Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เลิกจ้าง, เลิก, จ้าง , then จาง, จ้าง, ลก, เลิก, เลิกจ้าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เลิกจ้าง, 224 found, display 1-50
  1. เลิก : ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้ว กลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดง เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.
  2. จ้าง : ก. ให้ทํางานหรือทําของโดยให้ค่าตอบแทน, ผู้ให้ทํางานเรียก นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทํางานเรียก ลูกจ้าง หรือ ผู้รับจ้าง, ผู้ให้ทําของเรียก ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทําของเรียก ผู้รับจ้าง.
  3. จ้าง : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้าง ให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ. จัง).
  4. เลิกล้ม : ก. เลิก เช่น เลิกล้มกิจการ, ยกเลิก เช่น เลิกล้มสัญญา, เลิก ดำเนินกิจการ, ไม่ทำต่อไป, เช่น เลิกล้มโครงการ, ล้มเลิก ก็ว่า.
  5. เลิกทัพ : ก. ยกทัพกลับ เช่น ไพรีมิได้แจ้งแห่งยุบล ให้เลิกทัพกลับพล รีบหนีไป. (เพลงในละครเรื่องสามก๊ก).
  6. เลิกความ : (ปาก) ก. ยอมความ.
  7. เลิกคิ้ว : ก. ยกคิ้วขึ้นแสดงความประหลาดใจเป็นต้น.
  8. เลิกพระศาสนา : ก. ยกย่องพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง.
  9. เลิกพล : ก. ยกพลกลับ.
  10. เลิกร้าง : ก. ทิ้งกัน, ไม่อยู่ด้วยกัน, (ใช้แก่ผัวเมีย).
  11. เลิกแล้วต่อกัน : ก. ยุติการทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน.
  12. ค่าชดเชย : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือ จากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง.
  13. นาย : น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้า ตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์ของ ข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  14. ล้มเลิก : ก. เลิก เช่น ล้มเลิกกิจการ, ยกเลิก เช่น ล้มเลิกสัญญา, เลิกดำเนินกิจการ, ไม่ทำต่อไป, เช่น ล้มเลิกโครงการ, เลิกล้ม ก็ว่า.
  15. ค่าจ้าง : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็น รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่าย ให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวัน ลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุก ประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและ เวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างใน วันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่า จะเรียกชื่ออย่างไร.
  16. ยุติ ๒ : [ยุดติ] ก. ตกลง, จบ, เลิก, เช่น เรื่องนี้ยุติแล้ว ไม่ต้องพิจารณาอีกต่อไป.
  17. ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
  18. ลงเอย : ก. จบ, เลิก, สิ้นสุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ลงเอยเสียที.
  19. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  20. ว่าจ้าง : ก. จ้าง, ตกลงให้ทําการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น เขาว่าจ้างช่างให้มาทำรั้วบ้าน, ว่า ก็ว่า.
  21. ลก : ว. หก; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลก, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า อก.
  22. จาง : ว. น้อยไป, ลดไป, ไม่เข้ม, (โดยมากใช้แก่สี รส กลิ่น).
  23. เรือจ้าง : น. เรือที่แจวหรือพายรับจ้างข้ามฟาก ปรกติใช้เรือสำปั้น.
  24. กฎเสนาบดี : (เลิก) ดู กฎกระทรวง.
  25. กรมการอำเภอ : (เลิก) น. คณะกรมการอำเภอ; กรมการอำเภอแต่ละ คนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการอำเภอ.
  26. กระกูล : (เลิก) น. ตระกูล. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
  27. กระศัย : (เลิก) น. กระษัย.
  28. จางวาง : (เลิก) น. ตําแหน่งยศข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก, ตําแหน่ง ผู้กํากับการ, ตําแหน่งหัวหน้าข้ารับใช้ของเจ้านายชั้นบรมวงศ์หรือ ทรงกรม.
  29. ถอดเขี้ยวถอดเล็บ : (สํา) ก. ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิก แสดงฤทธิ์แสดงอํานาจอีกต่อไป.
  30. เทศาภิบาล : (เลิก) น. ตําแหน่งผู้สําเร็จราชการมณฑลในสมัยหนึ่ง ต่อมาเปลี่ยนเรียกว่า สมุหเทศาภิบาล.
  31. โทรภาพ : (เลิก) น. โทรทัศน์; โทรสาร.
  32. นครบาลจังหวัด : (เลิก) น. ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตนครหลวง.
  33. ศาลกงสุล : (เลิก) น. ศาลของประเทศที่มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่ตั้งขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้กงสุลเป็นผู้พิจารณาคดีคนใน บังคับของตน.
  34. หย่า : ก. เลิกเป็นผัวเมียกัน; (กฎ) ทําให้การสมรสสิ้นสุดลงโดยความยินยอม ของคู่สมรสทั้ง ๒ ฝ่ายหรือโดยคําพิพากษาของศาล; เลิก เช่น หย่านม หย่าศึก.
  35. หยุด : ก. ชะงัก เช่น งูเลื้อยตัดหน้าเขาจึงหยุด, อยู่นิ่ง, อยู่กับที่, เช่น รถหยุด; พัก เช่น หยุดงานตอนเที่ยง, ไม่กระทำต่อ เช่น หยุดกิจการ, เลิก เช่น เขาพูดไม่หยุด.
  36. อนุสภากาชาด : (เลิก) น. ชื่อสมาคมสําหรับเด็กเพื่ออบรมตนให้เป็นประโยชน์แก่ ผู้อื่น ขึ้นต่อสภากาชาด.
  37. อภิรัฐมนตรี : (เลิก) น. ที่ปรึกษาชั้นสูงของพระมหากษัตริย์.
  38. ออฟฟิศ : (เลิก) น. สํานักงาน, ที่ทําการ. (อ. office).
  39. กฎยุทธวินัย : (กฎ; เลิก) น. ชื่อย่อของกฎว่าด้วยยุทธวินัย และการลงอาญาทหารบกฐานละเมิดยุทธวินัย.
  40. กรกฎาคม : [กะระกะ-, กะรักกะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน. (ส. กรฺกฏ = ปู + อาคม = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ); (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตาม สุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
  41. กรร ๒ : [กัน] (เลิก) ก. กัน เช่น เรือกรร.
  42. กรรกง : [กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จําเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
  43. กรรแซง : [กัน-] (เลิก) น. กองทําหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตรา เพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทําหน้าที่ แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแซง ที่ กัน๓).
  44. กรรแทรก : [กันแซก] (เลิก) น. กองทําหน้าที่แทรกในกระบวนพยุหยาตรา เพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแซง คือ กองทำหน้าที่แซงเพื่อ ป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแทรก ที่ กัน๓).
  45. กรรมสัมปาทิก : [กํามะสําปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทําหน้าที่กรรมการ ของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).
  46. กระเกรียม : (โบ; เลิก) ก. ตระเตรียม, จัดไว้ให้บริบูรณ์, เช่น กระเกรียมพร้อมเสร็จสําเร็จการ. (คาวี).
  47. กระตัก : (โบ; เลิก) น. ประตัก คือ ไม้ที่ฝังเหล็กแหลมข้างปลาย ใช้แทงสัตว์ พาหนะเช่นวัว เช่น ด่าตีกันด้วยเคียวไม้กระตัก. (ลักษณะธรรมนูญ).
  48. กระทง ๑ : น. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูง สําหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทําขึ้นสําหรับลอยน้ำ ในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆ ของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะ เหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือ หรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญา แต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทําความผิดแต่ละกรรมหรือ แต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทําความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้ง เป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิ ในกฎหมายเก่า.
  49. กระทงแถลง : (กฎ; เลิก) น. ส่วนสําคัญในสํานวนความที่เป็นประเด็น และที่เกี่ยวกับประเด็นอันพึงเสนอวินิจฉัย.
  50. กันยายน : น. ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๐ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๖ ตามสุริยคติซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. กนฺยา = นางงาม, นางสาวน้อย + อายน = มา = เดือนที่อาทิตย์ มาสู่ราศีกันย์).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-224

(0.1508 sec)