Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เชื่อม , then ชอม, เชื่อม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เชื่อม, 84 found, display 1-50
  1. เชื่อม : ก. ทําของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยว ให้ละลายแล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย, เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือ เคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม; ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความ ว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.
  2. เชื่อม : ก. ทําให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น เชื่อมเหล็ก, ทําให้ ประสานกัน เช่น เชื่อมสัมพันธไมตรี.
  3. เชื่อม : ว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.
  4. บรรสาน : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาน) ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิทกัน, เชื่อม, รัด, ผูกไว้.
  5. สมาน ๒ : [สะหฺมาน] ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิท, เช่น ยาสมานแผล การสมาน เนื้อไม้; เชื่อม, ผูกพัน, เช่น สมานไมตรี.
  6. น้ำเชื่อม : น. นํ้าตาลทรายผสมนํ้าตั้งไฟจนละลาย ใช้ใส่ขนม เช่นวุ้น นํ้าเชื่อม หรือใช้ผสมกับแป้งทําขนมชั้นหรือขนมนํ้าดอกไม้เป็นต้น.
  7. สาคูน้ำเชื่อม : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยสาคูเม็ดใหญ่ใส่น้ำเชื่อม.
  8. ประสาน : ก. ทําให้เข้ากันสนิท, เชื่อม.
  9. แช่อิ่ม : ว. ที่แช่นํ้าตาลเชื่อมจนอิ่มตัว เช่น ผลไม้แช่อิ่ม เปลือกส้มโอแช่อิ่ม.
  10. กล้วย ๑ : [กฺล้วย] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกออกได้เป็น ๒ จําพวก จําพวกที่แตกหน่อเป็นกอ ผลสุกเนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม บางชนิดผลสุกเนื้อแข็ง มักเผา ต้ม หรือเชื่อมกิน เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก,จําพวกที่ไม่แตกหน่อเป็นกอ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใบประดับไม่ร่วง เช่น กล้วยนวล กล้วยผา.
  11. กับ ๒ : เป็นคําที่เชื่อมคําหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกันหรือ เกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หายวับไปกับตา.
  12. กาแล็กโทส : (วิทยา) น. น้ำตาลชนิดหนึ่งประเภทโมโนแซ็กคาไรด์ ชนิดแอลโดเฮ็กโซส ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีรสหวาน น้อยกว่าน้ำตาลทราย หลอมละลายที่ ๑๖๕ ?ซ-๑๖๘ ?ซ. โมเลกุล ของกาแล็กโทสเชื่อมโยงกับโมเลกุลของกลูโคสเป็นโมเลกุล ของแล็กโทสซึ่งมีในน้ำนม. (อ. galactose).
  13. ข้าวต้มน้ำวุ้น : น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวห่อ ใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยม ต้มสุก กินกับนํ้าเชื่อม.
  14. ขี้หนู ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าโม่ทับน้ำ ยีให้ร่วนแล้วนึ่งให้สุก ใส่น้ำเชื่อม เคล้าให้ฟูเป็นเม็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดทราย โรยด้วยมะพร้าว ทึนทึกขูด, (ราชา) ขนมทราย.
  15. ไข้พิษ : น. ไข้ที่มีพิษกล้าทําให้เชื่อมซึมไปไม่มีเวลาสร่าง.
  16. ไข่หวาน : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําโดยต่อยไข่ใส่ลงในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ แล้วต้มให้สุก มักใส่ขิงด้วย.
  17. คลอง : [คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลํานํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.
  18. คอคอด : น. แผ่นดินที่กิ่วคอดและมีน้ำล้อมรอบอยู่ทั้ง ๒ ด้าน ตรงที่ กิ่วคอดจะเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่ ๒ แห่ง หรือเชื่อมต่อระหว่าง แผ่นดินใหญ่กับแหลมให้ติดต่อถึงกันได้ เช่น คอคอดกระ.
  19. คอเชิ้ต : น. ปกเสื้อแบบติดคอ ปลายปกแหลม มีสาบเชื่อมระหว่างปก กับตัวเสื้อเพื่อเสริมให้ปกตั้งขึ้น.
  20. คอร์ด : (คณิต) น. เส้นตรงที่เชื่อมจุด ๒ จุด บนเส้นโค้งใด ๆ. (อ. chord).
  21. โครโมโซม : น. ส่วนหนึ่งของนิวเคลียสของเซลล์ มีลักษณะเป็นท่อนหรือเป็นเส้น ประกอบขึ้นด้วยสารดีเอ็นเอ (DNA = deoxyribonucleic acid) เชื่อมกับ โปรตีน ทําหน้าที่สําคัญในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ทั้งควบคุมการทํางานของเซลล์และการแบ่งเซลล์. (อ. chromosome).
  22. จักรยาน : น. รถถีบ, ยานพาหนะประเภทรถที่มีล้อ ๒ ล้อ ล้อหนึ่งอยู่ข้างหน้า และอีกล้อหนึ่งอยู่ข้างหลัง มีโครงเหล็กเชื่อมล้อหน้ากับล้อหลัง มีคันบังคับ ด้วยมือติดตั้งอยู่บนล้อหน้า ขับเคลื่อนด้วยกำลังคนผู้ขี่ซึ่งใช้เท้าถีบบันไดรถ ให้วิ่ง เรียกว่า จักรยานสองล้อ, ถ้ามี ๓ ล้อ เรียกว่า จักรยานสามล้อ.
  23. จับกิ้ม : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง เช่น ฟักเชื่อม ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง มักใช้เป็นของไหว้เจ้า. (จ.).
  24. ช่องแคบ : น. ทางนํ้ายาวที่อยู่ระหว่างแผ่นดินหรือเกาะ เชื่อมต่อทะเลทั้ง ๒ ข้าง.
  25. ชักหน้า ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมนํ้าดอกไม้ ก็เรียก.
  26. ชุมสายโทรศัพท์ : น. ศูนย์กลางคู่สายโทรศัพท์ และเป็นที่ ที่สายโทรศัพท์หมายเลขต่าง ๆ เชื่อมติดต่อกัน.
  27. ซ้องแมว : น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยชนิด Gmelina philippensis Cham. ในวงศ์ Labiatae ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อห้อย มีใบประดับสีขาวอมเขียวตลอดช่อ ราก ใบ และผลใช้ทํายา ผลเชื่อมกินได้, ช้องแมว ซองแมว หรือ ข้าวจี่ ก็เรียก.
  28. ซาหริ่ม, ซ่าหริ่ม : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งถั่วเขียว ลักษณะคล้ายลอดช่อง แต่ตัวเล็กและยาวกว่า กินกับนํ้ากะทิผสมนํ้าเชื่อม.
  29. ซูโครส : [–โคฺร้ด] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐บซ. องค์ประกอบ เป็นโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทําจากต้นอ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. (อ. sucrose).
  30. เซลลูโลส : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโพลีแซ็กคาไรด์ชนิดที่ ซับซ้อน มีสูตรเคมี (C6H10O5)n ประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคส มากมายเชื่อมโยงกัน เซลลูโลสเป็นองค์ประกอบสําคัญของเนื้อไม้ ฝ้าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพลาสติก กระดาษ ไหมเทียม ดินระเบิด ฟิล์มภาพยนตร์ หรือฟิล์มถ่ายรูปชนิดไม่ไวไฟ เป็นต้น. (อ. cellulose).
  31. ไดแซ็กคาไรด์ : (วิทยา) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตจําพวกนํ้าตาลที่ประกอบด้วย โมโนแซ็กคาไรด์ ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน มีสูตรโมเลกุล C12H22O11. (อ. disaccharide).
  32. ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
  33. ตะพาน : น. สิ่งปลูกสร้างที่ทําสําหรับข้ามแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น บางทีทํายื่นลงไปในนํ้า สําหรับขึ้นลง, โดยปริยายหมายความว่า สื่อเชื่อมโยง, สะพาน ก็ว่า.
  34. ทองหยอด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยไข่แดงประสมแป้งเล็ก น้อยหยอดเป็นลูกกลม ๆ อย่างหยดนํ้าในนํ้าเชื่อมเดือด ๆ, ลักษณนามว่า ลูก.
  35. ทองหยิบ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยไข่แดงตีให้ขึ้นเล็กน้อย หยอด เป็นแผ่นเล็ก ๆ ในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ ตั้งไฟให้สุก แล้วช้อน ออกมาหยิบเป็นกลีบ ๆ ๕ หรือ ๗ หยิบ ใส่ถ้วยตะไลทิ้งไว้ให้ คงรูป, ลักษณนามว่า ดอก.
  36. ทับทิม ๑ : น. พลอยสีแดงชนิดหนึ่ง; เรียกสิ่งที่เป็นเกล็ดสีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้า จะออกเป็นสีทับทิม ว่า ด่างทับทิม; เรียกหินที่มีสีคล้ายทับทิมใช้รอง แกนในนาฬิกาข้อมือเป็นต้นว่า ทับทิม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วย แป้งมันใส่สีแดงเหมือนเม็ดทับทิมต้มกินกับนํ้าเชื่อมหรือนํ้าหวานว่า ทับทิมลอยแก้ว, ถ้าทําด้วยแห้วหรือมันแกวหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกแป้ง แล้วทําด้วยกรรมวิธีเดียวกัน เรียกว่า ทับทิมกรอบ. ว. สีแดงชนิดหนึ่ง คล้ายทับทิม เรียกว่า สีทับทิม. (ไทยเดิม ทับทิม ว่า แสงแดง). (ส. ทาฑิม).
  37. น้ำดอกไม้ ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลาย กับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมชักหน้า ก็เรียก.
  38. น้ำประสานทอง : น. เกลือเคมีชนิดหนึ่งใช้เป็นตัวประสานในการเชื่อม หรือบัดกรีโลหะเป็นต้น.
  39. บัดกรี : [บัดกฺรี] ก. เชื่อมหรือประสานโลหะให้ติดกัน.
  40. บุพบท : น. คําชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.
  41. บุรพบท : [บุระพะบด, บุบพะบด] น. บุพบท, คําชนิดหนึ่งใน ไวยากรณ์ ทําหน้าที่เชื่อมคําต่อคํา อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือ กริยา มีคําว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือ ของฉัน กินเพื่ออยู่.
  42. ปูนสอ : น. ปูนขาวที่ผสมกับทรายและนํ้ากาวหนังหรือนํ้าอ้อย เป็นต้น สําหรับเชื่อมอิฐหรือหิน, ปูนขาวหรือปูนซีเมนต์ผสม กับทรายและนํ้า สําหรับเชื่อมอิฐหรือหิน.
  43. เป่าแล่น : ก. เอาหลอดเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะเช่นทอง นาก เงิน ให้ติดกัน. น. หลอดเป่าไฟสําหรับเชื่อมโลหะให้ติดกัน.
  44. โปรตีน : [โปฺร-] น. สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของไนโตรเจน มีโมเลกุล ขนาดใหญ่ประกอบด้วยกรดแอมิโนหลายชนิดเชื่อมโยงกัน เป็น สารประกอบที่สำคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดซึ่งจําเป็นต้องใช้เพื่อ สร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย. (อ. protein).
  45. ฟอกน้ำตาล : ก. เอาเปลือกไข่ใส่ลงไปในขณะเชื่อมน้ำตาล เพื่อให้น้ำเชื่อมใสสะอาด.
  46. มอลโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐-๑๖๕ ? ซ. องค์ประกอบเป็น กลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่ง นํ้ามีในข้าวมอลต์ ทําปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่าตาลทราย. (อ. maltose).
  47. มัธยฐาน : (คณิต) น. ชื่อเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดมุมของรูปสามเหลี่ยมกับจุดกึ่งกลาง ของด้านที่ตรงข้ามกับมุมนั้น.
  48. มิทธะ : [มิด-] น. ความท้อแท้, ความเชื่อมซึม. (ป., ส.).
  49. มิทธี : [มิด-] ว. ท้อแท้, เชื่อมซึม. (ป.).
  50. มึนซึม : ก. แสดงอาการเชื่อมซึมคล้ายเป็นไข้.
  51. [1-50] | 51-84

(0.0653 sec)