Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เกี้ยว , then กยว, เกี้ยว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เกี้ยว, 43 found, display 1-43
  1. เกี้ยว : น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัยสําหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว; เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา; ผ้าคาดพุงสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดพุงที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่ง อย่างหนึ่ง) .ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี. (โลกนิติ); พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.
  2. เกี้ยว : น. คานหามของจีนชนิดหนึ่ง. (จ.).
  3. เกี้ยวนวม : น. เกี้ยวที่ใส่หัวและนวมที่สวมคอ.
  4. เกี้ยวประทีป : น. ซุ้มไฟทําเป็นรูปอย่างเกี้ยว.
  5. เกี้ยวเกไล : น. วิธีนุ่งผ้าชนิดหนึ่งสําหรับขี่ช้าง.
  6. เกี้ยวคอไก่ : น. วิธีนุ่งผ้าเอาชายพกรัดอีกชายหนึ่งไว้ แล้วเหน็บให้แน่น.
  7. เกี้ยวพาน, เกี้ยวพาราสี : ก. พูดให้รักในเชิงชู้สาว.
  8. แก้เกี้ยว : ก. แก้อย่างย้อนรอยให้หายกัน เช่น พูดแก้เกี้ยว ฟ้องแก้เกี้ยว.
  9. ลดเลี้ยวเกี้ยวพา : ก. พูดจาหว่านล้อมเป็นเชิงเกี้ยว.
  10. นาคเกี้ยวกระหวัด, นาคบริพันธ์ : [นากคะบอริพัน] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง.
  11. นาคเกี่ยว, นาคเกี้ยว, นาคเกี่ยวพระสุเมรุ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  12. ผ้าเกี้ยว : น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสำหรับขุนนางนุ่งหรือ ห่อคัมภีร์เป็นต้น, สมปัก ก็เรียก.
  13. กรรชิด : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. กระชิด เช่น สองกรกลเกียดเกี้ยว กรรชิด. (ลอ).
  14. กรวยเชิง : น. ลายที่ทําเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก.
  15. กรอ ๒ : ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางที ก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
  16. เกาะแกะ : ก. พูดพาดพิงเชิงชู้สาว, พูดเชิงเกี้ยวพาราสี, เช่น มันเกาะแกะเกินก้ำเป็นธรรมดา. (ขุนช้างขุนแผน), เคาะแคะ ก็ว่า.
  17. เข้าพระเข้านาง : ก. แสดงบทเกี้ยวพาราสี.
  18. เคาะแคะ : ก. พูดพาดพิงเชิงชู้สาว, พูดเชิงเกี้ยวพาราสี, เกาะแกะ ก็ว่า.
  19. โคราช : น. ชื่อเพลงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ว่าแก้กันเป็นทํานอง ตีฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันบ้าง คล้ายเพลงฉ่อย วรรคหนึ่ง ใช้คําตั้งแต่ ๔ ถึง ๗ คํา ๓ คํากลอนเป็นบทหนึ่ง ความไพเราะอยู่ที่สัมผัส ในการเล่นคําเล่นความให้สละสลวยบาทสุดท้ายจะเอื้อนเสียงในเวลาร้อง.
  20. เงือก ๑ : (โบ) น. งู เช่น ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง. (แช่งนํ้า).
  21. จีบ ๑ : ก. พับกลับไปกลับมาหรือทําให้ย่นเป็นกลีบเป็นรอย เช่น จีบผ้า, เรียก ผ้าที่จีบในลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้าจีบ; (ปาก) เกี้ยวพาราสี. น. ชื่อขนม อย่างหนึ่งทําด้วยแป้ง มีไส้ มีรอยเป็นจีบ ๆ; (ราชา) เรียกเหล็กแหลมคือ ลูกชนักสําหรับใช้ในการขี่ช้างตกมันว่า พระแสงจีบ; ลักษณนามเรียก พลูที่ม้วนพันใยฝ้ายแล้ว เช่น พลูจีบหนึ่ง พลู ๒ จีบ.
  22. โซงโขดง : [–ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).
  23. แทะโลม : ก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงเกี้ยวพาราสี, แพละโลม หรือ แพะโลม ก็ใช้.
  24. นางแต่งตัวสะ : น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพรพื้นแดงเดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบ พระราชยานในพระราชพิธีโสกันต์, นางสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
  25. นางสะ : น. หญิงสาววัยรุ่นแต่งตัวใส่เกี้ยว นุ่งผ้าลายพื้นเขียว ห่มผ้าแพร พื้นแดง เดินประนมมือตามกระบวนแห่เต็มยศขนาบพระราชยานใน พระราชพิธีโสกันต์, นางแต่งตัวสะ หรือ สาวสะ ก็เรียก.
  26. แพละโลม : [แพฺละ] ก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงทางชู้สาว, แพะโลม หรือ แทะโลม ก็ว่า.
  27. แพะโลม : ก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงทางชู้สาว, แพละโลม หรือ แทะโลม ก็ว่า.
  28. ระทา : น. หอสูงรูปสี่เหลี่ยมหลังคาทรงยอดเกี้ยว ประดับดอกไม้ไฟนานาชนิด เช่น พลุ ตะไล จรวดใช้จุดในงานพระราชพิธี. (รูปภาพ ระทา)
  29. ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
  30. และเลียม : ก. พูดเกี้ยวผู้หญิงทีเล่นทีจริง เช่น ชายเจ้าชู้และเลียมผู้หญิง; เลียบเคียงเข้าไปทีละน้อย เช่น เด็กและเลียมเข้ามาขอขนมกิน.
  31. โลม ๑ : ก. ทําอาการประคองลูบให้รู้สึกว่าเอ็นดูรักใคร่เป็นต้น. น. เรียกตัว หนังใหญ่ที่แสดงบทเข้าพระเข้านาง เช่น หนุมานเกี้ยวนางเบญกาย, หนังโลม ก็ว่า.
  32. สมปัก : น. ผ้าลายหรือผ้าปูมสมัยเก่าสําหรับขุนนางนุ่งหรือห่อคัมภีร์เป็นต้น, ผ้าเกี้ยว ก็เรียก. (เทียบ ข. สํพต ว่า ผ้านุ่ง).
  33. สวม : ก. กิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงเป็นต้นครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สวมชฎา สวมหมวก เกี้ยวสวมจุก, คล้อง เช่น สวมพวงมาลัย, นุ่ง ในคําว่า สวมกางเกง, ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมรองเท้า; เข้าแทนที่ เช่น สวมตําแหน่ง.
  34. หนังโลม : น. ตัวหนังใหญ่ที่แสดงบทเข้าพระเข้านาง เช่น หนุมานเกี้ยว นางเบญกาย, โลม ก็ว่า.
  35. หว้า ๒ : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Argusianus argus ในวงศ์ Phasianidae ตัวสี น้ำตาล หนังบริเวณใบหน้าและคอสีฟ้า ตัวผู้หางยาวและมีแววขนที่ปีก ในฤดูผสมพันธุ์จะรำแพนปีกเกี้ยวตัวเมียโดยสร้างอาณาเขตเดินเป็น วงกลม เรียกว่า ลานนกหว้า.
  36. แอ่ว : (ถิ่นอีสาน) ก. พูดคุย (ใช้แก่หนุ่มสาว); (ถิ่นพายัพ) เที่ยว, ถ้า ไปเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เรียกว่า แอ่วสาว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แอ่ว เช่น แอ่วลาว แอ่วเคล้าซอ.
  37. โองโขดง : [ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.
  38. เกี่ยว : ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้น เกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.
  39. เกี่ยวข้อง : ก. ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เกี่ยว ก็ว่า.
  40. ขอ ๑ : น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ตะขอ หรือ ตาขอ ก็เรียก.
  41. คล้อง : [คฺล้อง] ก. เอาของที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นวงหรือเป็นบ่วง คาด เกี่ยว หรือสวมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า เช่น ผ้าคล้องคอ คล้องพวงมาลัย คล้องช้าง, เอาของที่เป็นวงหรือโค้งเกี่ยวหรือเกี่ยวกัน เช่น ลูกโซ่คล้องกัน คล้องแขน, รับกัน เช่น ชื่อคล้องกัน.
  42. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  43. ไม้ตาขอ : น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สำหรับชัก เกี่ยว แขวนหรือสับ, ไม้ขอ หรือ ไม้ตะขอ ก็ว่า.
  44. [1-43]

(0.0635 sec)