Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เงียบสงัด, เงียบ, สงัด , then เงียบ, เงียบสงัด, สงด, สงัด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เงียบสงัด, 51 found, display 1-50
  1. สงัด : [สะหฺงัด] ก. เงียบสงบ เช่น คลื่นสงัด ลมสงัด. ว. เงียบเชียบ, สงบเงียบ เพราะปราศจากเสียงรบกวน, เช่น ดึกสงัด ยามสงัด.
  2. เงียบ : ว. ไม่มีเสียง เช่น นั่งเงียบ, ไม่มีเสียงอื้ออึง เช่น บ้านนี้เงียบ, สงบ, ปราศจากเสียงรบกวนหรือการก่อกวน, เช่น เหตุการณ์เงียบลงแล้ว; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระโตกกระตากเช่น เก็บเรื่องเงียบ, ไม่ แสดงออก เช่น พลังเงียบ. ก. หายไปโดยไม่มีข่าวคราวหรือไม่เป็น ข่าวเลย เช่น หมู่นี้นาย ก เงียบไป.
  3. ชระงม : [ชฺระ] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
  4. นิรโฆษ : [ระโคด] (แบบ) น. เสียงดัง, เสียงกึกก้อง. ว. ไม่มีเสียง, เงียบ, สงบ, สงัด. (ส.).
  5. รโห : น. ลับ, สงัด, เงียบ. (ป.).
  6. เงียบ : ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
  7. เซียบ : ว. เงียบ, สงัด.
  8. สันต์ : ว. เงียบ, สงบ, สงัด. (ป.; ส. ศานฺต).
  9. เงียบเป็นเป่าสาก : (สํา) ว. ลักษณะที่เงียบสนิท.
  10. สงัดคลื่นสงัดลม : ก. ไม่มีคลื่นไม่มีลม เช่น ทะเลสงัดคลื่นสงัดลม.
  11. สงัดคลื่น : ก. ไม่มีเสียงคลื่น.
  12. สงัดผู้สงัดคน : ก. เงียบเชียบเพราะไม่มีผู้คนผ่านไปมา.
  13. สงัดลม : ก. ไม่มีลมพัด.
  14. ปวิเวก : [ปะวิเวก] น. ที่สงัดเงียบ. (ป.).
  15. ไพชน : น. ที่เงียบ, ที่สงัด, ที่ปราศจากคน. (ป., ส. วิชน).
  16. วิเวก : ว. เงียบสงัดทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ, เงียบสงัดทำให้รู้สึกวังเวงใจ, เช่น อยู่ในวิเวก รู้สึกวิเวกวังเวงใจ. (ป.).
  17. โหวงเหวง : [-เหฺวง] ว. มาก, เป็นคำใช้ประกอบคำ เบา เป็น เบาโหวงเหวง หมายความว่า เบามาก; มีความรู้สึกเหมือนจะว่าง ๆ ในจิตใจ เช่น เมื่ออยู่ ในที่เงียบสงัดรู้สึกโหวงเหวง, มีความรู้สึกคล้าย ๆ ว่าขาดอะไรบางสิ่ง บางอย่างไป เช่น พอเข้าไปในบ้าน บรรยากาศเงียบผิดปรกติ รู้สึก โหวงเหวง.
  18. เข้าเงียบ : ก. ประพฤติสงบจิตใจอยู่ในที่สงัดตามลัทธิคริสต์ศาสนา.
  19. นิ่ง, นิ่ง ๆ : ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
  20. นิวาต : [วาด] (แบบ) ว. สงัดลม, สงัด; เสงี่ยม, เจียมตัว, สุภาพ. (ป.).
  21. มูก, มูกะ : ว. ใบ้, เงียบ, ไม่มีเสียง. (ส.; ป. มูค).
  22. มูคะ : ว. ใบ้, เงียบ, ไม่มีเสียง. (ป.; ส. มูก).
  23. สงบเงียบ : ก. ปราศจากเสียงรบกวน เช่น เด็ก ๆ ไม่อยู่บ้าน ทำให้บ้าน สงบเงียบ.
  24. ดึกสงัด : น. เวลาดึกมากบรรยากาศเงียบเชียบทำให้รู้สึกวังเวง.
  25. นิ่งเงียบ : ว. นิ่งอยู่ไม่พูดอะไร.
  26. พลังเงียบ : (การเมือง) น. เสียงส่วนใหญ่ที่ไม่แสดงออก. (อ. silent majority).
  27. หนังเงียบ : (ปาก) น. ภาพยนตร์ที่ไม่มีเสียงในฟิล์ม.
  28. เชียบ : ก. เงียบ เช่น เชียบเสียงสงสารองค์. (สมุทรโฆษ).
  29. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  30. กระหยบ : (โบ) ก. หมอบ เช่น ฟุบกบกระหยบเงียบมิเกรียบไว้. (มโนห์รา); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) แอบ, ซ่อน, ซุก.
  31. กริบ : [กฺริบ] ก. ขริบ, ตัดให้พลันขาดด้วยกรรไกรโดยไม่มีเสียงหรือ มีเสียงเช่นนั้น เช่น กริบผม กริบชายผ้า, ตัดขาดโดยฉับไวและ แนบเนียนด้วยความคม. ว. มาก เช่น คมกริบ;โดยปริยาย หมายความว่า เงียบไม่มีเสียงดัง เช่น เงียบกริบ ย่องกริบ.
  32. กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
  33. กุ๊กกิ๊ก, กุ๊ก ๆ กิ๊ก ๆ : ก. พูดหรือเล่นกันเงียบ ๆ; ประจบ เช่น ไปกุ๊กกิ๊กกับแม่ไม่นานก็ได้เงินมา.
  34. คลื่นกระทบฝั่ง ๒ : (สํา) น. เรื่องราวที่ครึกโครมขึ้นมาแล้วกลับเงียบหายไป.
  35. งอหาย : ว. อาการที่ร้องไห้หรือหัวเราะจนเสียงเงียบหายไป.
  36. งุบงิบ : ก. ทําอย่างเงียบ ๆ, ทํากันอย่างปิดบัง.
  37. เงียบกริบ : ก. เงียบสนิท.
  38. เงียบเชียบ : ก. วังเวง, เงียบไม่มีเสียง.
  39. จ้อย ๓ : ว. ไม่ได้วี่แวว, ไร้วี่แวว, เช่น หายจ้อย เงียบจ้อย.
  40. ฉี่ : (ปาก) ก. ถ่ายปัสสาวะ. น. ปัสสาวะ. ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงของที่ ทอดน้ำมัน; อย่างยิ่ง เช่น เงียบฉี่ ร้อนฉี่.
  41. ต๋อม : ว. เสียงอย่างของหนักขนาดเล็กตกลงไปในนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า เงียบไป (ใช้แก่กริยาหาย ว่า หายต๋อม).
  42. เทียว ๒ : ว. คําที่ใช้ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อบังคับหรือเน้นความให้มี ความหมายหนักแน่นยิ่งขึ้น มีความหมายอย่างเดียวกับ ทีเดียว, เชียว, เช่น มาให้ได้เทียวนะ อย่าบอกใครเทียวนะ หมู่นี้เงียบไปเทียวไม่เห็น มาหาบ้างเลย.
  43. ปิดปาก : ก. ไม่พูด หรือไม่ให้พูด เช่น ปิดปากเงียบ พยานถูกฆ่าปิดปาก.
  44. เย็บปาก : (ปาก) ก. ปิดปากเงียบไม่ยอมพูด.
  45. รโหคต : ว. ผู้ไปในที่ลับ, ผู้อยู่ในที่สงัด. (ป.).
  46. รโหฐาน : น. ที่เฉพาะส่วนตัว. (ป. รโห + ?าน ว่า ที่ลับ, ที่สงัด).
  47. ลักศพ : ก. นําศพไปอย่างเงียบ ๆ เพื่อปลง.
  48. วิวิจ : ว. สงัด, ปลีกตัวไปอยู่ในที่สงัด. (ป. วิวิจฺจ).
  49. วิวิต : ว. สงัด, ปลีกตัวไปอยู่ในที่สงัด. (ป. วิวิตฺต, ส. วิวิกฺต).
  50. สะพัด ๑ : ก. ล้อมไว้, กั้นไว้, เช่น ครั้นราตรีดึกสงัด เขาก็สะพัดสามรอบ. (ลอ). ว. อาการที่เคลื่อนไหวเรื่อยไปอย่างรวดเร็วดุจกระแสนํ้าไหล เช่น ข่าวแพร่สะพัด เงินหมุนเวียนสะพัด, ตะพัด ก็ว่า.
  51. [1-50]

(0.1041 sec)