Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นสุข .

Budhism Thai-Thai Dict : เป็นสุข, 11 found, display 1-11
  1. อธิจิตตสิกขา : การศึกษาในอธิจิตต์, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิต เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมจิต เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมจิตในให้เข้มแข็งมั่นคงมีคุณธรรม เช่น ขันติ เมตตา กรุณา สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใส เหมาะแก่การใช้ความคิดพิจารณา เป็นฐานแห่งการเจริญปัญญา (ข้อ ๒ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆ ว่า สมาธิ
  2. กรวดน้ำ : ตั้งใจอุทิศบุญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พร้อมไปกับหลั่งรินน้ำเป็นเครื่องหมาย และเป็นเครื่องรวมกระแสจิตที่ตั้งใจอุทิศนั้นให้แน่วแน่; เริ่มรินน้ำเมื่อพระองค์หัวหน้าเริ่มสวดยถา รินน้ำหมดพร้อมกับพระหัวหน้าสวดยถาจบ และพระทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน จากนั้นวางที่กรวดน้ำลงแล้วประนมมือรับพรต่อไป; คำกรวดน้ำอย่างสั้นว่า อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่....(ออกชื่อผู้ล่วงลับ) และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิด จะต่ออีกก็ได้ว่า สุขิตา โหนตุ ญาตโย ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด - to pour the water of dedication (to transfer merit to other beings)
  3. จักรพรรดิ : พระราชาธิราช หมายถึงพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ มีราชอาณาเขตปกครองขว้างขวางมาก บ้านเมืองในปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราบข้าศึกศตรูด้วยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญาและศัสตรา มีรัตนะ ๗ ประการประจำพระองค์ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว จักรแก้ว แก้วมณี
  4. แผ่เมตตา : ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข; คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ แปลว่า ขอสัตว์ทั้งหลาย, (ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน) หมดทั้งสิ้น, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย, (จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด) อย่าได้มีทุกข์กายทุกข์ใจเลย, จงมีความสุขกายสุขใจ, รักษาตน (ให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น) เถิด.ข้อความในวงเล็บ เป็นส่วนที่เพิ่มเข้ามาในคำแปลเป็นภาษาไทย
  5. พิปลาส : กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้; ก.วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ ๑.วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส ๒.วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า จิตตวิปลาส ๓.วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส ข.วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ ๑.วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ๒.วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓.วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน ๔.วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม
  6. โภคอาทิยะ : ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์มี ๕ คือ ๑.เลี้ยงตัว มารดาบิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข ๒.เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข ๓.บำบัดป้องกันภยันตราย ๔.ทำ พลี ๕ อย่าง ๕.ทำทานในสมณพราหมณ์
  7. เมตตา : ความรัก, ความปรารถนาให้เขามีความสุข, แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า (ข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๒ ในอารักขกรรมฐาน ๔) ดู แผ่เมตตา
  8. วปลาส : กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้; ก.วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ ๑.วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า “สัญญาวิปลาส” ๒.วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า “จิตตวิปลาส” ๓.วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า “ทิฏฐิวิปลาส” ข.วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ ๑.วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ๒.วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๓.วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน ๔.วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม
  9. สัปปุริสบัญญัติ : ข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้, บัญญัติของคนดี มี ๓ คือ ๑.ทาน ปันสละของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ๒.ปัพพัชชา ถือบวช เว้นจากการเบียดเบียนกัน ๓.มาตาปิตุอุปัฏฐาน บำรุงมารดาบิดาของตนให้เป็นสุข
  10. อปริหานิยธรรม : ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม, ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหาริยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง ดังนี้ ๑) หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒) เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ๓) ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔) ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ๕) ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ๖) ยินดีในเสนาสนะป่า ๗) ตั้งในอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
  11. อารักขกัมมัฏฐาน : กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาตน, กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาผู้ปฏิบัติให้สงบระงับ ซึ่งควรเจริญเป็นนิตย์ เป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงไว้ มี ๔ อย่างคือ ๑) พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ที่มีในพระองค์ และทรงเกื้อกูลแก่ผู้อื่น ๒) เมตตา แผ่ไมตรีจิต คิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า ๓) อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม ๔) มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตนเป็นธรรมดา

(0.0167 sec)