Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เด็กนักเรียน, นักเรียน, เด็ก , then ดก, ดกนกรยน, เด็ก, เด็กนักเรียน, นักเรียน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เด็กนักเรียน, 650 found, display 1-50
  1. เด็ก : น. คนที่มีอายุยังน้อย; (กฎ) ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์; ผู้ซึ่งอายุไม่ครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส; บุคคลอายุเกิน ๗ ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์; บุคคลที่มีอายุแต่ ๑๕ ปีลงมา; บุคคลผู้มีอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์. ว. ยังเล็ก; อ่อนวัยกว่า ในคําว่า เด็กกว่า.
  2. นักเรียน : น. ผู้ศึกษาเล่าเรียน; ผู้รับการศึกษาจากโรงเรียน.
  3. เด็กชาย : (กฎ) น. คํานําหน้าชื่อเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์.
  4. เด็กแดง : น. เด็กที่ออกใหม่ ๆ.
  5. เด็กหญิง : (กฎ) น. คํานําหน้าชื่อเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่ถึง ๑๕ ปีบริบูรณ์.
  6. เด็กเมื่อวานซืน : (สํา) น. คํากล่าวเชิงดูหมิ่นหรือเชิงสั่งสอนว่า มีความรู้ หรือมีประสบการณ์น้อย.
  7. เด็กอมมือ : (สํา) น. ผู้ไม่รู้ประสีประสา.
  8. นักเรียนนอก : น. ผู้ที่ไปศึกษามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะหมายถึง ประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา.
  9. เปอร์เซ็นต์ : น. จํานวนที่เทียบเป็นส่วนร้อยหรือร้อยละ, การคิดเทียบเป็น ส่วนร้อย เรียกว่า ร้อยละ หรือ ต่อร้อย ใช้เครื่องหมาย % แทน เช่น นักเรียนโรงเรียนนี้สอบได้ ๗๐ % คือ สอบได้ ๗๐ คน จาก จำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๐๐ คน เด็กคนนี้สอบได้ ๘๐ % คือ ได้ คะแนน ๘๐ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน; (ปาก) ค่า นายหน้า, ค่าตอบแทนในการติดต่อซื้อขายเป็นต้น, เช่น ได้ เปอร์เซ็นต์ ให้เปอร์เซ็นต์.
  10. ฝากโรงเรียน : ก. นําเด็กไปสมัครเข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียน.
  11. มอบ ๑ : ก. เวนให้ เช่น มอบราชสมบัติ, สละให้ เช่น มอบกายถวายชีวิต มอบชีวิตเป็นราชพลี, ยกให้ เช่น มอบทรัพย์สมบัติ, ให้ไว้ เช่น มอบเงินให้เป็นค่าอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน.
  12. มอบตัว : ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของ โรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
  13. วิกัติการก : [วิกัดติ] (ไว) น. คําที่อธิบายตําแหน่งของบทการกข้างหน้าให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เด็กนักเรียนนอน เขาเดินมากับนายมีคนใช้, คําที่เป็นบทช่วยวิกตรรถกริยาและเรียงไว้หลังวิกตรรถกริยา ''เป็น'' หรือ ''คือ'' เช่น เขาเป็นนักกีฬา เขาคือนักกีฬา.
  14. สอน : ก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจ โดยวิธีบอกหรือทําให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอน แม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจํา; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.
  15. อนุบาล : ก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวัง รักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมี คําสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).
  16. ผู้ดูแลนักเรียน : น. ข้าราชการที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองนักเรียน ในต่างประเทศ.
  17. พรากเด็ก : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอัน สมควร.
  18. พาล ๒, พาลา : (กลอน) ว. อ่อน, เด็ก, รุ่น. (ส., ป.); ชั่วร้าย, เกเร, เกะกะ, เช่น คนพาล. ก. หาเรื่องทำให้วุ่นวาย, หาเรื่องทำให้เดือดร้อน, เช่น พาลหาเรื่อง พาลหาเหตุ. น. คนชั่วร้าย, คนเกเร, เช่น คบคนพาล พาลพาไปหาผิด. (ป.).
  19. รมควันเด็ก : น. วิธีลงโทษเด็กที่ดื้อมาก ๆ อย่างหนึ่ง โดยเอากาบมะพร้าว แห้งเผาไฟให้ควันรมหน้ารมตาเด็กเพื่อให้สำลักควันจะได้เข็ด.
  20. ลูกเด็กเล็กแดง, ลูกเล็กเด็กแดง : น. เด็กเล็ก ๆ หลายคน.
  21. สนามเด็กเล่น : น. สถานที่ที่จัดให้เด็กเล่น มักมีอุปกรณ์การเล่น เช่น ชิงช้า ไม้ลื่น.
  22. ดก : ว. มาก, มากกว่าปรกติ, (มักใช้แก่สิ่งที่เกิดมีขึ้นตามธรรมชาติ) เช่น ต้นไม้ ออกดอกออกผลมากกว่าปรกติ เรียกว่า ดอกดก ผลดก, ไก่ที่ไข่มากกว่า ปรกติเรียกว่า ไข่ดก, หญิงที่มีลูกถี่และมากกว่าปรกติ เรียกว่า ลูกดก, คน ที่มีผมมากกว่าปรกติ เรียกว่า ผมดก; โดยปริยายใช้เป็นคําพูดประชด เช่น พูดว่าได้ดกละ หมายความว่า ไม่มีหวังที่จะได้, มีดกละ หมายความว่า ไม่มี.
  23. ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น : (สํา) ก. ทําสิ่งที่ไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น.
  24. ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก. : ว. แนบเนียน เช่น เขาพูดเท็จได้อย่างสนิทสนม เขาชำระแผลให้คนเป็นโรคเรื้อนได้อย่างสนิทสนมโดยไม่รังเกียจ.
  25. วัยเด็ก : น. วัยที่อายุยังน้อย.
  26. ศาลคดีเด็กและเยาวชน : (กฎ; เลิก) ดู ศาลเยาวชนและครอบครัว.
  27. บังอร : น. นาง; เด็ก ๆ ที่กําลังน่ารัก เช่น เมื่อทอดพระเนตรเห็นสองบังอร อรรคปิโยรส.
  28. กันเมียง : น. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง = เด็ก).
  29. คราว ๑ : [คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้ อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.
  30. ครือ ๒, ครือ ๆ : [คฺรือ] ว. ไม่คับไม่หลวม เช่น เสื้อครือตัว, พอ ๆ กัน เช่น เด็ก ๒ คนนี้ ขยันครือ ๆ กัน.
  31. เดียงสา : ว. รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็ก ยังไม่รู้เดียงสา.
  32. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  33. ทหระ : [ทะหะ-] (แบบ) น. เด็ก. ว. หนุ่ม. (ป., ส.).
  34. ประธาน ๒ : (ไว) น. ผู้กระทำ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็นประธานของกริยา วิ่ง คนกินข้าว คน เป็นประธานของกริยา กิน.
  35. เร่งวันเร่งคืน : ก. อยากให้ถึงวันที่กำหนดโดยเร็ว เช่น เด็ก ๆ เร่งวัน เร่งคืนให้ถึงวันปิดเทอม.
  36. แรงงาน : น. คนงาน, ผู้ใช้แรงในการทำงาน, เช่น การพัฒนาชนบทต้อง อาศัยแรงงานจากท้องถิ่น งานก่อสร้างต้องการแรงงานเพิ่ม, ประชากร ในวัยทํางาน ไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขัง และผู้ประกอบกิจการเพื่อหากําไร เช่น วัน แรงงาน, แรงที่ใช้ในการทำงาน เช่น ถนนนี้สร้างสำเร็จด้วยแรงงานของ ชาวบ้าน; ความสามารถในการทํางานเพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ, กิจการที่คนงานทําในการผลิตเศรษฐทรัพย์.
  37. โรงเรียนกินนอน, โรงเรียนประจำ : น. โรงเรียนที่นักเรียนต้องกินอยู่ หลับนอนอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจํา, เรียกนักเรียนเช่นนั้นว่า นักเรียน กินนอน หรือ นักเรียนประจํา.
  38. ลูกหลาน : น. ผู้มีอายุคราวลูกหรือหลานที่เป็นญาติห่าง ๆ หรือ ที่นับว่าเป็นญาติ เช่น เด็ก ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นลูกหลานฉันทั้งนั้น; ผู้สืบเชื้อสาย เช่น สมบัติเก่าลูกหลานเก็บรักษาไว้ได้.
  39. สงบเงียบ : ก. ปราศจากเสียงรบกวน เช่น เด็ก ๆ ไม่อยู่บ้าน ทำให้บ้าน สงบเงียบ.
  40. สนาม : [สะหฺนาม] น. ลาน, ที่ว่าง, ที่โล่ง, ที่เล่น, เช่น เขานั่งอยู่ริมสนาม เด็ก ๆ วิ่งเล่นในสนาม, ที่สำหรับเล่นหรือแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ สนามชนวัว.
  41. สนุกสนาน : ว. ร่าเริงบันเทิงใจ, เพลิดเพลินเจริญใจ, เช่น เด็ก ๆ เล่น สาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน.
  42. สะวี้ดสะว้าด : (ปาก) ว. รวดเร็ว, ฉวัดเฉวียน, เช่น ขับรถสะวี้ดสะว้าด; ฉูดฉาด, นำสมัยแบบโลดโผน, เช่น เด็ก ๆ ไม่ควรแต่งตัวสะวี้ดสะว้าด.
  43. สะสวย : ว. ค่อนข้างสวย, อยู่ในเกณฑ์สวย, (มักใช้แก่ผู้หญิง), เช่น เด็ก ๆ แต่งตัวสะสวย เธอเป็นคนหน้าตาสะสวย.
  44. หงุงหงิง, หงุง ๆ หงิง ๆ : ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ หงิง ๆ.
  45. หนวกหู : ก. รู้สึกรำคาญหูเพราะเสียงเซ็งแซ่อื้ออึง เช่น เด็ก ๆ เล่นกันเกรียว หนวกหูเหลือเกิน, โดยปริยายหมายความว่า รำคาญ เช่น เธอพูดมากฉัน หนวกหูเต็มทีแล้ว. ว. เซ็งแซ่อื้ออึงรําคาญหู เช่น เด็ก ๆ จุดประทัดเล่นกัน เสียงหนวกหูจริง.
  46. หัวก่ายท้ายเกย : ว. มากมายเต็มไปหมดอย่างไร้ระเบียบ เช่น เรือจอดหัวก่าย ท้ายเกย เด็ก ๆ นอนกันหัวก่ายท้ายเกยเต็มห้องไปหมด.
  47. ให้หลัง : ก. คล้อยหลังไป เช่น พอครูให้หลัง เด็ก ๆ ก็ซนกันใหญ่.
  48. อลิงค์, อลึงค์ : (ไว) น. เพศของคําที่ไม่ปรากฏชัดลงไปว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง เช่น คน ครู นักเรียน ข้าราชการ สุนัข แมว. (ส. อลิงฺค).
  49. ศาลเยาวชนและครอบครัว : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมี อํานาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคําสั่งในคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็ก หรือเยาวชนกระทําความผิด หรือคดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอํานาจ พิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตามกฎหมาย หรือคดีครอบครัว อันได้แก่คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทําการใด ๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวแล้วแต่กรณี ซึ่งจะต้อง บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือคดีที่ศาลจะ ต้องพิพากษาหรือสั่งเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนตามบทบัญญัติ ของกฎหมายซึ่งบัญญัติให้เป็นอํานาจหน้าที่ของศาลเยาวชน และครอบครัว ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลเยาวชน และครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใน ศาลจังหวัดซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชน และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว.
  50. กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650

(0.1955 sec)