Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เสี่ยงอันตราย, อันตราย, เสี่ยง , then สยง, สยงอนตราย, เสี่ยง, เสี่ยงอันตราย, อนตราย, อนฺตราย, อันตราย .

Budhism Thai-Thai Dict : เสี่ยงอันตราย, 17 found, display 1-17
  1. อันตราย : ๑๐ เหตุฉุกเฉิน หรือเหตุขัดขวางต่างๆ เช่น เหตุขัดขวางการอุปสมบท ๘ อย่าง มีการเป็นโรคเรื้อน เป็นต้น
  2. อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ : เหตุที่จะทำให้ผู้บวชในธรรมวินัยนี้ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ได้ไม่ยั่งยืน มี ๔ อย่าง คือ ๑) อดทนต่อคำสั่งสอนไม่ได้ ๒) เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๓) ฝันใฝ่ทะยานอยากได้กามคุณ ๔) รักผู้หญิง
  3. ทัณฑกรรมนาสนา : ให้ฉิบหายด้วยการลงโทษ หมายถึงการไล่ออกจากสำนัก เช่น ที่ทำแก่กัณฑกสามเณร ผู้กล่าว ตู่พระธรรมเทศนาว่า ธรรมที่ตรัสว่าเป็นอันตราย ไม่สามารถทำอันตราย แก่ผู้เสพได้จริง
  4. นิรันตราย : ปราศจากอันตราย
  5. ปาฏิโมกข์ย่อ : มีพุทธานุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้ ในเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเหตุ ๒ อย่าง คือ ๑. ไม่มีภิกษุจำปาฏิโมกข์ได้จนจบ (พึงสวดเท่าอุเทศที่จำได้) ๒.เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่าอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้ง ๑๐ (กำลังสวดอุเทศใดค้างอยู่ เลิกอุเทศนั้นกลางคันได้ และพึงย่อตั้งแต่อุเทศนั้นไปด้วยสุตบท คือ คำว่า “สุต” ที่ประกอบรูปเป็น สุตา ตามไวยากรณ์ ทั้งนี้ยกเว้นนิทานุทเทสซึ่งต้องสวดให้จบ)
  6. ภยันตราย : ภัยและอันตราย, อันตรายที่น่ากลัว
  7. มฤคทายวัน : ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ หมายความว่าห้ามทำอันตรายแก่สัตว์ในป่านี้ เขียน มิคทายวัน ก็ได้ เช่น อิสิปตนมฤคทายวัน มัททกุจฉิมิคทายวัน เป็นต้น
  8. มิตรแท้ : มิตรด้วยใจจริง มี ๔ พวก ได้แก่ ๑.มิตรอุปการะ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน ๒.เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์ของเพื่อน ๓.เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้ ๔.มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก ๒.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.บอกความลับแก่เพื่อน ๒.ปิดความลับของเพื่อน ๓.มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง ๔.แม้ชีวิตก็สละให้ได้ ๓.มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.จะทำชั่วเสียหายคอยห้ามปรามไว้ ๒.คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี ๓.ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง ๔.บอกทางสุขทางสวรรค์ให้ ๔.มิตรมีน้ำใจ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.เพื่อนมีทุกข์ พลอยทุกข์ด้วย ๒.เพื่อนมีสุข พลอยดีใจ ๓.เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้ ๔.เขาสรรเสริญเพื่อ ช่วยพูดเสริมสนับสนุน
  9. โยคเกษม : “ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ” ความหมายสามัญว่าความปลอดโปร่งโล่งในหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตรายหรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัว มาถึงสถานที่ปลอดภัย; ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก ดู โยคะ, เกษมจากโยคธรรม
  10. โยคเกษมธรรม : ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ความหมายสามัญว่าความปลอดโปร่งโล่งในหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตรายหรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัว มาถึงสถานที่ปลอดภัย; ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก ดู โยคะ, เกษมจากโยคธรรม
  11. วัจกุฎีวัตร : ข้อปฏิบัติอันภิกษุพึงกระทำในวัจกุฎี, ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้ใช้ส้วม โดยย่อมี ๗ ข้อ คือ ใช้ตามลำดับผู้ไปถึง, รักษากิริยาในการจะเข้าจะออกให้สุภาพเรียบร้อยและไม่ทำเสียงดัง, รักษาบริขารคือจีวรของตน, รักษาตัวเช่นไม่เบ่งแรง ไม่ใช้สิ่งที่จะเป็นอันตราย, ไม่ทำกิจอื่นไปพลาง, ระวังไม่ทำสกปรก, ช่วยรักษาความสะอาด
  12. เวสารัชชญาณ : พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรม ในฐานะทั้ง ๔ คือ ๑.ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว ๒.ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะนี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว ๓.ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ๔.ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบได้จริง
  13. สลาก : เครื่องหมายหรือวัตถุที่ใช้ในการเสี่ยงโชค เช่น สลากภัต ก็ได้แก่อาหารที่เขาถวายสงฆ์โดยเขียนชื่อเจ้าภาพลงในกระดาษใบละชื่อ ม้วนรวมคละกันเข้าแล้วให้ภิกษุทั้งหลายจับตามลำดับพรรษากันมา หรือเขียนเลขหมายไว้ที่ของจำนวนหนึ่ง ภิกษุจับได้สลากของผู้ใดก็ได้รับอาหารของทายกนั้น; ฉลาก ก็เรียก
  14. สวัสดิ์ : ความดีความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง, ความปลอดโปร่ง, ความปลอดภัยไร้อันตราย
  15. สวัสดี : ความดีความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง, ความปลอดโปร่ง, ความปลอดภัยไร้อันตราย
  16. อาถรรพณ์ : เวทมนตร์ที่ใช้เพื่อให้ดีหรือร้าย, วิชาเสกเป่าป้องกัน, การทำพิธีป้องกันอันตรายต่างๆ ตามพิธีพราหมณ์ เช่น พิธีฝังเสาหิน หรือ ฝังบัตรพลี เรียกว่า ฝังอาถรรพณ์ (สืบเนื่องมาจากพระเวทคัมภีร์ที่ ๔ คืออถรรพเวท หรือ อาถรรพณเวท) อาถรรพ์ ก็ใช้
  17. อารักขสัมปทา : ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรักษาทรัพย์ที่แสดงหามาได้ ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตรายและรักษาการงานไม่ให้เสื่อมเสียไป (ข้อ ๒ ในทิฏฐธัมมิกัตถฯ)

(0.0208 sec)