเกร๋น (ปาก) ว. โกร๋น.
  28. ครอก ๓ : [คฺรอก] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงกรนของคนที่หลับ.
  29. ครืด ๒ : [คฺรืด] ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงลากสิ่งของครูดไป หรือเสียงกรน.
  30. จรุง, จรูง : [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนินสู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
  31. ฟี่, ฟี้ : ว. เสียงอย่างเสียงลมรั่วออกจากที่อัดลมไว้ เช่น เสียงปล่อยลมดังฟี้ นอนกรนฟี้.
  32. [1-31]

(0.0670 sec)