Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เตรียมพร้อม, เตรียม, พร้อม , then ตรยมพรอม, เตรียม, เตรียมพร้อม, พรอม, พร้อม .

Budhism Thai-Thai Dict : เตรียมพร้อม, 115 found, display 1-50
  1. พร้อมหน้าบุคคล : บุคคลผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้ากัน เช่น คู่วิวาทหรือคู่ความพร้อมหน้ากันในวิวาทาธิกรณ์และในอนุวาทาธิกรณ์ เป็นต้น (ปุคคลสัมมุขตา)
  2. พร้อมหน้าธรรมวินัย : (ระงับอธิกรณ์) โดยนำเอาธรรมวินัย และสัตถุศาสน์ที่เป็นหลักสำหรับระงับอธิกรณ์นั้นมาใช้โดยครบถ้วน คือวินิจฉัยถูกต้องโดยธรรมและถูกต้องโดยวินัย (ธัมมสัมมุขตา วินยสัมมุขตา)
  3. พร้อมหน้าวัตถุ : ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นพิจารณาวินิจฉัย เช่น คำกล่าวโจทเพื่อเริ่มเรื่อง และข้อวิวาทที่ยกขึ้นแถลง เป็นต้น (วัตถุสัมมุขตา)
  4. พร้อมหน้าสงฆ์ : ต่อหน้าภิกษุเข้าประชุมครบองค์ และได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมาแล้ว (สังฆสัมมุขตา)
  5. ภาวนา : การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ 1.การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ ๑.สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ๒.วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑.จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 2.การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ ๑.บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ ๓.อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน 3.ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี
  6. สุภัททะ วุฒบรรพชิต : “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้วคราวหนึ่งได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้ง ๒ เอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่าพระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับและทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้ ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก ในขณะนั้นเอง พระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่าสิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น” พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททะวุฒบรรพชิต นี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก
  7. อนุปุพพิกถา : เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายากเพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจ มี ๕ คือ ๑) ทานกถา พรรณนาทาน ๒) สีลกถา พรรณนาศีล ๓) สัคคกถา พรรณนาสวรรค์ คือ ความสุขที่พรั่งพร้อมด้วยกาม ๔) กามาทีนวกถา พรรณนาโทษของกาม ๕) เนกขัมมานิสังสกถา พรรณาอานิสงส์แห่งการออกจากกาม
  8. กรวดน้ำ : ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่; เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป; คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด จะต่ออีกก็ได้ว่า สุขิตา โหนตุ ญาตโย ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด - to pour the water of dedication (to transfer merit to other beings)
  9. กัสสปะ : 1.พระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ดู พระพุทธเจ้า๕2.ชื่อของพระมหากัสสปเถระเมื่อเรียกตามโคตร ท่านมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ปิปผลิ หรือ ปิปผลิมาณพ 3.หมายถึงกัสสป ๓ พี่น้อง คยากัสสปะ เป็นนักบวชประเภทชฎิล ถือลัทธิบูชาไฟ เป็นที่เคารพนับถือของชาวราชคฤห์ ภายหลังได้เป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง ๓ พี่น้องและบริวารหนึ่งพัน ด้วยได้ฟังเทศนาอาทิตตปริยายสูตร จากพระพุทธเจ้า
  10. กามสมบัติ : สมบัติกามารมณ์, ความถึงพร้อมด้วยกามารมณ์
  11. กาฬุทายี : อำมาตย์ของพระเจ้าสุทโธทนะเป็นสหชาติและเป็นพระสหายสนิทของพระโพธิสัตว์ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าสุทโธทนะส่งไปทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ กาฬุทายีไปเฝ้าพระศาสดาที่กรุงราชคฤห์ได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว ทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุแล้ว ทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส
  12. กิมพิละ : เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ ได้สำเร็จอรหัต และเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐
  13. กุมารีภูตวรรค : ชื่อหมวดในพระวินัยปิฎก หมายถึงตอนอันว่าด้วยกุมารีภูตา คือสามเณรีผู้เตรียมจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี มีอยู่ในปาจิตติยกัณฑ์ ในภิกขุนีวิภังค์
  14. กูฏทันตสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีลขันธวรรค สุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่กูฏทันตพราหมณ์ ผู้กำลังเตรียมพิธีบูชายัญ ว่าด้วยวิธีบูชายัญตามความหมายในแบบของพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่ต้องมีการฆ่าฟันเบียดเบียนสัตว์ มีแต่การเสียสละทำทาน และการทำความดีอื่นๆ เริ่มด้วยการตระเตรียมพิธีโดยจัดการบ้านเมืองให้สงบเรียบร้อยก่อนตามธรรมวิธี มีการส่งเสริมกสิกรรม พาณิชยกรรม สัมมาชีพ และบำรุงส่งเสริมข้าราชการที่ดี ซึ่งจะทำให้ประชาชนขวนขวาย ขะมักเขม้นในหน้าที่การงานของตนๆ จนบ้านเมืองมีความเกษมปลอดภัย พลเมืองมีความสุข ราชทรัพย์บริบูรณ์ดีแล้ว จึงกระทำพิธีบูชายัญ ด้วยการบริจาคทรัพย์ทำทานเป็นต้น ผลของพระธรรมเทศนานี้ คือ กูฏทันตพราหมณ์ล้มเลิกพิธีบูชายัญของตน ปล่อยสัตว์ทั้งหลาย และประกาศตนเป็นอุบาสก
  15. คยากัสสป : นักบวชชฎิลแห่งกัสสปโคตร ตั้งอาศรมอยู่ที่ตำบลคยาสีสะเป็นน้องชายคนเล็กของอุรุเวลากัสสปะ ออกบวชตามที่ชาย พร้อมด้วยชฎิล ๒๐๐ ที่เป็นบริวาร ได้ฟังพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตร บรรลุพระอรหัตและเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก
  16. ควัมปติ : ชื่อกุลบุตรผู้เป็นสหายของพระยสะ เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี ได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตรออกบวช จึงบวชตามพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ วิมล สุพาหุ ปุณณชิ ต่อมาได้สำเร็จพระอรหัตทั้งหมด
  17. ฆราวาสสมบัติ : สมบัติของการครองเรือน, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์ของชีวิตชาวบ้าน
  18. จรณะ : เครื่องดำเนิน, ปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชา มี ๑๕ คือ สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล อปัณณกปฏิปทา ๓ สัทธรรม ๗ และ ฌาน ๔
  19. จักรพรรดิราชสมบัติ : สมบัติ คือความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, ความพรั่งพร้อมสมบูรณ์แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
  20. จาคสัมปทา : ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น ดู สัมปรายิกัตถะ
  21. จาตุรงคสันนิบาต : การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ ๑.วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (เพ็ญเดือน ๓) ๒.พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓.พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖ ๔.พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ ดู มาฆบูชา
  22. จิตตลหุกา : ความเบาแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตเบาพร้อมที่จะเคลื่อนไหวทำหน้าที่ (ข้อ ๑๑ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  23. จุลวรรค : ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดหนึ่งแห่งพระวินัยปิฎก ซึ่งมีทั้งหมด ๕ หมวด คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร ; คัมภีร์จุลวรรค มี ๑๒ ขันธกะ คือ ๑.กัมมขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคคหกรรม ๒.ปาริวาสิกขันธกะ ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส ผู้ประพฤติมานัต และผู้เตรียมจะอัพภาน ๓.สมุจจยขันธกะ ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในการประพฤติวุฏฐานวิธี ๔.สมถขันธกะ ว่าด้วยการระงับอธิกรณ์ ๕.ขุททกวัตถุขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อยจำนวนมาก เช่น การปลงผม ตัดเล็บ ไม้จิ้มฟัน ของใช้ต่างๆ เป็นต้น ๖.เสนาสนขันธกะ ว่าด้วยสังฆเภทและสังฆสามัคคี ๘.วัตตขันธกะ ว่าด้วยวัตรต่างๆ เช่น อาคันตุกวัตร เป็นตน ๙.ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ ว่าด้วยระเบียบในการงดสวดปาฏิโมกข์ในเมื่อภิกษุมีอาบัติติดตัวมาร่วมฟังอยู่ ๑๐.ภิกขุนีขันธกะ ว่าด้วยเรื่องภิกษุณีเริ่มแต่ประวัติการอนุญาตให้มีการบวชครั้งแรก ๑๑.ปัญจสติกขันธกะ ว่าด้วยเรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ ๑๒.สัตตสติกขันธกะ ว่าด้วยสังคายนาครั้งที่ ๒ (พระไตรปิฎกเล่ม ๖-๗); ต่อจาก มหาวรรค
  24. จูฬปันถกะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในอสีติมหาสาวก เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่ามีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบถาคาเพียง ๑ คาถาให้ ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพอพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํ ๆๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้มองเห็นไตรลักษณ์และได้สำเร็จพระอรหัต ท่านมีความชำนาญ แคล่วคล่อง ในอภิญญา ๖ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์; ชื่อท่านเรียกว่าง่ายๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็นจุลลบันถก
  25. ชีวิตสมสีสี : ผู้สิ้นกิเลสพร้อมกับสิ้นชีวิต, ผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วก็ดับจิตพอดี
  26. ทิฏฐธัมมิกัตถะ : ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ ๑.อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น ๒.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา ๓.กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี ๔.สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้; มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์
  27. เทวทัตต์ : ราชบุตรของพระเจ้าสุปปพุทธะ เป็นเชฏฐภาดา (พี่ชาย) ของพระนางพิมพาผู้เป็นพระชายาของสิทธัตถกุมาร เจ้าชายเทวทัตต์ออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธ์ พระอานนท์ และ กัลบกอุบาลี เป็นต้น บำเพ็ญฌานจนได้โลกิยอภิญญา ต่อมามีความมักใหญ่ ได้ยุยงพระเจ้าอชาตศัตรูและคบคิดกันพยายามประทุษร้ายพระพุทธเจ้า ก่อเรื่องวุ่นวายในสังฆมณฑลจนถึงทำสังฆเภท และถูกแผ่นดินสูบในที่สุด
  28. เทโวโรหณะ : “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่าในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
  29. ธมฺมสมฺมุขตา : ความเป็นต่อหน้าธรรม, พร้อมหน้าธรรม ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่า ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมวินัยและสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น จึงเท่ากับว่าธรรมมาอยู่ที่นั้นด้วย
  30. ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย : ธรรมที่จะช่วยให้ได้ ทุลลภธรรม สมหมายมี ๔ คือ ๑.สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒.สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓.จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔.ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา
  31. ธรรมไพบูลย์ : ความไพบูลย์แห่งธรรม, ความพรั่งพร้อมเต็มเปี่ยมแห่งธรรม ด้วยการฝึกฝนอบรมให้มีในตนจนบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหลาย ดู ไพบูลย์ เวปุลละ
  32. ธรรมสามัคคี : ความพร้อมเพรียงขององค์ธรรม, องค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทุกอย่างทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่างๆ พร้อมเพรียงและประสานสอดคล้องกัน ให้สำเร็จผลที่เป็นจุดหมาย เช่น ในการบรรลุมรรคผล เป็นต้น
  33. นกุลบิดา : “พ่อของนกุล”, คฤหบดี ชาวเมืองสุงสุมารคีรี ในแคว้นภัคคะ มีภรรยาชื่อ นกุลมารดา สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองสุงสุมารคีรี ประทับที่ป่าเภสกลาวัน ท่านคฤหบดีและภรรยาไปเฝ้าพร้อมกับชาวเมืองคนอื่นๆ พอได้เห็นครั้งแรก ทั้ง ๒ สามีภรรยาก็เกิดความรู้สึกสนิทหมายใจเหมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุตรของตน ได้เข้าไปถึงพระองค์และแสดงความรู้สึกนั้น พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรด ทั้ง ๒ ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ท่านนกุลบิดาและนกุลมารดานี้ เป็นคู่สามีภรรยาตัวอย่าง ผู้มีความจงรักภักดีต่อกันอย่างบริสุทธิ์และมั่นคงยั่งยืน ตราบเท่าชรา ทั้งยังปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า เคยทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมที่จะทำให้สามีภรรยาครองรักกันยั่งยืนตลอดไปทั้งภพนี้และภพหน้า เมื่อท่านนกุลบิดาเจ็บป่วยออดแอดร่างกายอ่อนแอ ไม่สบายด้วยโรคชรา ท่านได้ฟังพระธรรมเทศนาครั้งหนึ่ง ที่ท่านประทับใจมากคือ พระดำรัสที่แนะนำให้ทำใจว่า “ถึงแม้ร่างกายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วย” ท่านนกุลบิดาได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้สนิทสนมคุ้นเคย (วิสสาสิกะ)
  34. นทีกัสสป : นักบวชชฎิลแห่งกัสสปโคตร น้องชายของอุรุเวลกัสสปะ พี่ชายของคยากัสสปะ ออกบวชตามพี่ชาย พร้อมด้วยชฎิลบริวาร ๓๐๐ คน สำเร็จพระอรหัตด้วยฟังอาทิตตปริยายสูตร เป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก
  35. นานาสังวาส : มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วม (คืออุโบสถและสังฆกรรมเป็นต้น) ที่ต่างกัน, สงฆ์ผู้ไม่ร่วมสังวาส คือไม่ร่วมอุโบสถและสังฆกรรมด้วยกัน เรียกว่าเป็นนานาสังวาสของกันและกัน เหตุที่ทำให้เป็นนานาสังวาสมี ๒ คือ ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสเอง เช่น อยู่ในนิกายหนึ่งไปขอเข้านิกายอื่น หรือแตกจากพวกเพราะเหตุวิวาทาธิกรณ์อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งถูกสงฆ์พร้อมกันยกออกจากสังวาส
  36. นิมิต : 1.เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเข ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ 2.(ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ 3.เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ ๑.บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น ๓.ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา 4.สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง ดู เทวทูต
  37. บริกรรม : 1.(ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จด้วยดี”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว 2.สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มนำลาย หรือนั่งพิง 3.การนวดฟั้นประคบ หรือถูตัว 4.การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ 5.เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า
  38. บริกรรมภาวนา : ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ
  39. บุพกรณ์ : ธุระอันจะพึงทำในเบื้องต้น, งานที่จะต้องกระทำทีแรก, เรื่องที่ควรตระเตรียมให้เสร็จก่อน เช่น บุพกรณ์ของการทำอุโบสถ ได้แก่ เมื่อถึงวันอุโบสถ พระเถระลงอุโบสถก่อน สั่งภิกษุให้ปัดกวาดโรงอุโบสถตามไฟ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ตั้งหรือปูลาดอาสนะไว้; บุพกรณ์แห่งการกรานกฐิน คือ ซักผ้า ๑ กะผ้า ๑ ตัดผ้า ๑ เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว ๑ เย็บเป็นจีวร ๑ ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว ๑ ทำกัปปะคือพินทุ ๑ ดังนี้เป็นต้น
  40. ใบฎีกา : 1.หนังสือนิมนต์พระ ตัวอย่าง “ขออาราธนาพระคุณเจ้า (พร้อมด้วยพระสงฆ์ในวัดนี้อีก......รูป) เจริญพระพุทธมนต์ (หรือสวดมนต์ หรือแสดงพระธรรมเทศนา) ในงาน.....บ้าน เลขที่.......ตำบล.......อำเภอ.......ในวันที่......เดือน.......พ.ศ........เวลา......น.” (หากจะอาราธนาให้รับอาหารบิณฑบาตเช้าหรือเพลหรือมีการตักบาตรใช้ปิ่นโต ก็ให้ระบุไว้ด้วย) 2.ตำแหน่งพระฐานานุกรมรองจากสมุห์ลงมา
  41. ปริกรรมนิมิต : นิมิตแห่งบริกรรม, นิมิตขั้นตะเตรียมหรือเริ่มเจริญสมถกรรมฐาน ได้แก่ สิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกว่าอยู่ในใจเป็นต้น(ข้อ ๑ ในนิมิต ๓)
  42. ปริสวิบัติ : เสียเพราะบริษัท, วิบัติโดยบริษัท, ถึงพร้อมด้วยบริษัท, ความสมบูรณ์ของที่ประชุม คือไม่เป็นปริสวิบัติ (ตัวอย่าง ประชุมภิกษุให้ครบองค์กำหนด เช่น จะทำกฐินกรรม ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป จะให้อุปสมบทในมัธยมประเทศ ต้องมีภิกษุอย่างน้อย ๑๐ รูป เป็นต้น)
  43. ปลิโพธ : เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพระวักพะวนห่วงกังวล, เหตุกังวล, ข้อติดข้อง; ปลิโพธที่ผู้จะเจริญกรรมฐานพึงตัดเสียให้ได้ เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งพร้อมที่จะเจริญกรรมฐานให้ก้าวหน้าไปได้ดี มี ๑๐ อย่าง คือ ๑.อาวาสปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับวัดหรือที่อยู่ ๒.กุลปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับตระกูลญาติหรืออุปัฏฐาก ๓.ลาภปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับลาภ ๔.คณปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับคณะศิษย์หรือหมู่ชนที่ตนต้องรับผิดชอบ ๕.กรรมปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการงาน เช่น การก่อสร้าง ๖.อัทธานปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการเดินทางไกลเนื่องด้วยกิจธุระ ๗.ญาติปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับญาติหรือคนใกล้ชิดที่จะต้องเป็นห่วงซึ่งกำลังเจ็บป่วยเป็นต้น ๘.อาพาธปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับความเจ็บไข้ของตนเอง ๙.คันถปริโพธ ความกังวลเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียน ๑๐.อิทธิปลิโพธ ความกังวลเกี่ยวกับฤทธิ์ของปุถุชนที่จะต้องคอยรักษาไม่ให้เสื่อม (ข้อท้ายนี้เป็นปลิโพธสำหรับผู้จะเจริญวิปัสสนาเท่านั้น)
  44. ปัจฉิมโอวาท : คำสอนครั้งสุดท้าย หมายถึง ปัจฉิมวาจา คือ พระดำรัสสุดท้ายของพระพุทธเจ้าก่อนจะปรินิพพานว่า “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า “สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจง (ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น) ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
  45. ปัญญาสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ และเข้าใจชีวิตนี้ตามความเป็นจริง ที่จะไม่ให้ลุ่มหลงมัวเมา (ข้อ ๔ ในธรรมที่เป็นไปเพื่อสัมปรายิกัตถะ ๔)
  46. ปัณฑุปลาส : ใบไม้เหลือง (ใบไม้แก่); คนเตรียมบวช, คนจะขอบวช
  47. ปุคคลสัมมุขตา : ความเป็นต่อหน้าบุคคล, ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่าคู่วิวาทอยู่พร้อมหน้ากัน
  48. ปุณณชิ : บุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี เป็นสหายของยสกุลบุตร ได้ทราบข่าวยสกุลบุตรออกบวช จึงได้บวชตาม พร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือวิมละ สุพาหุ และควัมปติ ได้เป็นองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวก
  49. ปุพเพกตปุญญตา : ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในก่อน, ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนแล้ว (ข้อ ๔ ในจักร ๔)
  50. ปุราณชฎิล : พระเถระสามพี่น้องพร้อมด้วยบริวาร คือ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป คยากัสสป ซึ่งเคยเป็นชฎิลมาก่อน
  51. [1-50] | 51-100 | 101-115

(0.0314 sec)