Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสนอ , then สนอ, เสนอ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสนอ, 49 found, display 1-49
  1. ข้อเสนอ : น. เรื่องราวที่นำเสนอเพื่อพิจารณา.
  2. ข้อเสนอแนะ : น. ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำที่เสนอเพื่อพิจารณา.
  3. ยื่น : ก. กิริยาหรืออาการที่เหยียดหรือเหลื่อมลํ้าออกไป เช่น ยื่นมือ ยื่นซอง มุข ยื่นออกจากตัวอาคาร; เสนอ, ส่ง, มอบ, เช่น ยื่นเรื่องราว ยื่นบัญชี ยื่นฟ้อง; โดยปริยายหมายถึงกิริยาของผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขาไม่ต้องการ ให้พูดให้ทําว่า ยื่นปาก ยื่นหน้า. ว. เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คางยื่น พุงยื่น.
  4. ฝ่ายเสนอ : น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นให้ฝ่ายค้านโต้แย้งตามญัตติใน การโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายค้าน.
  5. กระทงแถลง : (กฎ; เลิก) น. ส่วนสําคัญในสํานวนความที่เป็นประเด็น และที่เกี่ยวกับประเด็นอันพึงเสนอวินิจฉัย.
  6. เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
  7. ข้อคิด : น. ประเด็นที่เสนอให้คิด, ประเด็นที่ชวนคิด.
  8. ของเก่า : น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็น อาชีพเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจําหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.
  9. ขันอาสา : ก. เสนอตัวเข้ารับทําโดยเต็มใจ, กล้าอาสา.
  10. ขายเหมา : [-เหฺมา] ก. ขายเป็นจํานวนรวมทั้งหมด. (กฎ) น. การขายซึ่งผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมด ทั้งจํานวนในราคาตามที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชําระราคา และผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ ไม่ว่า ทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคํานวณไว้.
  11. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  12. คำขาด : น. คำบอกกล่าวอย่างเด็ดขาดครั้งที่สุดให้ปฏิบัติการอย่างใด อย่างหนึ่งโดยไม่มีการผ่อนผัน เช่น ยื่นคำขาดให้ผู้เช่าออกไปจาก บ้านเช่าภายใน ๓ วัน, ข้อเสนอเด็ดขาด, ข้อเสนอที่ยื่นให้อีกฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติตามโดยเด็ดขาด เช่น เขายื่นคำขาดให้เธอปฏิบัติตาม.
  13. คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
  14. คำฟ้อง : (กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือ ฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
  15. คำมั่น : (กฎ) น. การแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มีผลผูกพัน ผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่น อันเป็นความ ผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะทำระหว่างกัน เช่น คำมั่นว่าจะซื้อ หรือขาย คำมั่นไม่จำเป็นต้องมีการเสนอให้มีการตกลงทำสัญญาเสมอไป อาจมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับคำมั่นหรือไม่มีผู้แสดงเจตนารับรู้ ก็นับว่าเป็นคำมั่นได้ เช่น คำมั่นว่าจะให้รางวัล.
  16. เจ๋อ, เจ๋อเจ๊อะ : ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ไม่สมควรเมื่อเขาไม่ต้องการหรือ มิได้เรียกหา.
  17. เจ้าหน้า, เจ้าหน้าเจ้าตา : น. ผู้ชอบทําเอาหน้า, ผู้ชอบเสนอหน้าเข้าไป ทําธุระให้คนอื่นโดยเขาไม่ได้ขอร้อง.
  18. ซื้อหน้า : ก. เสนอหน้า, สําแดงตัวออกมาให้เห็น, เช่น ครั้นตอบพี่มึงถึงแต้ม อีแสนแนมซื้อหน้าเข้ามาสู้. (ไกรทอง); กู้หน้า เช่น ยอมเสียเงิน เพื่อซื้อหน้า.
  19. ญัตติ : น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
  20. ฎีกา : น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรือ อธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้ง การขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่ ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุด ของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือ คําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกา พิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก.ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).
  21. ทิ้งฟ้อง : (กฎ) ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จําเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุ แห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ภายในกําหนด ๗ วัน ภายหลังที่ได้เสนอ คําฟ้องแล้ว หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาที่ศาล เห็นสมควรกําหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดย ชอบแล้ว.
  22. แนะแหน : [แหฺน] ก. แนะ, พูดเสนอให้ชอบใจ.
  23. บริษัทมหาชนจำกัด : (กฎ) น. บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจํากัดไม่เกิน จํานวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชําระและบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ.
  24. บัดนี้ : ว. ขณะนี้, เดี๋ยวนี้, เช่น บัดนี้ได้เสนอเรื่องมาให้พิจารณาแล้ว.
  25. ใบสัจ : (โบ) น. เอกสารซึ่งตระลาการพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วนํา เสนอลูกขุนปรึกษาปรับสัจตัดสิน.
  26. ประกวดราคา : ก. เสนอราคาแข่งขันกัน.
  27. ประจิ้มประเจ๋อ : ว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก.
  28. ประพจน์ : น. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือ ประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น จะมีความหมายกํากวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).
  29. ประมูล : [ปฺระมูน] ก. เสนอราคาแข่งขันกันในการซื้อหรือขายทรัพย์สิน เป็นต้น.
  30. ปั้นจิ้มปั้นเจ๋อ : ว. แสดงอาการกินหมากจัดเอาอย่างเขา; เจ้าหน้าเจ้าตา, ดัดจริตเสนอหน้าหรือแสดงตัวผิดกาลเทศะ.
  31. ผู้โฆษณา : (กฎ) น. บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการผลิตสิ่งพิมพ์และ จัดให้สิ่งพิมพ์นั้นแพร่หลายด้วยประการใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดย การขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจกและไม่ว่าการนั้น จะเป็นการให้เปล่าหรือไม่.
  32. ผู้บริโภค : (กฎ) น. ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ และ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบ ธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วย; ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะ ผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้อ ผู้กู้ ผู้เอาประกันภัย หรือผู้เข้าทำสัญญาอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน บริการหรือประโยชน์อื่นใดโดยมีค่า ตอบแทน ทั้งนี้ การทำสัญญานั้นต้องเป็นไปโดยมิใช่เพื่อการค้า ทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใดนั้นและหมายความรวมถึง ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกันของบุคคลดังกล่าวซึ่งมิได้ กระทำเพื่อการค้าด้วย. (อ. consumer).
  33. ฝ่ายค้าน : น. ฝ่ายที่แสดงความเห็นโต้แย้งความเห็นของฝ่ายเสนอ ในการโต้วาที, ตรงข้ามกับ ฝ่ายเสนอ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของพรรคที่ไม่ได้ร่วมเป็นรัฐบาล ซึ่งทําหน้าที่ค้านรัฐบาลในรัฐสภา, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความเห็นโต้แย้งกับผู้อื่น เช่น เรื่องนี้แม้ใคร จะเห็นด้วยก็ตาม แต่ฉันขอเป็นฝ่ายค้าน.
  34. มติ : [มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้; ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).
  35. ร้องเรียน : ก. เสนอเรื่องราว.
  36. รายงาน : น. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนํามาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ ผู้บังคับบัญชาทราบ.
  37. วิทยานิพนธ์ : น. บทนิพนธ์ที่ผู้เรียบเรียงยกเอาหัวข้อเรื่องใดเรื่อง หนึ่งขึ้นวิจัยหรือพรรณนาขยายความ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาเพื่อเสนอรับปริญญา.
  38. สกวาที : น. ผู้กล่าวถ้อยคําฝ่ายตน คือ ฝ่ายเสนอหรือฝ่ายถาม, คู่กับ ปรวาที. (ป.).
  39. สนอง : [สะหฺนอง] ก. ทำตามที่ได้รับคำสั่งหรือคำขอร้องเป็นต้น เช่น สนอง โครงการในพระราชดำริ สนองนโยบายของรัฐบาล; โต้ตอบ เช่น กรรมตามสนอง, ตอบรับการเสนอ เช่น เสนอขายสนองซื้อ. (ข. สฺนง).
  40. สอดไส้ : ก. ใส่ไส้ไว้ข้างใน, โดยปริยายหมายความว่า แอบสอดสิ่ง แปลกปลอมปนเข้าไปโดยมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ เช่น สอดไส้ธนบัตร ปลอมไว้ในปึกธนบัตรจริง สอดไส้เอกสารที่เป็นประโยชน์แก่ตน ปะปนเข้าไปพร้อมกับเอกสารในแฟ้มเสนอเซ็น. ว. เรียกขนม ชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วย ใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ ก็เรียก.
  41. สะเออะ ๑ : ก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควรเช่นในที่รโหฐานเมื่อไม่มี หน้าที่เกี่ยวข้อง, เจ๋อ, เช่น สะเออะไปนั่งเก้าอี้ประธาน, เสนอหน้าพูด เป็นต้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น นายยังไม่ทันถาม ก็สะเออะรายงาน.
  42. สัมมนา : น. การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนําไปปฏิบัติ ตามหรือไม่ก็ได้ เช่น สัมมนาการศึกษาประชาบาล. (อ. seminar).
  43. หนังสือพิมพ์ : น. สิ่งพิมพ์ข่าวและความเห็นเป็นต้นเสนอประชาชน ตาม ปรกติออกเป็นรายวัน; (กฎ) สิ่งพิมพ์ซึ่งมีชื่อจ่าหน้าเช่นเดียวกัน และออก หรือเจตนาจะออกตามลําดับเรื่อยไป มีกําหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ตาม.
  44. หลักการ : น. สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เช่น คณะกรรมการลงมติ รับหลักการตามที่มีผู้เสนอ.
  45. อนุญาโตตุลาการ : น. บุคคลที่คู่กรณีพร้อมใจกันตั้งขึ้นเพื่อให้ชำระตัดสินในข้อพิพาท; (กฎ) บุคคลคนเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีในสัญญาอนุญาโตตุลาการ ตกลงเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ให้ชี้ขาด.
  46. อาสา : ก. เสนอตัวเข้ารับทำ. น. ความหวัง เช่น นิราสา = ความหวัง หมดแล้ว คือ ความหมดหวัง, ความต้องการ, ความอยาก. (ป.; ส. อาศา).
  47. อาสาสมัคร : ว. ที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความสมัครใจ เช่น ทหารอาสาสมัคร. น. บุคคลที่เสนอตัวเข้าทำงานด้วยความ สมัครใจ เช่น เขาเป็นอาสาสมัคร.
  48. อุทธรณ์ : [อุดทอน] น. การยกขึ้น, การรื้อขึ้น, การเคลื่อนที่, การเสนอ, การ นำมาให้; ชื่อศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น เรียกว่า ศาลอุทธรณ์. ก. (กฎ) ยื่นฟ้องหรือยื่นคําร้องต่อศาลสูงคัดค้านคํา พิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้น; ยื่นคําร้องคัดค้านคําสั่งหรือคํา วินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่; ร้องเรียน, ร้องทุกข์, เช่น ร้องอุทธรณ์. (ป., ส. อุทฺธรณ).
  49. เอาหน้า : ก. อยากให้คนยกย่องสรรเสริญ เช่น ทำบุญเอาหน้าหรือ อยากได้บุญคุณ เช่น เขามาเอาหน้ากับฉันว่าเป็นคนเสนอชื่อฉัน ให้ได้รับรางวัล; เรียกการทํางานเฉพาะงานที่ผู้ใหญ่รู้เห็นเพื่อหวัง ประโยชน์ว่า ทํางานเอาหน้า.
  50. [1-49]

(0.0642 sec)