Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เผยอ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เผยอ, 22 found, display 1-22
  1. เผยอ : [ผะเหฺยอ] ก. เปิดน้อย ๆ เช่น เผยอปาก เผยอฝาหม้อไว้ ฝากาเผยอ. ว. อวดดี, ทำไปโดยไม่รู้จักประมาณตน, เช่น เผยอทํา เผยอพูด.
  2. ผย่ำเผยอ : [ผะหฺยํ่าผะเหฺยอ] ก. ปํ้า ๆ เป๋อ ๆ เช่น ทําหาวเรอพูดผยํ่าเผยอ. (พงศ. เลขา).
  3. กระดก ๑ : ก. ทําให้ปลายข้างหนึ่งยกสูงขึ้น, เผยอขึ้นข้างหนึ่ง.
  4. กระเตื้อง : ก. เบาขึ้น, ทุเลาขึ้น, เช่น อาการไข้กระเตื้องขึ้น, เจริญขึ้น เช่น เดี๋ยวนี้ฐานะเขาค่อยกระเตื้องขึ้น; (โบ) พยุงยกให้เผยอขึ้น.
  5. กระหมุบกระหมิบ : ก. หมุบหมิบ, อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและ หุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง, เช่น ทำปากกระหมุบกระหมิบ สวดมนต์กระหมุบกระหมิบ. (แผลงมาจาก ขมุบขมิบ).
  6. ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
  7. ขมุบขมิบ : [ขะหฺมุบขะหฺมิบ] ก. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากขมุบขมิบ สวดมนต์ ขมุบขมิบ, หมุบหมิบ ก็ว่า.
  8. เขยิน : [ขะเหฺยิน] ก. ยื่นออกมา เช่น ฟันเขยิน, เผยอขึ้น เช่น ไม้เขยิน ตะปูเขยิน.
  9. คัด ๑ : ก. เลือก, แยกสิ่งที่รวมกันอยู่, เช่น คัดออก คัดเอาไว้, งัดให้เผยอหรือ เคลื่อนที่ เช่น คัดไม้ซุง, ใช้พายหรือแจวงัดนํ้าออกจากตัว, ตรงข้ามกับ วาดเรือ; ลอกข้อความหรือลวดลายออกมาจากต้นฉบับ เช่น เอาหนังสือนี้ ไปคัด. (อะหม คัด ว่า แยก, ทําให้แยก).
  10. งัด : ก. ทําให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น งัดตะปู งัดซุง; นํา ออกมาจากที่เก็บ เช่น งัดเอาเครื่องลายครามมาอวด, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งัดเอาเรื่องเก่ามาพูด.
  11. แงะ : ก. งัดให้เผยอขึ้น.
  12. บาน ๒ : น. ของที่เป็นแผ่น ๆ บางอย่าง เช่น บานประตู บานหน้าต่าง บาน กระจกเงา; ลักษณนามใช้เรียกของเช่นนั้น เช่น กระจกบานหนึ่ง หน้าต่าง ๒ บาน. ก. เผยออก, คลี่ออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้ บาน หอบซี่โครงบาน; กระจาย เช่น เรือแล่นจนนํ้าบาน. ว. ที่ ผายออก เช่น ชามปากบาน กางเกงขาบาน กระโปรงบาน; ปลาบปลื้ม, แช่มชื่น, เบิกบาน, เช่น ใจบาน หน้าบาน; (ปาก) มาก เช่น เสียไปบาน.
  13. ปิด : ก. กันหรือกั้นไว้ไม่ให้เผยออก เช่น ปิดฝาหม้อ, กันหรือกั้นไว้ให้ เข้าออกไม่ได้ เช่น ปิดถนน; ติด เช่น ปิดประกาศ ปิดทอง; โดย ปริยายหมายความว่า หยุด เช่น โรงเรียนปิด, ทําให้หยุด เช่น ปิดพัดลม ปิดวิทยุ, ไม่เปิดเผย เช่น ปิดวิชา ปิดความ.
  14. เปิด : ก. ทําให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์ กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด; ทําพิธี เป็นประเดิมเพื่อดําเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม; (ปาก) หนี เช่น ผู้ร้ายเปิด ไปไกลแล้ว.
  15. เปิดเผย : ก. ทำสิ่งที่ปิดบังอยู่ให้เผยออก, เผยให้รู้, เช่น เปิดเผย ความจริง เปิดเผยความลับ. ว. ตรงไปตรงมา, ไม่ปิดบัง, เช่น เป็นคนเปิดเผย.
  16. โป๊ : ก. ส่งเสริมสิ่งที่บกพร่อง เช่น ยาโป๊, ทําสิ่งยังบกพร่องอยู่ให้สมบูรณ์ เช่น เอาสีโป๊ตรงที่เป็นช่องเป็นรู ก่อนทาสีเอาปูนโป๊รอยที่ชํารุด. (จ. โป้ว ว่า ปะชุนเสื้อผ้า, ซ่อมแซม, บำรุงร่างกาย). (ปาก) ว. เปลือย หรือค่อนข้างเปลือย เช่น รูปโป๊, มีเจตนาเปิดเผยอวัยวะบางส่วนที่ ควรปกปิด เช่น แต่งตัวโป๊.
  17. มุบ ๆ : ว. อาการของปากที่เผยอขึ้นลงอย่างเร็ว, อาการที่คนไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร เช่น คนแก่เคี้ยวข้าวทำปากมุบ ๆ.
  18. แยกเขี้ยว : ก. เผยอริมฝีปากให้เห็นเขี้ยวด้วยอาการโกรธหรือขู่ เช่น เสือ แยกเขี้ยว, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงพูดด้วยความโกรธหรือขู่.
  19. แย้ม : ก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.
  20. หงก ๆ : ว. อาการที่หัวหงุบลงแล้วเผยอขึ้นเร็ว ๆ, อาการที่เดินโดยทําหัวเช่นนั้น เรียกว่า เดินหงก ๆ.
  21. หมุบหมิบ : ว. อาการที่ริมฝีปากเผยอขึ้นและหุบลงโดยเร็ว, อาการของ ปากที่พูดอย่างไม่ออกเสียง เช่น ทำปากหมุบหมิบ สวดมนต์หมุบหมิบ, ขมุบขมิบ ก็ว่า.
  22. อมยิ้ม : ว. ยิ้มน้อย ๆ โดยไม่เผยอริมฝีปาก. น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยน้ำตาล มีสีต่าง ๆ เป็นรูปกลม ๆ หรือแบน ๆ เสียบไม้.
  23. [1-22]

(0.0113 sec)