Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เริ่ม , then รม, เริ่ม .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เริ่ม, 309 found, display 1-50
  1. เริ่ม : ก. ตั้งต้นมี เป็น หรือลงมือกระทํา.
  2. เริ่มต้น : ก. ตั้งต้น, ขึ้นต้น, เช่น เขาเริ่มต้นถักเสื้อตัวใหม่แล้ว ครูเริ่มต้น แต่งคำประพันธ์.
  3. เริ่มแรก : ว. แรกเกิดขึ้น, ตั้งแต่ต้น, เช่น งานเริ่มแรกของเขาคือรับราชการ เริ่มแรกที่สร้างหมู่บ้านยังไม่มีวัด, แรกเริ่ม ก็ว่า.
  4. กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
  5. ก่อน : ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน.
  6. ชัก ๑ : ก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้น เคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้า ชักออก; นํา เช่น ชักนํ้าเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน; นําเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชัก ค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกําแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.
  7. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  8. ถอน : ก. ฉุดขึ้น, ดึงขึ้น, เช่น ถอนฟัน ถอนเสา ถอนหญ้า; บอกเลิก เช่น ถอนประกัน ถอนฟ้อง ถอนหมั้น; เอาตัวออกจากพันธะ เช่น ถอนตัว; ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ถอนฉุน.
  9. รม : ก. อบด้วยควันหรือไอไฟ เช่น ใช้ควันรมปลากะพงให้หอม ใช้ควันอ้อย รมเป็ดให้หอม รมผึ้งให้หนีหรือให้เมา, ทำให้ควันไฟหรือไอไฟเป็นต้น เกาะติดอยู่ เช่น รมบาตร รมปลาย่างให้แห้ง.
  10. เงื่อนเวลาเริ่มต้น : (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
  11. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  12. เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  13. จับ : ก. อาการที่ใช้มือแตะต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดจนกําไว้ยึดไว้; เกาะ เช่น นกจับคอน; ติด เช่น เขม่าจับก้นหม้อ; กินหรือกลืน ในความว่า คราส จับดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์; เริ่ม เช่น จับเรื่องตั้งแต่ตอนนั้นไป; เกาะ กุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มี อํานาจตามกฎหมาย, จับกุม ก็ว่า; กิริยาที่ทําขนมจีนให้เป็นหัว ๆ เรียกว่า จับขนมจีน, ลักษณนามของขนมจีนว่า จับ หรือ หัว เช่น ขนมจีน ๕ จับ หรือ ขนมจีน ๕ หัว.
  14. แรก : ว. ก่อนเพื่อน, ก่อนผู้อื่นหรือสิ่งอื่นทั้งหมด, เช่น ครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ มาถึงเป็นคนแรก ลูกคนแรก วันแรกของเดือน, เริ่ม เช่น แรกนา คือ เริ่มลงมือทำนา แรกรุ่น คือ เริ่มย่างเข้าสู่วัยรุ่น, หัวที เช่น แรกเกิด แรกพบ แรกเห็น, เดิมที เช่น แต่แรกเริ่ม, เพิ่งมีเป็นครั้งแรก เช่น มะม่วงแรกออกผล. น. ต้น, เดิมที.
  15. ไร ๆ : ว. อาการที่มองเห็นอยู่ไกลลิบ ๆ ไม่ชัด เช่น เห็นทิวไม้อยู่ไร ๆ; เริ่ม นึกออกได้เล็กน้อย เช่น เรื่องที่มาปรึกษานึกเห็นทางออกได้ไร ๆ, รำไร ก็ว่า.
  16. สัปดาห์, สัปดาหะ : [สับดา, สับปะดา, สับดาหะ] น. รอบ ๗ วัน เริ่ม ตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์, ระยะ ๗ วัน เช่น สัปดาห์แห่งการส่งเสริม พระพุทธศาสนา สัปดาห์แห่งการเขียนจดหมาย. (ส. สปฺตาห).
  17. ปรารมภ์ : [ปฺรารม] ก. เริ่มแรก; วิตก, รําพึง, ครุ่นคิด. (ส. ปฺรารมฺภ ว่า เริ่มแรก, เริ่มต้น).
  18. กรกฎาคม : [กะระกะ-, กะรักกะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน. (ส. กรฺกฏ = ปู + อาคม = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ); (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตาม สุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
  19. กรมธรรม์ประกันภัย : (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของ ผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของ ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).
  20. กระเตาะกระแตะ : ว. อาการที่เด็กเริ่มสอนเดิน เรียกว่า เดินกระเตาะกระแตะ, เตาะแตะ หรือ เตาะ ๆ แตะ ๆ ก็ว่า; ป้อแป้, ไม่แข็งแรง, มักใช้แก่คนสูงอายุ เช่น คุณทวดเดินกระเตาะกระแตะ.
  21. กระอ้อกระแอ้ : ว. อ้อแอ้, อาการออกเสียงของเด็กที่เริ่มหัดพูด, อาการที่พูดไม่ชัดอย่างคนเมา.
  22. กลละ : [กะละละ] (แบบ) น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา เช่น ผู้หญิงอันมีครรภ์ด้วยชลามพุชโยนิ เมื่อแรกก่อเป็นนั้น น้อยนักหนา เรียกชื่อว่า กลละหัวปีมีเท่านี้. (ไตรภูมิ). (ป., ส.).
  23. กลียุคศักราช : น. ศักราชที่เริ่มตั้งก่อนพุทธศักราช ๒๕๕๘ ปี (กลียุคศักราชลบด้วย ๒๕๕๘ เท่ากับพุทธศักราช).
  24. ก่อฤกษ์ : ก. ทําพิธีเริ่มก่อสร้าง เช่น วางอิฐวางหิน.
  25. ก่อแล้วต้องสาน : (สํา) ก. เริ่มอะไรแล้วต้องทําต่อให้เสร็จ.
  26. ก่อหวอด : ก. เริ่มจับกลุ่มเพื่อทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมี เนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ. (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน). ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. (ไทลื้อ ก่อ ว่า งอ). ว. แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ.
  27. ก่อหวอด : ก. เริ่มจับกลุ่มเพื่อทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  28. กะติ๊กริก : ว. เริ่มมีเนื้อมีหนังขึ้น (มักใช้แก่เด็ก). ก. จริตจะก้าน, ระริก.
  29. กันยายน : น. ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. กนฺยา = นางงาม, นางสาวน้อย + อายน = มา = เดือนที่อาทิตย์ มาสู่ราศีกันย์).
  30. กุมภาพันธ์ : น. ชื่อเดือนที่ ๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มต้นด้วยเดือนมกราคม มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๑ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วย เดือนเมษายน. (ป. กุมฺภ = หม้อ + อาพนฺธ = ผูก = เดือนที่อาทิตย์ มาสู่ราศีกุมภ์).
  31. ขบเผาะ : ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิง ที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ.
  32. เขย่งก้าวกระโดด : น. การแข่งกรีฑาชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันวิ่งจากต้นทาง ทีละคนจนถึงเส้นเริ่มที่มีกระดานรองรับ เขย่งเท้าข้างหนึ่งพร้อมกับ ยันตัวขึ้นแล้วก้าวด้วยเท้าอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้นจึงกระโดด ใคร กระโดดได้ไกลที่สุดเป็นผู้ชนะ.
  33. เข้าไต้เข้าไฟ : ว. เริ่มมืดต้องใช้แสงไฟ, พลบ, ใช้ว่า เวลาเข้าไต้เข้าไฟ.
  34. เข้าพรรษา : น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจําพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา. ก. เข้าอยู่ประจําที่ ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์).
  35. ไขลาน : (ปาก) ก. สั่ง, บอกให้ทํา, เช่น ต้องไขลานกันอยู่เรื่อย ไม่อย่างนั้น ไม่ทํา; หมดกําลัง, หมดแรง, เช่น พอขึ้นชกยกที่ ๕ นักมวยก็เริ่มไขลานแล้ว.
  36. ไขแสง : ก. เริ่มส่องแสง เช่น พระอาทิตย์ไขแสง.
  37. คดีหมายเลขดำ : (กฎ) น. คดีที่ฟ้องร้องต่อศาลและศาลได้ลงทะเบียน คดีในสารบบความของศาล โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียง เป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยโดยเริ่ม ตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปี ก่อนศาลมีคำ พิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว เรียกย่อ ๆ ว่า ``คดีดำ'' เช่น คดีหมายเลขดำที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีดำที่ ๑/๒๕๔๐.
  38. คดีหมายเลขแดง : (กฎ) น. คดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัย ชี้ขาดคดี หรือมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หรือมีคำสั่ง จำหน่ายคดีชั่วคราวแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่เลข ๑ ทับเลขปี พ.ศ. เป็นลำดับ ไปจนสิ้นปี เรียกย่อ ๆ ว่า ``คดีแดง'' เช่น คดีหมายเลขแดงที่ ๑/๒๕๔๐ หรือคดีแดงที่ ๑/๒๕๔๐.
  39. คริสต์ศักราช : น. ปีนับตั้งแต่วันสมภพของพระเยซู เริ่มตั้งภายหลัง พุทธศักราช ๕๔๓ ปี (พุทธศักราชลบด้วย ๕๔๓ เท่ากับคริสต์ศักราช).
  40. คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  41. ค่อยดีขึ้น : ว. เริ่มดีขึ้นเล็กน้อย.
  42. คอหอย : น. อวัยวะภายในลำคอ เป็นทางร่วมของระบบทางเดินอาหาร และระบบทางเดินอากาศหายใจ เริ่มตั้งแต่หลังโพรงจมูก หลังช่องปาก ลงไปจนถึงหลังกล่องเสียง. (อ. pharynx).
  43. คำฟ้อง : (กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือ ฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
  44. เคือง : ก. ไม่พอใจและเริ่มรู้สึกโกรธ; ระคาย เช่น เคืองตา, รำคาญ เช่น เคืองหู เคืองใจ.
  45. งวง ๑ : น. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสําหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทํานํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิด จะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรง มาก ลํานี้จะยาวลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำ เป็นงวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง.
  46. งานสารบรรณ : (กฎ) น. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่ การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลายเอกสาร.
  47. จตุรงคนายก : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรค แบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของ ทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกราย จักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).
  48. จรดพระกรรไกรกรรบิด, จรดพระกรรไตรกรรบิด : (ราชา) ก. ใช้ กรรไตรและมีดโกนขริบและโกนผมเล็กน้อย เป็นการเริ่มใน พระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์.
  49. จ๊ะจ๋า : ว. เรียกอาการที่เด็กเริ่มหัดพูดพูดอย่างน่ารักน่าเอ็นดู เช่น ลูกฉันเริ่มหัดพูด จ๊ะจ๋าแล้ว. ก. อาการที่คู่รักพูดคุยกันอย่างมีความสุข เช่น สองคนนั้นเขา กำลังจ๊ะจ๋ากันอยู่อย่าไปกวนเขา.
  50. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-309

(0.0570 sec)