Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เพลา , then พลา, เพล, เพลา, เวลา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เพลา, 866 found, display 1-50
  1. เพลา ๔, เพลา : [เพฺลา] ว. เบาลง, เบาพอประมาณ, เช่น เพลาไม้เพลามือ เพลา ๆ หน่อย.
  2. เพลา : [เพลา] น. กาล, คราว. (ป. เวลา).
  3. เพลา : [เพฺลา] น. ชื่อกระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอ ดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นเช่นใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ เรียกว่า กระดาษเพลา.
  4. เพลา : [เพฺลา] น. แกนสําหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน, โดยปริยาย หมายถึงแกนสําหรับให้ล้อหรือใบจักรหมุน; ไม้สําหรับขึงใบเรือ.
  5. เพลา : [เพฺลา] น. ตัก, ช่วงขาตั้งแต่เข่าถึงโคนขา, ราชาศัพท์ว่า พระเพลา. (ข. เภฺลา).
  6. สนับเพลา : [เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้ว นุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.
  7. กระบอกเพลา : น. ไม้แข็งเช่นเต็งรังทําเป็นปลอกตอกอัดไว้ใน รูดุมเกวียน สําหรับสอดเพลาเข้าในรูนั้นป้องกันมิให้รูดุมคราก.
  8. เพล : [เพน] น. เวลาพระฉันกลางวัน คือ เวลาระหว่าง ๑๑ นาฬิกาถึงเที่ยง เรียกว่า เวลาเพล. (ป., ส. เวลา ว่า กาล).
  9. กระดาษเพลา : [-เพฺลา] น. กระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอดำหรือใช้ประโยชน์ อย่างอื่น เช่น ใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ.
  10. เภสัชเพลา : [เพสัดเพ–] น. หมากพลูบุหรี่ที่ถวายพระ.
  11. เวลา : สักครู่. (ป., ส.).
  12. ธุวยัษฎี : น. เพลา (หรือเส้น) แห่งขั้วโลกทั้ง ๒. (ส. ธฺรุวยษฺฏี).
  13. กระโปก ๒ : น. เครื่องเกวียนสําหรับยึดเพลา ติดอยู่กับตัวทูบ.
  14. กระโปรง : [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์ หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าว เป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.
  15. กระพี้เขาควาย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.
  16. กะก่อง : (กลอน) ว. งดงาม เช่น คางเพลาคือกลวิมลกัณฐกะก่องคือแสงสรวล. (สมุทรโฆษ).
  17. กัณฐกะ : [-ถะกะ] น. เครื่องประดับคอ เช่น คางเพลาคือ กลวิมลกัณ- ฐกก่องคือแสงสรวล. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  18. ข้อเหวี่ยง : น. ส่วนที่ต่อเพลา โดยมากมีลักษณะงอ สำหรับรับกำลังดัน หรือกำลังฉุดให้เพลาหมุนรอบ ๆ, ภาษาปากว่า ข้อเสือ. (อ. crank).
  19. จิงโจ้ ๓ : น. เครื่องป้องกันใบจักรเรือไม่ให้สวะเข้าไปปะกันกระทบ และกัน ไม่ให้เพลาแกว่ง.
  20. เซา : ก. หยุดชะงัก, หย่อนลงกว่าเดิม, เพลาลง. ว. ง่วงงุน, เหงาหงอย.
  21. ดุม : น. ส่วนกลางของล้อเกวียนหรือล้อรถที่มีรูสําหรับสอดเพลา; เครื่องกลัด ส่วนต่าง ๆ ของเสื้อผ้าไม่ให้แยกออกจากกัน ทําเป็นรูปต่าง ๆ มักมีรังดุม สําหรับขัดหรือบางทีก็ติดเป็นเครื่องประดับ, กระดุม ลูกกระดุม หรือ ลูกดุม ก็เรียก.
  22. ตะหลุง : น. ไม้แก่นเจาะเป็นรูสําหรับฝังหัวดุมท้ายดุมสอดเพลาเพื่อไม่ให้เพลาแกว่ง.
  23. แบรก : [บะแหฺรก] (กลอน) น. แปรก, เครื่องเกวียนหรือรถชนิดหนึ่ง สําหรับประกบหัวเพลากับคานกันลูกล้อไม่ให้เลื่อนหลุด.
  24. ใบพัด : น. วัตถุที่มีลักษณะแบนมีรูสําหรับใส่แกนหรือเพลาให้ หมุนได้ สําหรับพัดลมพัดนํ้า เพื่อขับยานมีเครื่องบินและเรือ เป็นต้น ให้ เคลื่อนที่หรือเพื่อให้เกิดความเย็นเป็นต้น เช่น ใบพัดเครื่องบิน ใบพัดพัดลม ใบพัดสีลม.
  25. แปรก, แปรกบัง : [ปะแหฺรก, ปะแหฺรก-] น. ไม้ยาวสำหรับประกับหัวเพลาทั้ง ๒ ข้าง ของเกวียนหรือราชรถ กันไม่ให้ลูกล้อเลื่อนหลุด โดยมีไม้ขวาง ทางหรือแปรกขวางทางยึดหัวท้ายทั้ง ๒ ด้าน.
  26. โป๊ะจ้าย : น. เรือลําเลียงหรือบรรทุกของชนิดหนึ่ง เป็นเรือขนาดใหญ่ ต่อ อย่างแบบตะวันตก แต่มีเสาเพลาใบเป็นอย่างสําเภา, เรือโป๊ะ ก็เรียก.
  27. เรือโป๊ะจ้าย : น. เรือลำเลียงหรือบรรทุกของชนิดหนึ่ง เป็นเรือขนาดใหญ่ ต่ออย่างแบบตะวันตก แต่มีเสาเพลาใบเป็นอย่างสำเภา, เรือโป๊ะ ก็เรียก.
  28. ล้อเลื่อน : น. คํารวมเรียกรถต่าง ๆ; (กฎ) ยานพาหนะอันประกอบ ด้วยเพลาและล้อซึ่งเคลื่อนไปด้วยกําลังคนหรือสัตว์ เช่น รถ เกวียน.
  29. ลูกปืน : น. ลูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ยัดใส่ในลํากล้องปืนแล้วยิง, กระสุนที่บรรจุในลํากล้องปืนสําหรับยิง ประกอบด้วยปลอกโลหะ ตรงปลายด้านหนึ่งมีหัวกระสุนโลหะ ถ้าเป็นปืนลูกซอง ปลอกทํา ด้วยกระดาษแข็ง ไม่มีหัวกระสุน แต่มีลูกปรายหลายลูกอยู่ภายใน ทั้ง ๒ ชนิดมีดินปืนอยู่ตรงกลางและมีเชื้อปะทุอยู่ก้นปลอก, กระสุน ปืน; ลูกเหล็กที่มีลักษณะกลม ทรงกระบอก หรือทรงกรวย ใส่ใน ตลับรองเพลาเครื่องจักรเป็นต้น เพื่อให้หมุนหรือเคลื่อนไปได้คล่อง.
  30. เลา ๒ : น. ไม้ลองในหรือกระบอกสำหรับสอดเพลาในดุมเกวียน.
  31. วงแหวน : [แหฺวน] น. โลหะหรือแผ่นหนังเป็นต้นที่ทําเป็นรูป แหวนสําหรับรองอย่างที่หัวสลักเกลียวหรือที่เพลา เพื่อกันสึกหรอ หรือเพื่อให้กระชับแน่น, มักเรียกว่า แหวน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่ง อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
  32. สอด : ก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอด จดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับ เพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลัง พูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
  33. หางปลา : น. ชื่อพัดชนิดหนึ่งที่ปิดด้วยกระดาษเป็นต้นลงบนโครงพัด รูปคล้ายหางปลาช่อนที่แผ่ออก เรียกว่า พัดหางปลา; ชื่อพลั่วชนิดหนึ่ง ปลายบากเข้าเป็นรูปคล้ายหางปลาทู ใช้ขุดดิน เรียกว่า พลั่วหางปลา; เครื่องหมายสัญญาณให้รถไฟแล่นเข้าออกได้; โลหะลักษณะแบน สําหรับเหนี่ยวเพลาล้อหลังรถจักรยาน เพื่อให้โซ่ตึง; ชื่อชายปั้นลม แบบหนึ่ง ปลายตอนล่างผายออกคล้ายหางปลาที่ตัดตรง; ตัวไม้สำหรับ ช่วยยึดตัวไม้ส่วนโครงหลังคาเรือนบางตัวให้มั่นคง.
  34. อณิ : น. ลิ่ม, สลัก, ลิ่มที่สลักปลายเพลาไม่ให้ลูกล้อหลุด; ขอบ, ที่สุด. (ป., ส. อาณิ).
  35. อักขะ ๑ : [ขะ] น. เพลา, เพลาเกวียนหรือรถ; เกวียน; กระดูกไหปลาร้า. (ป.; ส. อกฺษ).
  36. อักษะ : น. เพลา, แกน. (ส.); เรียกกลุ่มประเทศอันประกอบด้วยเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ที่รวมเป็นแกนร่วมรบกับกลุ่มประเทศฝ่าย สัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ฝ่ายอักษะ.
  37. กลองเพล : [-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณ บอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
  38. น้องเพล : น. เรียกเวลาก่อนเพล ระหว่าง ๑๐ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา.
  39. กินเวลา : ก. เปลืองเวลา, ใช้เวลามาก.
  40. ขณะ : [ขะหนะ] น. ครู่, ครั้ง, คราว, เวลา, สมัย. (ป.; ส. กษณ).
  41. แข่งกับเวลา : (สำ) ก. ทำอย่างรวดเร็ว เช่น ทำงานแข่งกับเวลา.
  42. ค่าล่วงเวลา : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทน การทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน.
  43. เงื่อนเวลา : (กฎ) น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือ สิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
  44. เงื่อนเวลาเริ่มต้น : (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
  45. เงื่อนเวลาสิ้นสุด : (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
  46. จับเวลา : ก. ดูเวลาที่ใช้ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นในการแข่งขันกีฬา, ดูเวลาให้ตรงตามที่กําหนด.
  47. พล่า : [พฺล่า] น. เครื่องกับข้าวชนิดหนึ่ง คล้ายยํา มักใช้เนื้อดิบ ทำให้สุก ด้วยของเปรี้ยวเช่นมะนาว.
  48. ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
  49. ระเบิดเวลา : น. ลูกระเบิดที่มีอุปกรณ์ตั้งกําหนดเวลาให้ระเบิด.
  50. ลงเวลา : ก. บันทึกเวลาที่มาทำงานและกลับบ้าน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-866

(0.0758 sec)