Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เทวดา , then เทพดา, เทวดา, เทวตา .

Budhism Thai-Thai Dict : เทวดา, 49 found, display 1-49
  1. เทวดา : หมู่เทพ, ชาวสวรรค์ เป็นคำรวมเรียกชาวสวรรค์ทั้งเพศชายและเพศหญิง
  2. เทวะ : เทวดา, เทพ, เทพเจ้า (ชั้นสวรรค์และชั้นพรหม)
  3. วัตถุเทวดา : เทวดาที่ดิน, พระภูมิ
  4. เทพ : เทพเจ้า, ชาวสรรค์, เทวดา; ในทางพระศาสนา ท่านจัดเป็น ๓ คือ ๑.สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย ๒.อุปปัติเทพ เทวดาโดยกำเนิด = เทวดาในสวรรค์และพรหมทั้งหลาย ๓.วิสุทธิเทพ เทวดาโดยความบริสุทธิ์ = พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย
  5. บวงสรวง : บูชา (สำหรับผีสาง เทวดา)
  6. โยนิ : กำเนิดของสัตว์มี ๔ จำพวก คือ ๑.ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น คน แมว ๒.อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น นก ไก่ ๓.สังเสทชะ เกิดในไคล คือที่ชื้นและสกปรก เช่น หนอนบางอย่าง ๔.โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น เช่น เทวดา สัตว์นรก
  7. อุปาทินนกสังขาร : สังขารที่กรรมครอบครอง พูดเข้าใจกันอย่างง่ายๆ ว่า สังขารที่มีใจครอง เช่น คน สัตว์ เทวดา (ข้อ ๑ ในสังขาร ๒)
  8. เทพบุตร : เทวดาผู้ชาย, ชาวสวรรค์เพศชาย
  9. เทวบุตร : เทวดาผู้ชาย, ชาวสวรรค์เพศชาย
  10. เทเวศน์ : เทวดาผู้ใหญ่, หัวหน้าเทวดา
  11. ภุมมเทวะ : เทวดาผู้อาศัยอยู่บนแผ่นดิน เช่น พระภูมิ เป็นต้น
  12. วิสุทธิเทพ : เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ได้แก่ พระอรหันต์ (ข้อ ๓ ในเทพ ๓)
  13. สมมติเทพ : เทวดาโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์ ได้แก่พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร (ข้อ ๑ ในเทพ ๓)
  14. อุปปัตติเทพ : เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่ พวกเทวดาในกามาพจรสวรรค์และพระพรหมทั้งหลาย (ข้อ ๒ ในเทพ ๓)
  15. จาตุมหาราช : ท้าวมหาราช ๔, เทวดาผู้รักษาโลกใน ๔ ทิศ, ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ คือ ๑.ท้าวธตรฐ จอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ ครองทิศตะวันออก ๒.ท้าววิรุฬหก จอมกุมภัณฑ์ ครองทิศใต้ ๓.ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค ครองทิศตะวันตก ๔.ท้าวกุเวร หรือ เวสสวัณ จอมยักษ์ ครองทิศเหนือ
  16. จุติ : เคลื่อนจากภพหนึ่งไปสู่ภพอื่น, ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)
  17. ชนวสภสูตร : สูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาวรรค สุตตันตปิฎก ว่าด้วยเรื่องที่พระเจ้าพิมพิสารซึ่งสวรรคตไปเกิดเป็นชนวสภยักษ์ มาสำแดงตนแก่พระพุทธเจ้า และพระอานนท์แล้วเล่าเหตุการณ์ที่พวกเทวดามาประชุมในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พากันชื่นชมข่าวดีที่เทวดามีจำนวนเพิ่มขึ้น เพราะคนประพฤติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
  18. ทิพย์ : เป็นของเทวดา, วิเศษ, เลิศกว่าของมนุษย์
  19. เทพธิดา : นางฟ้า, หญิงชาวสรรค์, เทวดาผู้หญิง
  20. เทวตานุสติ : ระลึกถึงเทวดา คือระลึกถึงคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา ตามที่มีอยู่ในตน (ข้อ ๖ ในอนุสติ ๑๐)
  21. เทวตาพลี : ทำบุญอุทิศให้เทวดา (ข้อ ๕ แห่งพลี ๕ ในโภคอาทิยะ ๕)
  22. เทวทูต : ทูตของยมเทพ, สื่อแจ้งข่าวของมฤตยู, สัญญาที่เตือนให้ระลึกถึงคติ ธรรมดาของชีวิตมิให้มีความประมาท จัดเป็น ๓ ก็มี ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย, จัดเป็น ๕ ก็มี ได้แก่ เด็กแรกเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนถูกลงราชทัณฑ์ และคนตาย (เทวทูต ๓ มาในอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, เทวทูต ๕ มาในเทวทูตสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์); ส่วน เทวทูต ๔ ที่เจ้าชายสิทธัตถะพบก่อนบรรพชา คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย สมณะนั้น ๓ อย่างแรก เป็นเทวทูต ส่วนสมณะเรียกรวมเป็นเทวทูตไปด้วยโดยปริยาย เพราะมาในหมวดเดียวกัน แต่ในบาลี ท่านเรียกว่า นิมิต ๔ หาเรียกเทวทูต ๔ ไม่ อรรถกถาบางแห่งพูดแยกว่า พระสิทธัตถะเห็นเทวทูต ๓ และสมณะ (มีอรรถกถาแห่งหนึ่งอธิบายในเชิงว่าอาจเรียกทั้ง ๔ อย่างเป็นเทวทูตได้ โดยความหมายว่า เป็นของที่เทวดานิรมิตไว้ ระหว่างทางเสด็จของพระสิทธัตถะ)
  23. เทวธรรม : ธรรมของเทวดา, ธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา หมายถึงธรรม ๒ อย่าง คือ หิริ ความละอายแก่ใจคือละอายต่อความชั่ว และ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวบาป คือ เกรงกลัวต่อความชั่ว
  24. เทวรูป : รูปเทวดาที่นับถือ ตามลัทธิที่นับถือเทวดา
  25. เทวโลก : โลกของเทวดา, ที่อยู่ของเทวดา ได้แก่ สวรรค์กามาพจร ๖ ชั้น คือ ๑.จาตุมมหาราชิกา ๒.ดาวดึงส์ ๓.ยามา ๔.ดุสิต ๕.นิมมานรดี ๖.ปรนิมมิตวสวัตดี
  26. เทวาธิบาย : ความประสงค์ของเทวดา
  27. เทโวโรหณะ : “การลงจากเทวโลก” หมายถึงการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตำนานเล่าว่าในพรรษาที่ ๗ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับจำพรรษาในดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาพร้อมทั้งหมู่เทพ ณ ที่นั้น เมื่อถึงเวลาออกพรรษาในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับคืนสู่โลกมนุษย์ ณ ประตูเมืองสังกัสสะ โดยมีเทวดาและมหาพรหมทั้งหลายแวดล้อม ลงมาส่งเสด็จ ฝูงชนจำนวนมากมายก็ได้ไปคอยรับเสด็จ กระทำมหาบูชาเป็นการเอิกเกริกมโหฬารและพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุคุณวิเศษจำนวนมาก ชาวพุทธในภายหลังได้ปรารภเหตุการณ์พิเศษครั้งนี้ ถือเป็นกาลกำหนดสำหรับบำเพ็ญการกุศล ทำบุญตักบาตรคราวใหญ่แด่พระสงฆ์ เป็นประเพณีนิยมสืบมา ดังปรากฏในประเทศไทย เรียกกันว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตักบาตรเทโว บางวัดก็จัดพิธีในวันออกพรรษา คือวันมหาปวารณา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดจัดถัดจากนั้น ๑ วัน คือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑
  28. นิมมานรดี : สวรรค์ชั้นที่ ๕ มีท้าวสุนิมมิตเทวราชปกครอง เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใด นิรมตเอาได้
  29. ปฐมสมโพธิกถา : ชื่อคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต เทวดาอัญเชิญให้มาอุบัติในมนุษยโลก แล้วออกบวชตรัสรู้ประกาศพระศาสนา ปรินิพพาน จนถึงแจกพระธาตุ ต่อท้ายด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกยกย่องพระศาสนา และการอันตรธานแห่งพระศาสนาในที่สุด
  30. ปรนิมมิตวสวัตดี : สวรรค์ชั้นท ๖ มีท้าวปรนิมมิตวสวัตดีปกครอง เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ต้องนิรมิตเอง มีเทวดาอื่นนิรมิตให้อีกต่อหนึ่ง
  31. ปิลินทวัจฉะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเกิดในตระกูลพราหมณ์วัจฉโคตร ในเมืองสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า มีศรัทธาเลื่อมใสออกบวชในพระพุทธศาสนา เจริญวิปัสสนาแล้วได้บรรลุอรหัตตผล ต่อมาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางเป็นที่รักของพวกเทวดา
  32. พลี : ทางพราหมณ์ คือ บวงสรวง, ทางพุทธ คือสละเพื่อช่วยหรือบูชา มี ๕ คือ ๑.ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ ๒.อติถิพลี สงเคราะห์แขก ๓.ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ๔.ราชพลี ถวายเป็นหลวง เช่น เสียภาษีอากร ๕.เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา
  33. พุทธกิจ : กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญ, การงานที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำพุทธกิจประจำวัน ๕ พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเป็นประจำในแต่ละวัน มี ๕ อย่าง คือ ๑.ปุพฺพณฺเห ปิณฺฑปาตญฺจ เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต ๒.สายณฺเห ธมฺมเทสนํ เวลาเย็นทรงแสดงธรรม ๓.ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ ๔.อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหนํ เที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา ๕.ปจฺจุสฺเสว คเต กาเล ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ จวนสว่าง ทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถและที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่ (สรุปท้ายว่า เอเต ปญฺจวิเธ กิจฺเจ วิโสเธติ มุนิปุงฺคโว พระพุทธเจ้าองค์พระมุนีผู้ประเสริฐทรงยังกิจ ๕ ประการนี้ให้หมดจด)
  34. พุทธคุณ : คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ ๑.อรหํ เป็นพระอรหันต์ ๒.สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ ๓.วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ๔.สุคโต เสด็จไปดีแล้ว ๕.โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก ๖.อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า ๗.สตฺถาเทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๘.พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว ๙.ภควา เป็นผู้มีโชค พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อ มี ๒ คือ ๑.พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา ๒.พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา หรือตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ ๑.พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา ๒.พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์ ๓.พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา
  35. เพลิงทิพย์ : ไฟเทวดา, ไฟที่เป็นของเทวดา, เพลิงคราวถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
  36. วิกุพพนฤทธิ์ : ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลง คือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)
  37. วิกุพพนาอิทธิ : ฤทธิ์คือการแผลง, ฤทธิ์บิดผัน, ฤทธิ์ผันแผลง คือ เปลี่ยนจากรูปร่างปกติ แปลงเป็นเด็ก เป็นครุฑ เป็นเทวดา เป็นเสือ เป็นงู เป็นต้น (ต้องห้ามทางพระวินัย)
  38. วิมาน : ที่อยู่หรือที่ประทับของเทวดา
  39. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ : ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, ทรงเป็นครูของบุคคลทั้งชั้นสูงและชั้นต่ำ, ทรงประกอบด้วยคุณสมบัติของครูและทรงทำหน้าที่ของครูเป็นอย่างดี คือทรงพร่ำสอนด้วยมหากรุณาหวังให้ผู้อื่นได้ความรู้อย่างแท้จริง, ทรงสอนมุ่งความจริงและประโยชน์เป็นที่ตั้ง ทรงแนะนำเวไนยสัตว์ด้วยประโยชน์ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถะ, ทรงรู้จริงและปฏิบัติด้วยพระองค์เองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่นให้รู้และปฏิบัติตาม ทรงทำกับตรัสเหมือนกัน ไม่ใช่ตรัสสอนอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง, ทรงฉลาดในวิธีสอน, และทรงเป็นผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน (ข้อ ๗ ในพุทธคุณ ๙)
  40. สวรรค์ : แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วยกามคุณทั้ง ๕, โลกของเทวดา ตามปกติหมายถึงกามาพจรสวรรค์ (สวรรค์ที่ยังเกี่ยวข้องกาม) ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี
  41. สังเวย : บวงสรวง, เซ่นสรวง (ใช้กับผีและเทวดา)
  42. สุรามฤต : น้ำที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตายของเทวดา, น้ำอมฤตของเทวดา
  43. อนุสติ : ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑) พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๒) ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ๓) สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ๔) สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๕) จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว ๖) เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา ๗) มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรม ๘) กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม ๙) อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ๑๐) อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน
  44. อมร : ผู้ไม่ตาย เป็นคำเรียกเทวดาผู้ได้ดื่มน้ำอมฤต
  45. อมระ : ผู้ไม่ตาย เป็นคำเรียกเทวดาผู้ได้ดื่มน้ำอมฤต
  46. อมฤต : เป็นชื่อน้ำทิพย์ที่ทำผู้ดื่มให้ไม่ตาย ตามเรื่องว่า เทวดาทั้งหลายคิดหาของเครื่องกันตาย พากันไปถามพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้ารับสั่งให้กวนมหาสมุทร เทวดาทั้งหลายก็ทำตามโดยวิธีใช้ภูเขารองข้างล่างลูกหนึ่ง วางข้างบนลูกหนึ่ง ที่กลางมหาสมุทรลักษณะคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง เอานาคพันเข้าที่ภูเขาลูกบนแล้วช่วยกันชักสองข้าง อาศัยความร้อนที่เกิดจากความหมุนเวียนเบียดเสียดแห่งภูเขา ต้นไม้ทั้งหลายที่เป็นยาบนภูเขา ได้คายรสลงไปในมหาสมุทรจนข้นเป็นปลักแล้ว เกิดเป็นน้ำทิพย์ขึ้นในท่ามกลางมหาสมุทร เรียกว่า น้ำอมฤตบ้าง น้ำสุรามฤตบ้าง
  47. อสูร : สัตว์กึ่งเทพหรือเทพชั้นต่ำพวกหนึ่ง ตำนานกล่าวว่า เดิมเป็นเทวดาเก่า (บุพเทวา) เป็นเจ้าถิ่นครอบครองดาวดึงสเทวโลก ต่อมาถูกเทวดาพวกใหม่ มีท้าวสักกะเป็นหัวหน้าแย่งถิ่นไป โดยถูกเทพพวกใหม่นั้นจับเหวี่ยงลงมาในระหว่างพิธีเลี้ยงเมื่อพวกตนดื่มสุราจนเมามาย ได้ชื่อใหม่ว่าอสูร เพราะเมื่อฟื้นคืนสติขึ้นระหว่างทางที่ตกจากดาวดึงส์นั้น ได้กล่าวกันว่า “พวกเราไม่ดื่มสุราแล้ว” (อสูรจึงแปลว่าผู้ไม่ดืมสุรา) พวกอสูรได้ครองพิภพใหม่ที่เชิงเขาสิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ และมีสภาพความเป็นอยู่ มีอายุ วรรณะ ยศ อิสริยสมบัติ คล้ายกันกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวกอสูรเป็นศัตรูโดยตรงกับเทวดา และมีเรื่องราวขัดแย้งทำสงครามกันบ่อยๆ พวกอสูรออกจะเจ้าโทสะ จึงมักถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นพวกมีนิสัยพาลหรือเป็นฝ่ายผิด
  48. อาลกมันทา : ราชธานีซึ่งเป็นทิพยนคร พวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
  49. โอปปาติกะ : สัตว์เกิดผุดขึ้น คือ เกิดผุดขึ้นมาและโตเต็มตัวในทันใด ตายก็ไม่ต้องมีเชื้อหรือซากปรากฏ เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น (ข้อ ๔ ในโยนิ ๔); บาลีว่า รวมทั้งมนุษย์บางพวก
  50. [1-49]

(0.0218 sec)