Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เว้นระยะ, เว้น, ระยะ , then รย, ระย, ระยะ, วน, เว้น, เว้นระยะ .

Budhism Thai-Thai Dict : เว้นระยะ, 93 found, display 1-50
  1. ระยะบ้านหนึ่ง : ในประโยคว่า “โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตติยะ” ระยะทางชั่วไก่บินถึง แต่ในที่คนอยู่คับคั่ง ให้กำหนดตามเครื่องกำหนดที่มีอยู่โดยปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง (เช่นชื่อหมู่บ้าน)
  2. อนันตริยกรรม : กรรมหนัก, กรรมที่เป็นบาปหนักที่สุด ตัดทางสวรรค์ ตัดทางนิพพาน, กรรมที่ให้ผลคือ ความเดือดร้อนไม่เว้นระยะเลย มี ๕ อย่าง คือ ๑) มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒) ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕) สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน
  3. สัปดาห์ : ๗ วัน, ระยะ ๗ วัน
  4. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี : เว้นจากประพฤติผิดในกาม, เว้นการล่วงประเวณี
  5. ปาณาติปาตา เวรณมี : เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง, เว้นจากการฆ่าสัตว์ (ข้อ ๑ ในศีล ๕ ฯลฯ)
  6. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี : เว้นจากการพูดส่อเสียด, เว้นจากพูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ข้อ ๕ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)
  7. ผรุสาย วาจาย เวรมณี : เว้นจากพูดคำหยาบ (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
  8. มัชฌิมโพธิกาล : ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้าตอนกลางระหว่างปฐมโพธิกาลกับปัจฉิมโพธิกาล นับคร่าวๆ ตั้งแต่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธไปแล้ว ถึงปลงพระชนมายุสังขาร
  9. มุสาวาทา เวรมณี : เว้นจากการพูดเท็จ, เว้นจากการพูดโกหก, เว้นจากพูดไม่จริง (ข้อ ๔ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐)
  10. เลฑฑุบาต : ระยะโยนหรือขว้างก้อนดินตก (อ่านว่า เลดดุบาด)
  11. วัน : ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำรุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน การที่เรียกว่า วัน นั้นเพราะแต่โบราณถือเอากำหนดพระอาทิตย์ ซึ่งเรียกตะวันขึ้นจนถึงตะวันตกเป็นกำหนด จึงเรียกว่าวัน คือมาจากคำว่าตะวันนั่นเอง
  12. สัมผัปปลาปา เวรมณี : เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ, เว้นจากพูดเหลวไหลไม่เป็นประโยชน์, พูดคำจริง มีเหตุผล มีประโยชน์ ถูกกาลเทศะ (ข้อ ๗ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)
  13. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี : เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท (ข้อที่ ๕ ในศีล ๘ ศีล ๑๐)
  14. อทินนาทานา เวรมณี : เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้, เว้นการลักขโมย (ข้อ ๒ ในศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐)
  15. กฐิน : ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร; ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ) ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔); ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ); สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป; ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
  16. กรุย : หลักที่ปักไว้เพื่อเป็นเครื่องหมายกำหนดแนวทางหรือระยะทาง
  17. กัป : กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น; กำหนดอายุของโลก; กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี - 1.an aeon; world-aeon; world-age; world-cycle; world-period. 2.the life-term; life-period; the duration of life.
  18. กัปป์ : กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม) ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น; กำหนดอายุของโลก; กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี - 1.an aeon; world-aeon; world-age; world-cycle; world-period. 2.the life-term; life-period; the duration of life.
  19. กายกรรม : การกระทำทางกาย เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม หรือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เป็นต้น
  20. กายสุจริต : ประพฤติชอบด้วยกาย, ประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่าง คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิดในกาม ดู กายทุจริต, สุจริต
  21. กาลทาน : ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา เช่น การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้
  22. กุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือก.กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต ๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามข.วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ๕.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ ๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อค.มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘.อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙.อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
  23. คาวุต : ซื่อมาตราวัดระยะทางเท่ากับ ๘๐ อุสภะ หรือ ๑๐๐ เส้น (๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์) ดู มาตรา
  24. โคตรภูสงฆ์ : พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัด ปฏิบัติเหินห่างธรรมวินัย แต่ยังมีเครื่องหมายเพศเช่น ผ้าเหลืองเป็นต้น และถือตนว่ายังเป็นภิกษุสงฆ์อยู่, สงฆ์ในระยะหัวต่อจะสิ้นศาสนา
  25. จักรวรรดิวัตร ๑๒ : ๑.อนฺโตชนสฺมึ พลกายสฺมึ คุ้มครองสงเคราะห์แก่ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา ๒.ขตฺติเยสุ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ ๓.อนุยนฺเตสุ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือ เหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นราชบริพาร ๔.พฺราหฺมณคหปติเกสุ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ๕.เนคมชานปเทสุ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือ ราษฎรพื้นเมืองทั้งเหล่าย ๖.สมณพฺราหฺมเณสุ แก่เหล่าสมณพราหมณ์ ๗.มิคปกฺขีสุ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์ ๘.อธมฺมการปฏิกฺเขโป ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม ๙.อธนานํ ธนานุปฺปทานํ เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์ ๑๐.สมณพฺราหฺมเณ อุปสงฺกมิตฺวา ปญฺหาปุจฺฉนํ ไปสู่หาพราหมณ์ไต่ถามอรรถปฤษณา ๑๑.อธมฺมราคสฺส ปหานํ เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม ๑๒.วิสมโลภสฺส ปหานํ เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
  26. ฉันทะ : 1.ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในกามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔) 2.ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะคือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้
  27. ดิรัจฉาน : สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง, สัตว์เว้นจากมนุษย์ (เดียรัจฉานก็ใช้)
  28. เตียง : ภิกษุทำเตียงหรือตั่ง พึงทำให้มีเท้าเพียง ๘ นิ้วพระสุคต เว้นไว้แต่แม่แคร่เบื้องต่ำ และต้องไม่หุ้มนุ่น ถ้าฝ่าฝืน ต้องปาจิตตีย์ ต้องตัดให้ได้ประมาณ หรือรื้อเสียก่อน จึงแสดงอาบัติตก (ปาจิตตีย์ รตนวรรคที่๙ สิกขาบทที่ ๕ และ ๖)
  29. ถือบวช : ถือการเว้นต่างๆ ตามข้อกำหนดทางศาสนา
  30. ธนู : มาตราวัดระยะทางเท่ากับ ๑ วา คือ ๔ ศอก
  31. ธรรมเทศนาสิกขาบท : สิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคามเกินกว่า ๕-๖ คำเว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย (สิกขาบทที่ ๗.ในมุสาวาทวรรคแห่งปาจิตตีย์)
  32. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : “พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป”, พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรมเป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากนั้น ตรัสรู้ ๒ เดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิภาณว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะหัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่า เป็นปฐมสาวก
  33. นิรันดร : ติดต่อกัน, เสมอมา, ไม่มีระหว่างคั่น, ไม่เว้นว่าง
  34. บรรพชา : การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชาอัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้คอบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)
  35. บวช : การเว้นทั่ว คือเว้นความชั่วทุกอย่าง (ออกมาจากคำว่า ป + วช) หมายถึงการถือเพศเป็นนักพรตทั่วไป; บวชพระ คือบวชเป็นภิกษุเรียกว่า อุปสมบท, บวชเณร คือ บวชเป็นสามเณร เรียกว่า บรรพชา
  36. เบญจศีล : ศีล ๕ เว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ เว้นประพฤติผิดในกาม เว้นพูดปด เว้นของเมา มีคำสมาทานว่า ๑.ปาณาติปาตา ๒.อทินฺนาทานา ๓.กาเมสุมิจฺฉาจารา ๔.มุสาวาทา ๕.สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺานา ต่อท้ายด้วย เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ทุกข้อ
  37. ปฐมโพธิกาล : เวลาแรกตรัสรู้, ระยะเวลาช่วงแรกหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว คือระยะประดิษฐานพระพุทธศาสนา นับคร่าวๆ ตั้งแต่ตรัสรู้ถึงได้พระอัครสาวก
  38. ประเทศบัญญัติ : บัญญัติจำเพาะถิ่น, สิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ เฉพาะสำหรับมัธยมประเทศ คือ จังหวัดกลางแห่งชมพูทวีป เช่น สิกขาบทที่ ๗ แห่งสุราปานวรรค ในปาจิตติยกัณฑ์ ไม่ให้ภิกษุอาบน้ำในเวลาห่างกันหย่อนกว่ากึ่งเดือน เว้นแต่สมัย
  39. ปัจจเวกขณญาณ : ญาณที่พิจารณาทบทวน, ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่); ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ; ดู ญาณ
  40. ปัจฉิมโพธิกาล : โพธิกาลช่วงหลัง, ระยะเวลาบำเพ็ญพุทธกิจตอนท้ายคือ ช่วงใกล้จนถึงปรินิพพาน กำหนดคร่าวๆ ตามมหาปรินิพพานสูตรตั้งแต่ปลงพระชนมายุสังขารถึงปรินิพพาน
  41. ปัจฉิมวัย : วัยหลัง (มีอายุระยะ ๖๗ ปี ล่วงไปแล้ว) ดู วัย
  42. ปัพพัชชา : การถือบวช, บรรพชาเป็นอุบายฝึกอบรมตนในทางสงบ เว้นจากความชั่วมีการเบียดเบียนกันและกัน เป็นต้น (ข้อ ๒ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓)
  43. ปาฏิโมกขสังวร : สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์อนุญาต (ข้อ ๑ ในปาริสุทธิศีล ๔)
  44. ปุเรภัต : ก่อนภัต, ก่อนอาหาร หมายถึง เวลาก่อนฉันของภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ แต่เมื่อพูดอย่างกว้าง หมายถึง ก่อนหมดเวลาฉัน คือ เวลาเช้าจนถึงเที่ยง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ภิกษุฉันอาหารได้
  45. ผ้าอาบน้ำฝน : ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบนำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะเวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และให้ทำนุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘; เรียกเป็นคำศัพท์ว่า วัสสิกสาฏิกา หรือ วัสสิกสาฏก; คำถวายผ้าอาบน้ำฝนเหมือนคำถวายผ้าป่า เปลี่ยนแต่ ปํสุกูลจีวรานิ เป็น วสฺสิกสาฏิกานิ และผ้าบังสุกุลจีวร เป็นผ้าอาบน้ำฝน
  46. พรรษา : ฤดูฝน, ปี, ปีของระยะเวลาที่บวช
  47. พรหมจารี : ผู้ประพฤติพรหมจรรย์, นักเรียนพระเวท, ผู้ประพฤติธรรมมีเว้นจากเมถุน เป็นต้น
  48. พระชนม์ : อายุ, การเกิด, ระยะเวลาที่เกิดมา
  49. พหุลกรรม : กรรมทำมาก หรือกรรมชิน ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่ทำบ่อยๆ จนเคยชิน ย่อมให้ผลก่อนกรรมอื่น เว้นครุกรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาจิณณกรรม (ข้อ ๑๐ ในกรรม ๑๒)
  50. มังสจักขุ : จักษุคือดวงตา เป็นคุณพิเศษของพรพุทธเจ้า คือ มีพระเนตรที่งามม แจ่มใส ไว และเห็นได้ชัดเจนแม้ในระยะไกล (ข้อ ๑ ในจักษุ ๕)
  51. [1-50] | 51-93

(0.0351 sec)