Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เลื่อนชั้น, เลื่อน, ชั้น , then ชน, ชั้น, ลอน, ลอนชน, เลื่อน, เลื่อนชั้น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เลื่อนชั้น, 9132 found, display 1-50
  1. เลื่อน : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับ บรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้ แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดยลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง; เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อน เวลาเดินทาง เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้น ไปกว่าเดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
  2. ชั้น : น. ที่สําหรับวางของอย่างหนึ่ง มีพื้นซ้อนกันคล้ายตู้แต่ไม่มี บานปิด; สิ่งที่ซ้อนลดหลั่นกันเป็นขั้น ๆ เช่น ฉัตร ๕ ชั้น; ขั้นที่ลดหลั่นกัน เช่น ชาติชั้นวรรณะ; ขั้น, ตอน, เช่น ชั้นนี้; ลําดับ เช่น มือคนละชั้น. ว. ที่ซ้อนทับกันเป็นแผ่น ๆ เช่น ขนมชั้น หินชั้น.
  3. เลื่อนเปื้อน : ว. อาการที่พูดเลอะเทอะ เช่น พูดจาเลื่อนเปื้อน.
  4. ชั้นฉาย : น. การสังเกตเวลาด้วยมาตราวัดอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า เหยียบชั้น คือ เอาเท้าวัดเงาของตัวคนที่ยืนกลางแดด ครั้ง โบราณกําหนดเวลาโดยการวัดเงานั้นเป็นช่วงเท้า คือ ๑ ชั้นฉาย เท่ากับเงายาว ๑ ช่วงเท้า, มีพิกัดอัตราดังนี้ ๑๐ อักษร เป็น ๑ เมล็ดงา, ๔ เมล็ดงาเป็น ๑ เมล็ดข้าวเปลือก, ๔ เมล็ดข้าวเปลือก เป็น ๑ องคุลี, ๑๕ องคุลี เป็น ๑ ชั้นฉาย.
  5. ชั้นเชิง : น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, เชิงชั้น ก็ว่า.
  6. ชั้นเดียว : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับเร็ว คือ เร็วกว่า สองชั้นเท่าตัวหรือเร็วกว่าสามชั้น ๔ เท่า, เรียกเต็มว่า อัตรา จังหวะชั้นเดียว, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับชั้นเดียว เพลงชั้นเดียว.
  7. ชั้นชั่ว : ว. อย่างตํ่า.
  8. เลื่อนที่ : ก. เปลี่ยนที่, ได้ยศหรือบรรดาศักดิ์สูงไปกว่าเก่า.
  9. ชาติ ๑, ชาติ ๑ : [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. การเกิด เช่น ชาตินี้ ชาติหน้า; กําเนิด เช่น มีชาติมีสกุล; เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาติเสือ ชาติขี้ข้า; ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิมหรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ. (ป., ส.).
  10. ดล ๑, ดล- : [ดน, ดนละ-] น. พื้น, ชั้น, เช่น พสุธาดล. (ป., ส. ตล).
  11. ภูมิ ๒ : [พูม] น. พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.
  12. อนุกรม : [อะนุกฺรม] น. ลําดับ, ระเบียบ, ชั้น, เช่น โดยอนุกรม, นิยมใช้เป็น ส่วนท้ายของสมาส เช่น พจนานุกรม ปทานุกรม นามานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม. (ส. อนุกฺรม; ป. อนุกฺกม).
  13. รู้ชั้นเชิง, รู้ชั้นรู้เชิง : ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย.
  14. ลดชั้น : ก. เข้าเรียนชั้นต่ำกว่าเดิม เช่น นักเรียนที่เข้าใหม่ชั้นประถม ปีที่ ๓ ถูกลดชั้นไปอยู่ชั้นประถมปีที่ ๒.
  15. ศาลชั้นต้น : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอํานาจพิจารณา พิพากษาคดีในชั้นต้นทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีตามที่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดไว้ ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี และศาล ยุติธรรมอื่น เช่น ศาลภาษีอากรกลาง.
  16. กำแพงเจ็ดชั้น : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lithosanthes biflora Blume ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาว เนื้อไม้เป็นชั้น ๆ ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Salacia chinensis L. ในวงศ์ Celastraceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ดอกสีเขียวอมเหลือง ใช้ทํายาได้, ตะลุ่มนก หรือ น้านอง ก็เรียก. (๓) ดู ขมิ้นเครือ.
  17. กุญแจเลื่อน : น. เครื่องมือโลหะชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบสําหรับ เลื่อนเพื่อปรับขนาดปากได้ ใช้สําหรับขันหรือคลายนอตเป็นต้น.
  18. เชิงชั้น : น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, ชั้นเชิง ก็ว่า.
  19. ลูกเลื่อน : น. อุปกรณ์ในปืนชนิดมีแหนบกระสุน อยู่ในลำกล้อง มีหน้าที่กดกระสุนปืนไม่ให้ตรงลำกล้อง เมื่อขึ้นไกจะดันกระสุน ปืนให้เลื่อนขึ้นและเข้าสู่ลำกล้อง.
  20. สองชั้น : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับปานกลางคือช้ากว่า ชั้นเดียวเท่าตัว หรือเร็วกว่าสามชั้นเท่าตัว เรียกเต็มว่า อัตราสองชั้น, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับสองชั้น เพลงสองชั้น.
  21. เอาชั้นเอาเชิง : ก. รอดูชั้นเชิง.
  22. ลอน : น. ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ตํ่า ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับกันไปบน พื้นราบ เช่น ลอนฟูก ลอนสังกะสี, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ลอนตาล ลอนผม.
  23. ล้อเลื่อน : น. คํารวมเรียกรถต่าง ๆ; (กฎ) ยานพาหนะอันประกอบ ด้วยเพลาและล้อซึ่งเคลื่อนไปด้วยกําลังคนหรือสัตว์ เช่น รถ เกวียน.
  24. กำแพงเจ็ดชั้น : น. ชื่อมนตร์. กำแพงมีหูประตูมีช่อง, กำแพงมีหูประตูมีตา (สํา) น. การที่จะพูด หรือทําอะไร ให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไร ก็อาจมีคนล่วงรู้ได้.
  25. กำแพงเจ็ดชั้น : ดูใน กําแพง.
  26. ของเลื่อน : น. สํารับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทําบุญนําไปให้ผู้ที่ นับถือด้วยไมตรีจิต.
  27. ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
  28. ฉัตรสามชั้น : [ฉัด-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หวนสวาทโหยถวิล โหยสวาทหวนครวญคะนึงคะเนนึกคะนึงครวญ ใจเศร้าโศกแสนกําสรวล โศกเศร้าใจ.
  29. ทะแยสามชั้น : น. เพลงสําหรับร้องรับในวงมโหรีปี่พาทย์.
  30. บันไดเลื่อน : น. บันไดที่เคลื่อนได้ด้วยกําลังไฟฟ้า.
  31. หมูสามชั้น : น. เนื้อหมูส่วนท้องที่ชําแหละให้ติดทั้งหนัง มัน และเนื้อ.
  32. กะเลิด : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับบรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, เลื่อน ก็เรียก.
  33. ขนบ : [ขะหฺนบ] น. แบบอย่าง, แผน, ระเบียบ; กลีบ, รอยที่พับ (ของสมุดข่อย หรือผ้าจีบ หรือจีวร เป็นต้น); ชั้น เช่น ขนบหิน. (ข. ขฺนบ่ ว่า สิ่งที่อยู่ ในห่อ, ที่หมก).
  34. ห้อง : น. ส่วนของเรือนหรือตึกเป็นต้นที่มีฝากั้นเป็นตอน ๆ; ตอน เช่น พระพุทธคุณ เก้าห้อง; ชั้น เช่น ห้องฟ้า.
  35. กระบี่ลีลา : น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็น เพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและ กลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่น ตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  36. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  37. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  38. ตรีบูร : น. เมืองอันมีป้อมค่าย ๓ ชั้น, ๓ ชั้น เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพัน สี่ร้อยวา. (จารึกสยาม), อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร. (กําสรวล). (ส. ตฺริปุร ว่า ป้อม ๓ ชั้น).
  39. นิมมานรดี : [นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).
  40. บายศรี : น. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทําด้วยใบตอง รูปคล้าย กระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลําดับ เป็น ๓ ชั้นชั้นชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่อง สังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือ ข้าวขวัญ).
  41. แบบ : น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น ดอกไม้ประดิษฐ์.
  42. ผล : น. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนา ได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผล เท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  43. พรหม, พรหม : [พฺรม, พฺรมมะ] น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลกจําพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จําพวกไม่มี รูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้นตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอน ใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี; ผู้มีพรหมวิหาร ทั้ง ๔ (เช่น บิดามารดามีพรหมวิหารทั้ง ๔ ต่อบุตร ได้ชื่อว่า เป็นพรหม ของบุตร). (ป., ส. พฺรหฺม).
  44. เศษซ้อน : (คณิต) น. จํานวนจริงที่เขียนเป็นรูปเศษส่วนหลาย ๆ ชั้น เช่น .
  45. หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
  46. องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  47. อันดับ : น. ชั้น เช่น พระสงฆ์นั่งตามอันดับ, ระเบียบ; ลําดับ เช่น สอบได้ ในอันดับต้น ๆ.
  48. กระต่ายชมจันทร์ : น. ท่ารําละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน); เพลงเสภา ๒ ชั้น ของเก่าพวกเพลงเกร็ด.
  49. กระต่ายเต้น : น. เพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงเร็ว, ถ้ารับร้องเป็นเพลง ๒ ชั้น.
  50. กระเรียน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยของเก่าสําหรับทําเพลงช้า เรียกว่า กระเรียนร้อง, ถ้า รับร้องบทละครเป็นเพลง ๒ ชั้น ท่อนต้นเรียกว่า กระเรียนร้องตัวผู้ ท่อนหลังเรียกว่า กระเรียนร้องตัวเมีย ต่อจากนี้ทําเพลงกระเรียนทอง แล้วถึงกระเรียนร่อน เป็นเพลงเสภาร้องรับมโหรี.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9132

(0.3691 sec)