Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เก็บรักษา, รักษา, เก็บ , then กบ, เก็บ, เก็บรักษา, รักษา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เก็บรักษา, 584 found, display 1-50
  1. โรงงาน : (กฎ) น. อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร มีกําลัง รวมตั้งแต่ ๕ แรงม้าหรือกําลังเทียบเท่าตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป หรือใช้ คนงานตั้งแต่ ๗ คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามสําหรับทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลําเลียง เก็บรักษา หรือทําลายสิ่งใด ๆ ทั้งนี้ตามประเภทหรือชนิดของโรงงาน ที่กําหนดในกฎกระทรวง.
  2. รักษ์, รักษา : ก. ระวัง เช่น รักษาสุขภาพ, ดูแล เช่น รักษาทรัพย์สมบัติ, ป้องกัน เช่น รักษาบ้านเมือง, สงวนไว้ เช่น รักษาความสะอาด รักษาไมตรี; เยียวยา เช่น รักษาคนไข้. (ส.; ป. รกฺข).
  3. เก็บ : ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้าประกอบหลังคํานามหมายความว่า ที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ = ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ด เป็นก้อนแข็ง เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
  4. ไว้ : ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้ ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
  5. เก็บ : น. เรียกวิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีดำเนินทำนองทั่วไป ที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นมากกว่าทำนอง เนื้อเพลงธรรมดาว่า ทางเก็บ.
  6. รู้จักเก็บรู้จักงำ : (สํา) ก. รู้จักเก็บรักษาข้าวของ.
  7. เก็บกวาด : ก. เก็บข้าวของให้เข้าที่และกวาดทำความสะอาด.
  8. เก็บกิน : ก. เก็บผลประโยชน์เอาไว้ใช้สอยยังชีพ เช่น มีห้องแถวอยู่ ๒ ห้องได้อาศัยเก็บกินค่าเช่า.
  9. เก็บเกี่ยว : ก. เก็บรวบรวมพืชผลจากที่ได้หว่านหรือลงไว้.
  10. เก็บข้าวตก : ก. เก็บรวงข้าวที่เก็บเกี่ยวตกหล่นในท้องนา.
  11. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน : (สํา) ก. เก็บเล็กผสมน้อย, ทําอะไรที่ประกอบด้วย ส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา.
  12. เก็บไร : ก. ถอนผมที่ไรออกเพื่อรักษาไรผมให้งาม.
  13. เก็บเล็กผสมน้อย : ก. เก็บไว้ทีละเล็กละน้อย.
  14. เก็บเล็ม : ก. ค่อย ๆ เก็บทีละน้อย.
  15. เก็บสี : ก. รักษาสีไม่ให้จางตกไป.
  16. เก็บหอมรอมริบ : ก. เก็บรวบรวมไว้ทีละเล็กละน้อย.
  17. รักษาการ : ก. ปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราว เช่น รองอธิบดีรักษาการแทน อธิบดี.
  18. รักษาการณ์ : ก. เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น มีทหารรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา. ว. ที่เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น ทหารรักษาการณ์ ยามรักษาการณ์.
  19. รักษาตัว : ก. ระวังตัวไม่ให้เป็นอันตราย, รักษาเนื้อรักษาตัว ก็ว่า.
  20. รักษาศีล : ก. ระวังรักษาตนไม่ให้ประพฤติผิดศีล.
  21. เก็บข้าว : ก. เอาข้าวมาจากลูกหนี้แทนเงินที่ยืมไปใช้ก่อน, ใช้คู่กับคำ ตกข้าว.
  22. เก็บความ : ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
  23. เก็บตัว ๑ : ก. กักตัวไว้.
  24. เก็บตัว ๒, เก็บเนื้อเก็บตัว : ก. สงวนตัวไม่ไปงานสังคม, ไม่ออกสังคม, ไม่คบหาสมาคมกับใคร.
  25. เก็บผม : ก. เอากรรไตรเล็มผมให้เสมอกัน.
  26. เก็บเล่ม : ก. รวบรวมหนังสือหรือแผ่นภาพที่พิมพ์ไว้แล้ว เรียงตามลําดับเลขหน้าเข้าเป็นเล่ม (ใช้แก่การพิมพ์).
  27. เก็บหน้าผ้า : ก. ทอกันหน้าผ้าไม่ให้เส้นด้ายหลุดออกมา.
  28. รักษาคำพูด : ก. ทำตามถ้อยคำที่พูดให้สัญญาไว้.
  29. รักษาประตู : ก. คุมอยู่หน้าประตูในการเล่นฟุตบอลคอยป้องกันไม่ให้ ลูกฟุตบอลเข้าไป.
  30. รักษายี่ห้อ : (ปาก) ก. ระวังไม่ให้เสียชื่อเสียง.
  31. รักษาสถานการณ์ : ก. ควบคุมและดูแลให้อยู่ในภาวะปรกติ.
  32. รักษาหน้า : ก. ระวังไม่ยอมให้ต้องอับอายขายหน้า.
  33. รักษาเหลี่ยม : ก. ระวังไม่ให้เสียชั้นเชิง, ระวังไม่ให้ถูกลบเหลี่ยม.
  34. ลูกเก็บ : น. การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้น กว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา, เก็บ หรือ ทางเก็บ ก็ว่า.
  35. กระติก : น. ภาชนะสําหรับใส่น้ำติดตัวในเวลาเดินทาง เช่น กระติกของทหารหรือลูกเสือ, ภาชนะสำหรับใส่น้ำ เพื่อเก็บความร้อนหรือรักษาความเย็นเป็นต้น, ถ้าใช้ใส่น้ำร้อน เรียกว่า กระติกน้ำร้อน, ถ้าใช้ใส่น้ำแข็ง เรียกว่า กระติกน้ำแข็ง.
  36. เก็บงำ : ก. รักษาไว้ให้มิดชิด, รักษาไว้ให้ดี. เก็บดอกไม้ร่วมต้น (สำ) ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้, เด็ดดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
  37. คลัง ๑ : [คฺลัง] น. ที่เก็บรักษาและรับจ่ายเงิน เช่น แผนกคลัง, สถานที่เก็บรักษา สิ่งของเป็นจํานวนมาก ๆ เช่น คลังพัสดุ.
  38. คลังสินค้า : น. สถานที่เก็บรักษาสินค้า.
  39. งานสารบรรณ : (กฎ) น. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร.
  40. ดอง ๑ : ก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้ เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ; โดยปริยายหมายความว่า เก็บหมกไว้นานเกินควร เช่น เอาหนังสือไปดองไว้. ว. เรียกสิ่งที่ดองแล้วนั้น เช่น ผักดอง ยาดอง ศพดอง.
  41. ธนาคารเลือด : น. สถานที่เก็บรักษาเลือดไว้ เพื่อบริการแก่ผู้ป่วย.
  42. นายคลังสินค้า : (กฎ) น. บุคคลผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จ เป็นทางค้าปรกติของตน.
  43. บุกรุก : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขต พระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจ หรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทําการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการ ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอา อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดย ยักย้ายหรือทําลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถานอาคาร เก็บรักษาทรัพย์หรือสํานักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดย ไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้ มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.
  44. ฝากทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ฝาก ส่ง มอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับฝากและผู้รับฝาก ตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้.
  45. พลี ๒ : [พฺลี] ก. เสียสละ เช่น พลีชีพเพื่อชาติ, บวงสรวงเชิญเอามา (ใช้แก่ ยาสมุนไพร) เช่นไปพลียาที่ต้นเทียน คือ ไปบวงสรวงเก็บต้นเทียน หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นเทียนมาทำยารักษาโรค.
  46. ภัณฑาคาริก : [พันดาคาริก, พันทาคาริก] น. เจ้าหน้าที่ผู้รักษาคลังเก็บ สิ่งของของสงฆ์. (ป.).
  47. ไมโครฟิล์ม : [-โคฺรฟิม] น. ฟิล์มถ่ายรูปขนาดเล็กมากใช้สําหรับถ่ายบันทึกภาพของสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดย่อส่วนลงมาก ๆ เพื่อสะดวกแก่การเก็บรักษาไว้ และสามารถนํามาฉาย เป็นภาพนิ่งขนาดขยายบนจอได้. (อ. microfilm).
  48. เรียก : ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็ง เรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.
  49. ลิ่ม : น. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นที่มีสันหนาปลายบาง สําหรับจีมหรือขัด ให้แน่น หรือตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อให้แตก แยกออกจากกัน, ไม้ขัดบานประตูหน้าต่างซึ่งมีลักษณะคล้ายลิ่ม, เรียกเงินหรือทองที่หลอมเป็นแท่งตามที่ต้องการเพื่อเก็บรักษาไว้ว่า เงินลิ่ม ทองลิ่ม, เรียกอาการที่เลือดไหลออกมาแข็งตัวเป็นก้อน ๆ ว่า เลือดออกเป็นลิ่ม ๆ.
  50. ลูกหลาน : น. ผู้มีอายุคราวลูกหรือหลานที่เป็นญาติห่าง ๆ หรือ ที่นับว่าเป็นญาติ เช่น เด็ก ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลูกหลานฉันทั้งนั้น; ผู้สืบเชื้อสาย เช่น สมบัติเก่าลูกหลานเก็บรักษาไว้ได้.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-584

(0.1573 sec)