Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสียใจ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เสียใจ, 31 found, display 1-31
  1. พิลาลส : [ลาลด] ก. อยาก, กระหาย, เร่าร้อน; เศร้าโศก, เสียใจ; เขียนว่า พิลาลด หรือ พิลาลศ ก็มี. (ส. วิ + ลาลส).
  2. ลาลส : [ลาลด] ก. อยาก, กระหาย; เศร้าโศก, เสียใจ, เขียนว่า ลาลด หรือ ลาลศ ก็มี. (ป., ส. ลาลสา).
  3. ทุมโน : [ทุมมะโน] (แบบ; กลอน) ก. เสียใจ เช่น จะทุมโนโทมนัสน้อยใจ ไปไยนะน้องหญิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป.).
  4. มืออ่อนตีนอ่อน : ว. มีอาการหมดแรงเพราะรู้สึกตกใจ เสียใจ หรือเสียกําลังใจ เป็นต้น อย่างแรงและทันทีทันใด.
  5. โอหนอ : (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงความรําพึงในเวลาดีใจหรือ เสียใจ.
  6. เข่าอ่อน : ก. อาการที่เข่าหมดกําลังทรุดลง, โดยปริยายหมายถึงอาการ หมดแรงเพราะรู้เรื่องที่ทำให้เสียใจเป็นต้นในทันทีทันใด.
  7. คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
  8. ตัน ๑ : ว. ไม่กลวง, ไม่ทะลุตลอด, เช่น คลองตัน ตรอกตัน ท่อตัน; โดยปริยายหมายความว่า ติด ขัด, ไม่มีทางออก, เช่น ตําแหน่งตัน, ไม่ปลอดโปร่ง เช่น สมองตัน. ตันคอหอย (ปาก) ก. พูดไม่ออกด้วยความดีใจหรือเสียใจ. ตันปัญญา ก. จนปัญญา, คิดอะไรไม่ออก. ตันอกตันใจ ก. อึดอัดใจ, ตัดสินใจไม่ถูก.
  9. โทมนัส : [โทมมะ-] น. ความเสียใจ, ความเป็นทุกข์ใจ. (ป. โทมนสฺส).
  10. น้อยใจ, น้อยเนื้อต่ำใจ, น้อยอกน้อยใจ : ก. รู้สึกเสียใจที่ไม่ได้รับความ เป็นธรรมเป็นต้น.
  11. น้ำตาเช็ดหัวเข่า : (สํา) เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนัก.
  12. น้ำตาตกใน : (สํา) เศร้าโศกเสียใจอย่างมาก แต่ไม่แสดงให้ปรากฏ.
  13. ปริเทวนะ, ปริเทวะ : [ปะริเทวะ-] น. ความครํ่าครวญ, ความรําพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ. (ป.).
  14. ฟูมฟายน้ำตา : ก. เอามือทั้ง ๒ ข้างเช็ดน้ำตาที่ไหลอาบหน้าเพราะ ความเศร้าโศกเสียใจอย่างหนัก.
  15. ม่อย : ก. เคลิ้มหลับไปชั่วครู่ เช่น ม่อยไปหน่อยหนึ่ง. ว. เรียกอาการที่มีสีหน้าสลดแสดงว่า เสียใจว่า หน้าม่อย.
  16. ไม่ได้สิบ : (กลอน) ก. งงจนคิดอะไรไม่ออกหรือทําอะไรไม่ถูก เช่น ท้าวสามนต์ เสียใจไม่ได้สิบ. (สังข์ทอง).
  17. ระงม : ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม.
  18. รันทด : ก. สลดใจมาก มีจิตใจหวั่นไหวมากเพราะความโศกสลด, มักใช้เข้าคู่ กับคำอื่น เช่น รันทดสลดใจ รันทดท้อเสียใจไห้สะอื้น.
  19. รื่น : ว. ชื่น, สบาย, เช่น ฟังเสียงรื่นหู ดูทิวทัศน์รื่นตา เสียใจแต่แสร้งทำหน้ารื่น.
  20. ล้มทั้งยืน : ก. ล้มขณะที่ยืนอยู่ เช่น ถูกเตะล้มทั้งยืน เป็นลมล้มทั้งยืน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่สิ้นเนื้อประดาตัวหรือผิดหวังอย่าง รุนแรงโดยไม่เคยคาดค ทันทีทันใดโดยไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น พอ รู้ว่าลูกถูกรถทับตายเลยเสียใจแทบล้มทั้งยืน.
  21. ลูกเวรลูกกรรม : น. ลูกที่ทำให้พ่อแม่ต้องเสียอกเสียใจ หรือได้รับ ความเดือดร้อน.
  22. ว้า ๑ : อ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น. ว. คําออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า.
  23. เศร้าโศก : ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มากเช่น พ่อตาย ทำให้เขาเศร้าโศกเสียใจมาก, โศกเศร้า ก็ว่า.
  24. โศกเศร้า : ว. มีความทุกข์โศกเสียใจอาลัยอาวรณ์มาก เช่น พ่อตาย ทำให้เขาโศกเศร้าเสียใจมาก, เศร้าโศก ก็ว่า.
  25. สะอื้น : ก. ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ เพราะร้องไห้มากเนื่องจากเสียใจระทมใจ เป็นต้น, ถอนใจสะท้อนเป็นระยะ ๆ.
  26. หน้าม่อย : ว. มีสีหน้าสลดแสดงว่าเสียใจ เช่น เธอทำหน้าม่อยเพราะรีด เสื้อตัวสวยไหม้.
  27. หน้าสลด : น. หน้าแสดงความเศร้าเสียใจ.
  28. หน้าเสีย : ว. มีสีหน้าแสดงอาการพิรุธหรือตกใจ เสียใจเป็นต้น เช่น เขา หน้าเสียเพราะถูกจับได้ว่าทำความผิด.
  29. หักใจ : ก. ตัดใจไม่คิดในเหตุที่เกิดขึ้น, มักใช้กับเหตุการณ์ที่ทำให้เสียใจหรือ สูญเสียเป็นต้น.
  30. โหยหวน : ว. ลักษณะของเสียงที่คร่ำครวญด้วยความเสียใจหรือเจ็บปวด เป็นต้น ทำให้รู้สึกวังเวงใจ.
  31. อุทาน ๑ : น. เสียงหรือคําที่เปล่งออกมาเวลาตกใจ ดีใจ หรือเสียใจ เป็นต้น; ในไวยากรณ์เรียกคําหรือเสียงที่เปล่งออกมาเช่นนั้นว่า คําอุทาน. (ป., ส.).
  32. [1-31]

(0.0132 sec)