Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แจก , then จก, แจก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แจก, 54 found, display 1-50
  1. แจก : ก. แบ่งหรือปันให้แก่คนหลาย ๆ คน เช่น แจกเสื้อผ้า แจกสตางค์; กระจายออก, แยกออก, เช่น แจกออกเป็นแม่ ก กา.
  2. แจกจ่าย : ก. แบ่งปันให้ไปทั่ว ๆ.
  3. แจกไพ่ : ก. แบ่งไพ่ให้แก่ผู้เล่นทุกคนตามกําหนดกฎเกณฑ์.
  4. จำหน่าย : ก. ขาย, จ่าย, แจก, แลกเปลี่ยน, โอน; เอาออก เช่น จําหน่ายจากบัญชี. (แผลงมาจาก จ่าย).
  5. จก : ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
  6. ข้าวแจก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวที่ทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย.
  7. จำแนก : ก. แจก, แบ่ง, แยกออก, เช่น จําแนกออกเป็น ๓ อย่าง. (แผลงมาจาก แจก).
  8. ก กา : น. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด ว่า แม่ ก กา หรือมาตรา ก กา.
  9. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  10. คำเทียบ : น. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ ป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็น คำเทียบของแม่ กง.
  11. จีวรภาชก : (แบบ) น. ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมุติให้เป็นเจ้าหน้าที่ แจกจีวรที่สงฆ์ได้มาให้แก่ภิกษุ. (ป., ส.).
  12. แจรก : [แจฺรก] (กลอน) ก. แจก, แตกออก, กระจายออก, แยกออก.
  13. เฉลี่ย : [ฉะเหฺลี่ย] ก. แบ่งส่วนให้เท่ากัน, แจกจ่ายให้ทั่วกัน. ว. ที่ถัวให้มีส่วน เสมอกัน เช่น รายเฉลี่ย.
  14. ทรัพย์สมบัติ : น. ทรัพย์สินที่อยู่ในครอบครองอันอาจใช้สอย แจกจ่ายได้.
  15. บริจาค : [บอริจาก] ก. สละให้, เสียสละ. น. การสละ, การให้, การแจก, ความ เสียสละ, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม). (ป. ปริจฺจาค).
  16. บริดจ์ : [บฺริด] น. กีฬาในร่มชนิดหนึ่ง มีผู้เล่น ๔ คน โดยแบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๒ คน ใช้ไพ่ป๊อกเต็มทั้งสํารับแจกให้คนละ ๑๓ ใบ. (อ. bridge).
  17. ปูน ๓ : ก. แจก, ปัน, ให้, เช่น ปูนบําเหน็จ.
  18. แป้งสด : น. นํ้าอบกับแป้งรํ่านํ้าดอกไม้เทศใช้ชุบผ้าห่อใบตอง สําหรับแจก; แป้งที่ทําขึ้นใช้ได้ทันที ไม่ต้องหมักหรือตากแห้ง เช่น ขนมจีนแป้งสด ขนมบัวลอยแป้งสด, ตรงข้ามกับ แป้งหมัก.
  19. โป๊กเกอร์ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก มักเล่นเป็นกลุ่ม ๔ คน เจ้ามือ แจกไพ่ควํ่าคนละ ๕ ใบ ทุกคนมีสิทธิ์ขอเปลี่ยนไพ่ครั้งเดียว ผู้ใด ถือไพ่รวมได้แต้มหรือศักดิ์สูงกว่าตามกติกา ผู้นั้นชนะ. (อ. poker).
  20. ผู้โฆษณา : (กฎ) น. บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการผลิตสิ่งพิมพ์และ จัดให้สิ่งพิมพ์นั้นแพร่หลายด้วยประการใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดย การขาย เสนอขาย จ่ายแจก หรือเสนอจ่ายแจกและไม่ว่าการนั้น จะเป็นการให้เปล่าหรือไม่.
  21. เผ : น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้ไพ่ป๊อก มักเล่นกัน ๔ คน เจ้ามือแจกไพ่ ควํ่า ๑ ใบแรก แล้วแจกไพ่หงายอีก ๔ ใบ ก็มี แจกไพ่หงายใบที่ ๒ และที่ ๓ เหลือนอกนั้นแจกควํ่า ก็มี ผู้ใดถือไพ่รวมได้แต้มหรือศักดิ์ สูงกว่าตามกติกา ผู้นั้นชนะ.
  22. ฝนตกไม่ทั่วฟ้า : (สํา) ก. ให้หรือแจกจ่ายอะไรไม่ทั่วถึงกัน.
  23. พิภัช : ก. แจก, แบ่ง. (ป., ส. วิภช).
  24. พิภาค : น. การแจก, การแบ่ง. (ป., ส. วิภาค).
  25. ไพ่ป๊อก : น. ชื่อไพ่ชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชุดหนึ่งมี ๕๒ ใบ ใช้เล่นการพนันได้หลายอย่าง เช่น บริดจ์ โป๊กเกอร์ หรือใช้ทํานาย โชคชะตาได้ด้วย; การพนันชนิดหนึ่งเจ้ามือแจกไพ่ให้คนละ ๒ ใบ แล้วเรียกไพ่ได้อีก รวมแล้วไม่เกิน ๕ ใบ และจะจ่ายเงินให้คนที่ได้ แต้มสูงกว่า และกินเงินคนที่ได้แต้มตํ่ากว่าตามกติกา.
  26. ภาชนีย– : [พาชะนียะ–] (แบบ) น. ของควรแจก, ของควรแบ่ง. ว. ควรแจก, ควรแบ่ง. (ป.).
  27. มาตรา : [มาดตฺรา] น. หลักกําหนดการวัดขนาด จํานวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระ โดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่ วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกด อยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ใน มาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือ แม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด จัดอยู่ ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากม หรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติใน กฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกํากับเรียงตามลําดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.
  28. โรงทาน : น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไปเป็นการกุศล.
  29. วิทยาทาน : น. การให้ความรู้ เช่น ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน จัดพิมพ์หนังสือแจกเป็นวิทยาทาน.
  30. ศาลาฉทาน : [ฉ้อทาน] น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไป เป็นการกุศล, ฉทานศาลา ก็เรียก.
  31. เศรษฐกิจ : [เสดถะกิด] น. งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน. (ส. เศฺรษฺ? + กิจฺจ).
  32. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  33. สังคมนิยม : [สังคมมะ, สังคม] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มี หลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจน การจําแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
  34. หว่าน : ก. โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดย ปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน.
  35. กระยาจก : (ปาก) น. ยาจก, คนขอทาน, เช่น ตัวอ้ายพราหมณ์เถ้ากระยาจก. (มโนห์รา). (กระ + ป. ยาจก).
  36. นรกจกเปรต : น. คนที่เหี้ยมโหด คล้ายกับเปรตมาจากนรก.
  37. ยาจก, ยาจนก : [จก, จะนก] น. คนขอทาน. (ป., ส.).
  38. กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  39. กระจอก ๒ : (โบ) น. เล็บ เช่น กระจอกสอกายใหญ่หน้าเล็กลาน หล็อนแฮ. (ตําราช้างคําโคลง). (ข. กฺรจก ว่า เล็บ).
  40. กระจอก ๓ : ว. เขยก (ใช้แก่ขา). (ข. ขฺจก ว่า ขาพิการ); (ปาก) ไม่สำคัญ, เล็กน้อย, เช่น เรื่องกระจอก, .ต่ำต้อย เช่น คนกระจอก.
  41. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  42. ขจอก : [ขะ-] ว. กระจอก, ง่อย, ขาเขยก. (ข. ขฺจก ว่า ขาเขยก, พิการ).
  43. จะกรุน, จะกรูน : ว. สีดํา, โบราณเขียนเป็น จกรูน ก็มี เช่น ช้างสารชํานิเมามัน หลากหลาก หลายพรรณ แลหน้าจกรูนแสงนิล. (อนิรุทธ์).
  44. จำรูญ : ว. รุ่งเรือง, งาม, เช่น ลางหมู่หน้าแดงจกูรล ดูจำรูญจกราด. (ม. คำหลวง มหาราช). (แผลงมาจาก จรูญ).
  45. ธัญเบญจก : [ทันยะเบนจก] น. ธัญชาติทั้ง ๕ ได้แก่ ๑. ศาลิ ข้าวสาลี ๒. วฺรีหิ ข้าวเปลือก ๓. ศูก ลูกเดือย ๔. ศิมฺพี ถั่ว ๕. กฺษุทฺร ข้าวกษุทร. (ป. ปญฺจก).
  46. นิคาหก, นิคาหก : [หก, หะกะ] ว. ผู้ใช้วาจาหยาบ เช่น ผู้เป็นยาจกทลิทเชษฐชาติเชื้อ นิคาหกพราหมณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. นิคฺคาหก ว่า ผู้ข่มขู่).
  47. บัญจก : [บันจก] น. หมวด ๕, ประชุม ๕, เช่น ขันธบัญจก. (ป. ปญฺจก).
  48. บาจก : (แบบ) น. พ่อครัว, แม่ครัว ใช้ว่า บาจิกา. (ป. ปาจก).
  49. เบญจก : [เบนจก] น. หมวด ๕. (ป. ปญฺจก).
  50. ปัญจก, ปัญจกะ : [ปันจก, -จะกะ] (แบบ) น. เบญจก, หมวด ๕. (ป.).
  51. [1-50] | 51-54

(0.0600 sec)