Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เอะอะโวยวาย, โวยวาย, เอะอะ , then วยวาย, โวยวาย, ออ, ออวยวาย, เออ, เอะอะ, เอะอะโวยวาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เอะอะโวยวาย, 86 found, display 1-50
  1. โวยวาย : ก. ส่งเสียงร้องเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่ พอใจ เป็นต้น เช่น พอประกาศเงินเดือนขึ้นอีกกลุ่มก็โวยวาย. ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความไม่พอใจ เป็นต้น เช่น เขาไม่ได้เงินเดือนขึ้นก็ส่งเสียงโวยวาย, กระโวยกระวาย ก็ว่า.
  2. เอะอะ : ก. อึกทึก, ทําเสียงดังโวยวาย; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น เอะอะก็ไป เอะอะก็ด่า, อึกอัก ก็ว่า.
  3. กระโวยกระวาย : ว. อาการที่ส่งเสียงเอะอะเป็นการประท้วงหรือแสดงความ ไม่พอใจเป็นต้น, โวยวาย ก็ว่า.
  4. เอะอะมะเทิ่ง : (ปาก) ก. ส่งเสียงดัง, เอ็ดตะโรโดยไม่เกรงใจผู้อื่น.
  5. เงียบ ๆ : ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
  6. เจ๊กตื่นไฟ : (ปาก) ว. ตื่นตกใจและเอะอะโวยวายเกินกว่าเหตุ.
  7. มึงวาพาโวย : ก. พูดจาเอะอะโวยวาย.
  8. โหวกเหวก : [โหฺวกเหฺวก] ว. มีเสียงดังเอะอะโวยวาย เช่น เรียกกันโหวกเหวก ตะโกน โหวกเหวก.
  9. เออ : อ. คําที่เปล่งออกมาเพื่อบอกรับหรืออนุญาต, มักเป็นคําที่ผู้ใหญ่ ใช้กับผู้น้อย หรือระหว่างเพื่อนที่สนิทสนมกัน, คําที่เปล่งออกมา แสดงว่านึกเรื่องที่จะถามหรือจะพูดขึ้นได้.
  10. อึกอัก : ว. อาการที่พูดไม่ออก ติดกึกกักอยู่ในคอเพราะกลัวหรือประหม่า เป็นต้น, กระอึกกระอัก หรือ อึก ๆ อัก ๆ ก็ว่า; เสียงอย่างเสียง ทุบกัน; ทันทีทันใด, ปุบปับ, ไม่ทันไตร่ตรอง, ไม่บอกกล่าวเล่าแจ้ง, เช่น อึกอักก็ไป อึกอักก็ด่า, เอะอะ ก็ว่า.
  11. พิษสุนัขบ้า : น. โรคติดเชื้อไวรัสของระบบประสาท ติดต่อจาก นํ้าลายของสุนัขหรือแมวที่เป็นโรคนี้ ผู้ป่วยมีอาการเนื่องจาก สมองอักเสบ มีไข้ เอะอะ ซึม กลืนอาหารลําบากโดยเฉพาะนํ้า ถึงตายเกือบทุกรายในระยะเวลาประมาณ ๑ สัปดาห์, โรคกลัวนํ้า ก็เรียก.
  12. ทีฆสระ : น. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทย ได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.
  13. อ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้น ได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่าง อักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียง อักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็น เครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ''ประสมกับเครื่องหมาย เป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
  14. กะเปิ๊บกะป๊าบ : (ปาก) ว. พูดเสียงดังเอะอะและไม่ระมัดระวังวาจาหรือท่าทาง, มีกิริยาท่าทางหรือแต่งตัวรุงรังไม่เรียบร้อย.
  15. กาหล : [-หน] (แบบ) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา. (กำสรวล).
  16. เจี๊ยว ๑ : (ปาก) ก. ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิง หรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า; ก่อเรื่องวุ่นวาย, เอะอะอาละวาด. ว. อาการที่ ส่งเสียงดังเซ็งแซ่ก่อให้เกิดความรำคาญ โดยมากเป็นเสียงผู้หญิงหรือเด็ก, เจี๊ยวจ๊าว ก็ว่า.
  17. โฉงเฉง : ว. เอะอะเอ็ดอึงเป็นทํานองเกะกะเกเร เช่น พูดจาโฉงเฉง.
  18. ทะลึ่งตึงตัง : ก. มีกิริยามารยาทไม่เรียบร้อย ส่งเสียงเอะอะ.
  19. บ๊งเบ๊ง : (ปาก) ว. ทําเสียงเอะอะ, ทําเสียงเอะอะจนฟังแทบไม่ได้ศัพท์.
  20. ร้องแรก, ร้องแรกแหกกระเชอ : ก. ร้องเอ็ดตะโร, ส่งเสียงโวยวายให้ผู้อื่นรู้.
  21. โล้เล้ : (ปาก) ว. ส่งเสียงเอะอะจนฟังไม่ได้ศัพท์ เช่น พ่อค้าส่งเสียงโล้เล้.
  22. ว่า : ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.
  23. โวย : (ปาก) ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิด เดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม; เปิดเผยให้รู้ทั่วไป เช่น อย่าโวย เรื่องนี้ให้ใคร ๆ รู้เดี๋ยวเขาเสียหาย.
  24. หมาเห่าใบตองแห้ง : (สํา) น. คนที่ชอบพูดเอะอะแสดงว่าเก่ง แต่ไม่กล้าจริง.
  25. หมาเห่าไม่กัด : (สำ) น. คนที่ดีแต่ส่งเสียงเอะอะอวดเก่ง แต่ไม่ยอมต่อสู้ หรือตอบโต้.
  26. ออ ๑ : ก. รวมกันเป็นกลุ่ม, คั่งกันอยู่, เช่น คนอออยู่หน้าประตู.
  27. ออ ๒ : (โบ) น. คํานําหน้าชื่อผู้ชายที่ตนพูดด้วยหรือพูดถึง เช่น ออมั่น ออคง.
  28. ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่า และออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคํา ออกยักษ์ เป็น ออกยักษ์ ออกโขน.
  29. ออกงิ้ว : ก. แสดงอาการโกรธโดยทําท่าทางและส่งเสียงเอะอะตึงตัง อย่างเล่นงิ้ว.
  30. ออกยักษ์ออกโขน : ก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่าง เล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ.
  31. อาละวาด : ก. ทําเกะกะระราน, แสดงอาการดุร้าย เอะอะตึงตัง หรือคลุ้มคลั่ง, เช่น เมาสุราอาละวาด ช้างตกมันอาละวาด.
  32. อึงคะนึง : ว. เอะอะ, อื้ออึง.
  33. เอ็ด ๒ : ก. ทําเสียงดัง, ดุ, ดุเสียงดัง; แพร่งพราย; มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่าเอ็ดไป. ว. เอะอะ, อึกทึก.
  34. เอ็ดอึง : ว. เอะอะอื้ออึง.
  35. เออ ๆ คะ ๆ : ก. รับฟังโดยไม่ขัดคอ, รับฟังไปตามเรื่องตามราว โดยไม่แสดงความคิดเห็น, เช่น ฉันก็เออ ๆ คะ ๆ ไปอย่างนั้นแหละ.
  36. ออเจ้า : (โบ) ส. คําใช้แทนชื่อผู้ที่เราพูดด้วย เช่น ทชีก็ปรับทุกข์ร้อน ทางจะอวดมีว่า ออเจ้าเอ๋ยออเจ้าเราค่อยมั่งมีขึ้นถึงเพียงนี้มีเสียกว่า ออเจ้า. (ม. คําหลวง ชูชก), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
  37. เออแน่ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความพิศวงว่า ไม่น่าจะเป็น อย่างนั้น.
  38. เพียงออ : น. ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่งเสียงทุ้ม.
  39. เอ่อ : ว. เริ่มไหลขึ้น, มีระดับสูงขึ้น, (ใช้แก่นํ้าในแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น).
  40. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  41. อรชร : [ออระชอน] ว. งามอย่างเอวบางร่างน้อย, มักใช้เข้าคู่กับคำ อ้อนแอ้น เป็น อรชรอ้อนแอ้น.
  42. อรชุน : [ออระชุน] น. ไม้รกฟ้า; สีขาว. ว. ขาว; ใส. (ส. อรฺชุน; ป. อชฺชุน).
  43. อรทัย : [ออระไท] น. หญิงสาว, สาวรุ่น, สาวงาม.
  44. อรไท : [ออระไท] น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียกนางกษัตริย์), ใช้ว่า อ่อนไท้ ก็มี.
  45. อรธาน : [ออระ] (โบ) ว. ที่ปล่อยปละละไว้โดยไม่หวงแหน เช่น ของอรธาน.
  46. อรนุช : [ออระ] น. หญิงงาม.
  47. อรพินท์ : [ออระ] น. ดอกบัว, (โบ) เขียนเป็น อรพินธุ ก็มี เช่น อันประดับ ด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนประเวศน์). (ป., ส. อรวินฺท).
  48. อรพิม : [ออระ] ดู คิ้วนาง.
  49. อรสุม : [ออระ] น. ไอนํ้า. (ป. อุสุม).
  50. อรหัน : [ออระ] น. ชื่อสัตว์ในนิยาย มี ๒ เท้า มีปีกคล้ายนก หัวคล้าย หัวคน; ผู้วิเศษ.
  51. [1-50] | 51-86

(0.1124 sec)