Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เลื่อนตำแหน่ง, ตำแหน่ง, เลื่อน , then ตำหนง, ตำแหน่ง, ลอน, ลอนตำหนง, เลื่อน, เลื่อนตำแหน่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เลื่อนตำแหน่ง, 180 found, display 1-50
  1. เลื่อน : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับ บรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้ แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดยลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง; เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อน เวลาเดินทาง เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้น ไปกว่าเดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
  2. เลื่อนเปื้อน : ว. อาการที่พูดเลอะเทอะ เช่น พูดจาเลื่อนเปื้อน.
  3. เลื่อนที่ : ก. เปลี่ยนที่, ได้ยศหรือบรรดาศักดิ์สูงไปกว่าเก่า.
  4. ปัดแข้งปัดขา : ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาหลุดพ้นตําแหน่ง หน้าที่หรือไม่ให้ได้เลื่อนฐานะตำแหน่งที่ควรจะได้.
  5. สมรรถภาพ : [สะมัดถะ, สะหฺมัดถะ] น. ความสามารถ เช่น เขา เป็นคนมีสมรรถภาพในการทำงานสูงสมควรได้เลื่อนตำแหน่ง.
  6. หมาด ๆ : (ปาก) ว. ที่เพิ่งได้หรือเสร็จเป็นต้นมาใหม่ ๆ เช่น เขาเพิ่งได้เลื่อนตำแหน่ง มาหมาด ๆ.
  7. ฐิติ : [ถิติ] น. การตั้งอยู่, การยืนอยู่, การดํารงอยู่; การเป็นไป, ความมีชีวิต อยู่; การหยุดอยู่; ความมั่นคง, ความอดทน; ตำแหน่ง, ที่อยู่; ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ; ความแน่นอน. (ป.).
  8. กุญแจเลื่อน : น. เครื่องมือโลหะชนิดหนึ่ง มีส่วนประกอบสําหรับ เลื่อนเพื่อปรับขนาดปากได้ ใช้สําหรับขันหรือคลายนอตเป็นต้น.
  9. ลูกเลื่อน : น. อุปกรณ์ในปืนชนิดมีแหนบกระสุน อยู่ในลำกล้อง มีหน้าที่กดกระสุนปืนไม่ให้ตรงลำกล้อง เมื่อขึ้นไกจะดันกระสุน ปืนให้เลื่อนขึ้นและเข้าสู่ลำกล้อง.
  10. ลอน : น. ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ตํ่า ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับกันไปบน พื้นราบ เช่น ลอนฟูก ลอนสังกะสี, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ลอนตาล ลอนผม.
  11. กินตำแหน่ง : ก. ได้ครองตําแหน่ง.
  12. ของเลื่อน : น. สํารับคาวหวานที่เจ้าภาพในงานทําบุญนําไปให้ผู้ที่ นับถือด้วยไมตรีจิต.
  13. ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
  14. บันไดเลื่อน : น. บันไดที่เคลื่อนได้ด้วยกําลังไฟฟ้า.
  15. ล้อเลื่อน : น. คํารวมเรียกรถต่าง ๆ; (กฎ) ยานพาหนะอันประกอบ ด้วยเพลาและล้อซึ่งเคลื่อนไปด้วยกําลังคนหรือสัตว์ เช่น รถ เกวียน.
  16. กะเลิด : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับบรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, เลื่อน ก็เรียก.
  17. คำนำหน้าชื่อ : น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่ง ทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้านาม ก็เรียก.
  18. คำนำหน้านาม : น. คำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่ง ทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์, คำนำหน้าชื่อ ก็เรียก.
  19. นาย : น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้า ตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์ของ ข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  20. พระสนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่ม จากหีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ในสมัยโบราณมี ๔ ตำแหน่ง คือท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าว ศรีจุฬาลักษณ์.
  21. รายงานตัว : ก. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามแบบพิธี โดยบอกชื่อ นามสกุล ยศ ตำแหน่ง หน้าที่ และภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ.
  22. แลกเปลี่ยน : ก. เอาของต่อของเป็นต้นแลกกัน เช่น แลกเปลี่ยน ตำแหน่ง แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม.
  23. สนมเอก : น. เจ้าจอมมารดาที่ได้รับพระราชทานพานทองเพิ่มจาก หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี เรียกว่า พระสนมเอก ในสมัยโบราณ มี ๔ ตำแหน่ง คือ ท้าวอินสุเรนทร์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์.
  24. คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
  25. ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
  26. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  27. กรมการ : [กฺรมมะ-] (กฎ;โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่ สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครอง หัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).
  28. กรมการนอกทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมือง ในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็น กรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
  29. กรมการในทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข.
  30. กรมการพิเศษ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็น ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการ เมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจาก บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
  31. กระพัด : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่ รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลาย ทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะ เดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  32. กระพัตร : [-พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูก อยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้น ที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า.
  33. กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
  34. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  35. กลิ้ง : [กฺลิ้ง] ก. อาการอย่างของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น ซุงกลิ้ง ครกกลิ้ง ลูกหินกลิ้ง, ทําให้ของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น กลิ้งครก กลิ้งซุง กลิ้งลูกหิน; โดยปริยายหมายความว่า คล่อง, ไม่มีติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว. (โบ) น. ร่ม เช่น เมลืองมล่านกลิ้งเพรื้อม เพรอศพราย. (ยวนพ่าย). (มลายู giling ว่า กลิ้ง, คลึง, มวน).
  36. กะบัง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้าย และทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้าง อย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทําร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็น ทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่าย ที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า.
  37. กินรุก : ก. เดินหมากเข้าไปกินหมากของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วอยู่ใน ตำแหน่งที่จะกินขุนของอีกฝ่ายหนึ่งทันที (ใช้ในการเล่นหมากรุก).
  38. กิโยตีน : น. เครื่องมือประหารชีวิตแบบหนึ่ง ประกอบด้วยใบมีดขนาดใหญ่ ด้านคมมีลักษณะเฉียง เลื่อนลงมาตามร่องเสาให้ตัดคอนักโทษ. (ฝ. guillotine).
  39. เกรินบันไดนาค : น. เกรินซึ่งเป็นแท่นเลื่อนบนรางลาดประดับรูปนาค ใช้ในการเชิญพระบรมโกศโดยกว้านขึ้นหรือผ่อนลง.
  40. โกก ๑ : น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัว หรือคอควายสําหรับลากเลื่อนเป็นต้น, คอม ตะโกก หรือ ตะโหงก ก็เรียก. ว. เสียงดังอย่างเคาะไม้ด้วยกะลา.
  41. ขนานใหญ่ : (ปาก) ว. มาก เช่น สับเปลี่ยนตำแหน่งกันขนานใหญ่.
  42. ขยด : [ขะหฺยด] ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
  43. ขยับ : [ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทําท่าว่าจะทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้ เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่น นั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.
  44. ขยับเขยื้อน : [-ขะเยื่อน] ก. เคลื่อนที่, เลื่อนที่, ย้ายที่, (มักใช้ใน ความปฏิเสธ).
  45. ขยาบ : [ขะหฺยาบ] น. เครื่องกันแดดและฝนที่เลื่อนเข้าออกจากประทุนเรือได้.
  46. ขอเฝ้า : น. ข้าพึ่งบุญเจ้า เป็นผู้ชายสำหรับเจ้านายฝ่ายในใช้สอย; เครื่องแบบสำหรับผู้ที่มีตำแหน่งเฝ้า แต่ไม่อยู่ในฐานะที่จะแต่ง เครื่องแบบราชการ.
  47. เขยิบ : [ขะเหฺยิบ] ก. ขยับเลื่อนไปเล็กน้อย.
  48. เขยิบฐานะ : ก. เลื่อนฐานะสูงขึ้น.
  49. คอม : น. ไม้รูปโค้งปลายทั้ง ๒ ข้างงอขึ้นเล็กน้อย ใช้พาดคอวัวหรือคอควาย สําหรับลากเลื่อนเป็นต้น, โกก ตะโกก หรือ ตะโหงก ก็เรียก.
  50. คั่ว ๒ : ก. คอยกิน (ใช้ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือไพ่ผ่องจีนเป็นต้น), โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สองคนนี้คั่วกันมา หลายปี ก็ยังไม่ได้แต่งงานกัน เขาคั่วตำแหน่งอธิบดีอยู่.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-180

(0.1278 sec)