Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แก้ไข , then กข, แก้ไข .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แก้ไข, 41 found, display 1-41
  1. แก้ไข : ก. ทําส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, แก้ ก็ว่า.
  2. เยียวยา : ก. บําบัดโรค, แก้โรค, เช่น ไม่มีหมอจะมาเยียวยาได้; แก้ไข, ทําให้ดีขึ้น, เช่น เศรษฐกิจกำลังทรุดหนัก ยากที่จะเยียวยาได้.
  3. แก้ ๒ : ก. ทําให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทําให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทําให้ดีขึ้น, ทําให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทําให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.
  4. ศาลอุทธรณ์ : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นสูงถัดจากศาลฎีกาลงมา ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจพิจารณาพิพากษา บรรดาคดีที่อุทธรณ์คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลชั้นต้นตามบท บัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์และว่าด้วยเขตอํานาจศาล และมีอำนาจพิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของ ศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต เมื่อคดีนั้นได้ส่งขึ้นมายังศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค วินิจฉัย ชี้ขาดคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตาม กฎหมาย และวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค มีอํานาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นด้วย.
  5. กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
  6. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ : (สำ) ว. ลักษณะของการทำงานที่มีความลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงทีเมื่อได้อย่างหนึ่ง แต่ต้องเสียอีกอย่าง หนึ่งไป ดุจเอาถั่วกับงามาคั่วพร้อมกัน กว่าจะคั่วจนถั่วสุก งาก็จะไหม้หมดไปก่อน.
  7. แก้ฟ้อง : (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่ คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อ ต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
  8. ขยับขยาย : [-ขะหฺยาย] ก. แก้ไขให้คลายความลําบากหรือความ คับแคบเป็นต้น เพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์.
  9. ขัดตาทัพ : ก. ยกทัพไปตั้งชั่วคราว กันไม่ให้ข้าศึกรุกลํ้าเข้ามา; (ปาก) แก้ไขไปพลาง ๆ ก่อน.
  10. ขีดฆ่า : (กฎ) ก. ขีดเส้นตัดข้อความในเอกสารออกและลงลายมือ ชื่อกำกับเพื่อแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อความนั้น; ตามประมวล รัษฎากร หมายความว่า การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกโดยขีด เส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวันเดือนปีที่ขีดฆ่าไว้ด้วย.
  11. เข้าตาจน : ก. หมดทางไป, หมดทางที่จะแก้ไข, หมดหนทางหากิน. (มาจากภาษาหมากรุก).
  12. เข้าปิ้ง : ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ใน ความลําบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย.
  13. ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่น กว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึก แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรม เลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้. (อ. superiority feeling); ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถ เหนือกว่าผู้อื่น.
  14. ความรู้สึกด้อย : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึกและผู้นั้นไม่จําเป็นต้องมี ปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อ มั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).
  15. คำฟ้อง : (กฎ) น. กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาล ไม่ว่าจะเสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะเสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้อง หรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไขหรือ ฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดี ไม่ว่าด้วยสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่.
  16. คิดอ่าน : ก. ตริตรองหาทางแก้ไข.
  17. จิตบำบัด : [จิดตะ-, จิด-] น. วิธีรักษาผู้ป่วยหรือผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจ undefined ด้วยวิธีที่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสนทนากับผู้ที่มารับการรักษา เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของโรคหรือปัญหาแล้วหาทางแก้ไข. (อ. psychotherapy).
  18. ฉุกเฉิน : ว. ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน เช่น เหตุฉุกเฉิน, ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่ง ราชอาณาจักร เช่น ภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ฉุกเฉิน.
  19. เฉพาะหน้า : ว. ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ และจะต้องรีบแก้ไขให้ทันท่วงที เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า เหตุการณ์เฉพาะหน้า.
  20. ชำระ : ก. ชะล้างให้สะอาด เช่น ชําระร่างกาย; สะสาง, ปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น, เช่น ชําระพระไตรปิฎก ชำระพจนานุกรม; พิจารณาตัดสิน เช่น ชําระความ; ใช้ในคําว่า ชําระหนี้.
  21. ซ่อมแซม : ก. แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมของที่ชํารุดให้กลับคืน สู่สภาพเดิม.
  22. ซ่อมแปลง : ก. แก้ไขดัดแปลงของที่ชํารุดให้คืนดี.
  23. ดัดแปลง : [-แปฺลง] ก. แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม, เปลี่ยนจากรูปเดิม โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย, เช่น ดัดแปลงเรือนชั้นเดียวให้เป็น ๒ ชั้น; (กฎ) เปลี่ยนแปลงต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนนํ้าหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างของอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซม หรือการดัดแปลงที่กําหนดในกฎกระทรวง; ทําซํ้าโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม หรือจําลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสําคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทํางานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.
  24. ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.
  25. ทั้งดุ้น : ว. ทั้งหมดโดยมิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือตัดแบ่งเลย เช่น ลอกมาทั้งดุ้น.
  26. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา : [ปะติพานะ-] น. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในปฏิภาณ คือ ความเข้าใจทำให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ได้ในเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือกล่าวโต้ตอบได้ทันท่วงที. (ป.).
  27. ปรับปรุง : ก. แก้ไขให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น.
  28. ปัญหา : น. ข้อสงสัย, ข้อขัดข้อง, เช่น ทําได้โดยไม่มีปัญหา, คําถาม, ข้อที่ควรถาม, เช่น ตอบปัญหา, ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาทางการเมือง. (ป.).
  29. แปลง ๒ : [แปฺลง] ก. เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป, เปลี่ยนรูปทั้งหมด ให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น ยักษ์แปลงเป็นมนุษย์, จําแลง ก็ว่า, เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน เช่น คนดีแปลงเป็นคนง่อย, เปลี่ยน จากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย เช่น เรือนชั้นเดียว แปลงให้เป็น ๒ ชั้น, ดัดแปลง ก็ว่า; ทํา เช่น แปลงขวัญ.
  30. ผงเข้าตาตัวเอง : (สํา) น. เมื่อปัญหาหรือความเดือดร้อนเกิดแก่ผู้อื่น ช่วยแก้ไขให้เขาได้แต่เมื่อเกิดแก่ตน กลับแก้ไขไม่ได้.
  31. พิธีสาร : (กฎ) น. ความตกลงระหว่างประเทศอย่างหนึ่ง ได้แก่ ตราสารอันบรรจุไว้ซึ่งความตกลงที่มีความสําคัญรองลงมาจาก สนธิสัญญาและอนุสัญญา โดยมากเป็นพิธีสารต่อท้ายหรือแก้ไข เพิ่มเติมสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา. (อ. protocol).
  32. พิสูจน์อักษร : ก. ตรวจและแก้ไขที่ผิดในการพิมพ์หนังสือ.
  33. เพิ่มเติม : ก. เสริมหรือเติมของที่มีอยู่แต่ยังไม่สมบูรณ์ให้มีมากหรือ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่น ศึกษาเพิ่มเติม แก้ไขเพิ่มเติม.
  34. ไม้เป็น : น. ท่าสําคัญของกระบี่กระบองหรือมวยในการป้องกันตัวโดยใช้ปฏิภาณ ไหวพริบแก้ไขให้พ้นภัยจากปรปักษ์เมื่อคราวเข้าที่คับขัน, ตรงข้ามกับ ไม้เด็ด หรือ ไม้ตาย.
  35. เรียนผูกต้องเรียนแก้ : (สํา) ก. รู้วิธีทําก็ต้องรู้วิธีแก้ไข, รู้กลอุบายทุกทาง ทั้งทางก่อและทางแก้.
  36. วัวหายล้อมคอก : (สํา) น. ของหายแล้วจึงจะเริ่มป้องกัน, เรื่องเกิดขึ้นแล้วจึงคิดแก้ไข.
  37. โศธนะ : น. การชําระ, การทําให้หมดจด, การทําให้สะอาด; การแก้ไข, การตรวจตรา, การชําระสะสาง. (ส.; ป. โสธน).
  38. สะระตะ : (แบบ) ก. เก็งหรือคาดหมายเอาโดยยึดเค้าเดิมเป็นหลัก เช่น ข้าพระพุทธเจ้าคิดสะระตะอยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไรดี. (หนังสือ เจ้าพระยาพระเสด็จฯ กราบบังคมทูล ร. ๕), สรตะ ก็ว่า.
  39. อนุโลม : ก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้ โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลําดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ ปฏิโลม คือ ย้อนลําดับ. (ป., ส.).
  40. อัศวินม้าขาว : (สำ) น. ผู้ที่มาช่วยแก้ไขสถานการณ์ที่คับขันให้กลับดีขึ้น.
  41. ข้าวกลาง : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ออกรวงหลังข้าวเบา คือในช่วงกลางเดือน ตุลาคมถึงปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางเดือน พฤศจิกายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ พันธุ์ข้าว กข ๖.
  42. [1-41]

(0.0478 sec)