Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เงินบริจาค, บริจาค, เงิน , then งน, เงิน, เงินบริจาค, เงีน, บริจาค, ปริจาค .

Budhism Thai-Thai Dict : เงินบริจาค, 35 found, display 1-35
  1. บริจาค : สละให้, เสียสละ บัดนี้มักหมายเฉพาะการร่วมให้หรือการสละเพื่อการบุญ
  2. มหาบริจาค : การสละอย่างใหญ่ของพระโพธิสัตว์ตามที่อรรถกถาแสดงไว้มี ๕ อย่างคือ ๑.ธนบริจาค สละทรัพย์สมบัติเป็น ๒.อังคบริจาค สละอวัยวะเป็นทาน ๓.ชีวิตบริจาค สละชีวิตเป็นทาน ๔.บุตรบริจาค สละลูกเป็นทาน ๕.ทารบริจาค สละเมียเป็นทาน
  3. มหัคฆภัณฑ์ : ของมีค่ามาก เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นต้น
  4. สังหาริมะ : สิ่งที่เคลื่อนที่ได้ คือนำไปได้ เช่น สัตว์และสิ่งของที่ตั้งอยู่ลอย ๆ ไม่ติดที่ ได้แก่ เงิน ทอง เป็นต้น เทียบ อสังหาริมะ
  5. รูปพรรณ : เงินทองที่ทำเป็นเครื่องใช้หรือเครื่องประดับ, ลักษณะ, รูปร่าง และสี
  6. รูปิยะ : เงินตรา
  7. รูปียะ : เงินตรา
  8. สินไถ่ : เงินไถ่ค่าตัวทาส
  9. ปัญจมหาปริจาค : ดู มหาบริจาค
  10. กหาปณะ : ชื่อมาตราเงินในสมัยโบราณ ๑ กหาปณะ เท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๔ บาท
  11. กูฏทันตสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ ผู้กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียดเบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทาน และการทำความดีอื่นๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรม สัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำให้ประชาชนขวนขวาย ขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตน ปล่อยสัตว์ทั้งหลาย และประกาศตนเป็นอุบาสก
  12. จาคสัมปทา : ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น ดู สัมปรายิกัตถะ
  13. จาคานุสสติ : ระลึกถึงการบริจาค คือ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นจาคธรรมที่มีในตน ดู อนุสติ
  14. ฉัพพรรณรังสี : รัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า คือ ๑.นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒.ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓.โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔.โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕.มัญเชฐ สีหงสบาท เหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่ ๖.ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก
  15. ไถ้ : ถุงยาวๆ สำหรับใส่เงินหรือสิ่งของ
  16. ทกฺขิเณยยบุคคล : ผู้ควรแก่ทักขิณา, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของทำบุญ คือไทยธรรม มีอาหาร ผ้านุ่งห่ม เป็นต้น ที่มีผู้บริจาค (ข้อ ๗ ในสังฆคุณ ๙)
  17. ทานมัย : บุญที่สำเร็จด้วยการบริจาคทาน (ข้อ ๑ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)
  18. ทำบุญ : ทำความดี, ทำสิ่งที่ดีงาม, ประกอบกรรมดี ดังที่ท่านแสดงใน บุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แต่ที่พูดกันทั่วไป มักเพ่งที่การเลี้ยงพระตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ บริจาคบำรุงวัดและการก่อสร้างในวัด เป็นสำคัญ
  19. ธนสมบัติ : สมบัติ คือ ทรัพย์สินเงินทอง
  20. ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย : ธรรมที่จะช่วยให้ได้ ทุลลภธรรม สมหมายมี ๔ คือ ๑.สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒.สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓.จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔.ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา
  21. นวกัมมาธิฏฐายี : ผู้อำนวยการก่อสร้าง เช่น ที่พระโมคคัลลานะได้รับมอบหมายจากพระบรมศาสดาให้เป็นผู้อำนวยการสร้างบุพพารามที่นางวิสาขาบริจาคทุนสร้างที่กรุงสาวัตถี
  22. เบียดบัง : การถือเอาเศษ เช่นท่านให้เก็บเงินค่าเช่าต่างๆ เก็บได้มากแต่ให้ท่านแต่น้อย ให้ไม่ครบจำนวนที่เก็บได้
  23. มาสก : ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็นหนึ่งบาท
  24. เมณฑกานุญาต : ข้ออนุญาตที่ปรารภเมณฑกเศรษฐี คืออนุญาตให้ภิกษุยินดีของที่กัปปิยการก จัดซื้อมาด้วยเงินที่ผู้ศรัทธาได้มอบให้ไว้ตามแบบอย่างที่เมณฑกเศรษฐีเคยทำ
  25. รูปิยสังโวหาร : การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ, การซื้อขายด้วยเงินตรา, ภิกษุกระทำ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ (โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙)
  26. วิสาขา : ชื่อมหาอุบาสิกาสำคัญในครั้งพุทธกาล เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐี และนางสุมนา เกิดที่เมืองภัททิยะในแคว้นอังคะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ต่อมาได้ย้ายตามบิดามาอยู่ที่เมืองสาเกตในแคว้นโกศลแล้วได้สมรสกับนายปุณณวัฒน์บุตรชายมิคารเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี และย้ายไปอยู่ในตระกูลฝ่ายสามี นางสามารถกลับใจมิคารเศรษฐี บิดาของสามี ซึ่งนับถือครนถ์ ให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา มิคารเศรษฐีนับถือนางมาก และเรียกนางวิสาขาเป็นแม่ นางวิสาขาจึงได้ชื่อใหม่อีกอย่างหนึ่งว่า มิคารมารดา (มารดาของมิคารเศรษฐี) นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างมากมาย และได้ให้ขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่า มหาลดาปสาธน์ ซึ่งมีค่าสูงยิ่ง นำเงินมาสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี นางวิสาขามีบุตรหลานมากมายล้วนมีสุขภาพดีแทบทั้งนั้น แม้นางจะมีอายุยืนถึง ๑๒๐ ปี ก็ดูไม่แก่ และเป็นบุคคลที่ได้รับความนับถืออย่างกว้างขวางในสังคม ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาทายิกาทั้งปวง
  27. ศีล ๑๐ : สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดศรัทธาจะรักษาก็ได้ หัวข้อเหมือนศีล ๘ แต่แยกข้อ ๗ เป็น ๒ ข้อ (= ๗-๘) เลื่อนข้อ ๘ เป็น ๙ และเติมข้อ ๑๐ คือ ๗.เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ ๘.เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ ๙.เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ ๑๐.เว้นจากการรับทองและเงิน; คำสมาทาน (เฉพาะที่ต่าง) ว่า ๗.นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา- ๘.มาลาคนฺธวิเลปน ธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา- ๙.อุจฺจาสยนมหาสยนา- ๑๐.ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา- (คำต่อท้าย เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยมิ เหมือนกันทุกข้อ); ดู อาราธนาศีล ด้วย
  28. สมบัติ : ๑ ความถึงพร้อม, สิ่งที่ได้ที่ถึงด้วยดี, เงินทองของมีค่า, สิ่งที่มีอยู่ในสิทธิอำนาจของตน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์, สมบัติ ๓ ได้แก่ มนุษยสมบัติ สมบัติในขั้นมนุษย์ สวรรคสมบัติ สมบัติในสวรรค์ (เทวสมบัติ หรือทิพยสมบัติ ก็เรียก) และนิพพานสมบัติ สมบัติ คือนิพพาน
  29. สัมปรายิกัตถะ : ประโยชน์ภายหน้า, ประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไป อันได้แก่ความมีจิตใจเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมความดี ทำให้ชีวิตนี้มีค่าและเป็นหลักประกันชีวิตในภพหน้า ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑.สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒.สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓.จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔.ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา ธรรม ๔ อย่างนี้เรียกเต็มว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม
  30. อนามาส : วัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง เช่น ร่างกายและเครื่องแต่งกายสตรีเงินทอง อาวุธ เป็นต้น
  31. อนุสติ : ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๒) ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ๓) สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ๔) สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕) จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว ๖) เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา ๗) มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรม ๘) กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม ๙) อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ๑๐) อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน
  32. อเนสนา : การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ, เลี้ยงชีวิตผิดสมณะ เช่น หลอกลวงเขาด้วยการอวดอุตริมนุสธรรม ทำวิญญัติคือออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ ใช้เงินลงทุนหาผลประโยชน์ ต่อลาภด้วยลาภคือให้แต่น้อย เพื่อหวังตอบแทนมาก เป็นหมอเวทมนต์ เสกเป่า เป็นต้น
  33. อริยทรัพย์ : ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัว อยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เช่นเงินทอง เป็นต้น เพราะโจรหรือใครๆ แย่งชิงไม่ได้ และทำให้เป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง มี ๗ คือ สัทธา สีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา
  34. อรุณ : เวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น มีสองระยะ คือมีแสงขาวเรื่อๆ (แสงเงิน) แสงแดง (แสงทอง), เวลาย่ำรุ่ง
  35. อวิญญาณกะ : พัสดุที่ไม่มีวิญญาณ เช่นเงิน ทอง ผ้านุ่งห่ม และเครื่องใช้สอย เป็นต้น เทียบ สวิญญาณกะ
  36. [1-35]

(0.0215 sec)