Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แนะ , then แน, แนะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แนะ, 39 found, display 1-39
  1. แนะ : ก. ชี้แนวทางหรือวิธีการให้รู้โดยตรงหรือโดยอ้อม เช่น แนะให้ไปหา หมอ แนะให้รู้เป็นนัย ๆ.
  2. กระแนะกระแหน : [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน ก็ว่า.
  3. ข้อเสนอแนะ : น. ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำที่เสนอเพื่อพิจารณา.
  4. กระแหนะกระแหน : [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็น เชิงเสียดสี, กระแนะกระแหน ก็ว่า.
  5. ชักสื่อ : ก. แนะนําชายหญิงให้รู้จักกันในฐานชู้สาว.
  6. ชี้ : น. เรียกนิ้วที่ ๒ นับแต่หัวแม่มือว่า นิ้วชี้. ก. เหยียดนิ้วชี้ เป็นต้นตรงไปที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้เห็นสิ่งที่ต้องการ, เหยียดตรง เช่น หางชี้; แนะนํา, บอกให้, เช่น ชี้ทาง.
  7. ชี้ช่อง : ก. แนะลู่ทางให้.
  8. ซักซ้อม : ก. สอบให้แม่นยํา, สอบให้คล่อง, แนะกันไว้ล่วงหน้า, ซ้อมซัก ก็ว่า.
  9. ตัก ๒ : ก. เอาภาชนะช้อนสิ่งของขึ้นจากที่เดิม เช่น ตักนํ้า ตักแกง ตักดิน. ตักตวง ก. หาประโยชน์ใส่ตัว, กอบโกยมาเป็นของตนเมื่อมีโอกาส. ตักน้ำรดหัวตอ (สํา) ก. แนะนําพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล, ตักนํ้ารดหัวสาก ก็ว่า. ตักน้ำรดหัวสาก (สํา) ก. แนะนําพรํ่าสอนเท่าไรก็ไม่ได้ผล เช่น นํ้ารดหัวสาก สอนเด็ก ปากมาก เลี้ยงลูกใจแข็ง. (สุบิน กลอนสวด), ตักนํ้ารดหัวตอ ก็ว่า. ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา (สํา) ก. ให้รู้จักฐานะของตนและเจียมตัว. ตักบาตร ก. เอาของใส่บาตรพระ. (เทียบ ข. ฎาก่ ว่า วางลง). ตักบาตรอย่าถามพระ (สํา) ก. จะให้อะไรแก่ผู้ที่เต็มใจรับอยู่แล้ว ไม่ควรถาม.
  10. ถามนำ : (กฎ) ก. การถามพยานโดยแนะคําตอบไว้ในคําถามนั้นด้วย.
  11. นําเที่ยว นําไป นํามา. : ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว ในคําว่า ซักนํา ถามนํา.
  12. นามบัตร : [นามบัด] น. แผ่นกระดาษค่อนข้างแข็งและเล็กเป็นต้นที่พิมพ์ บอกชื่อตัว นามสกุล หรือที่อยู่ที่ทํางานไว้เพื่อแนะนําตัวเป็นต้น.
  13. นิติ : [นิติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบ ธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  14. นีติ : (แบบ; เลิก) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส.).
  15. เนติ : [เนติ] (แบบ) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  16. แนะนำ : ก. ชี้แจงให้ทําหรือปฏิบัติ เช่น แนะนําให้ทําความดี แนะนํา ในการใช้ยา; บอกให้รู้จักกันตามธรรมเนียม.
  17. แนะแนว : ก. แนะนําแนวทางว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร.
  18. แนะแหน : [แหฺน] ก. แนะ, พูดเสนอให้ชอบใจ.
  19. บอก ๒ : ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.
  20. บอกใบ้ : ก. แนะด้วยอุบาย, บอกเป็นเลศนัย.
  21. บ้าจี้ : ว. อาการที่พูดหรือแสดงโดยขาดสติเมื่อถูกจี้ทําให้ตกใจ, ทําตามโดยปราศจากการไตร่ตรองเมื่อถูกยุหรือแนะ.
  22. ใบ้ : ว. ไม่สามารถจะพูดเป็นถ้อยคําที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจได้, โดยปริยาย หมายความว่า นิ่งไม่พูด เช่น นั่งเป็นใบ้. ก. แสดงกิริยาท่าทางแทน ถ้อยคํา เช่น ภาษาใบ้; แนะด้วยอุบาย เช่น บอกใบ้, บอกเลศนัย เช่น ใบ้หวย.
  23. ปฐมนิเทศ : [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. การแนะนําชี้แนวเพื่อการศึกษา และการทํางานในเบื้องต้น.
  24. ประศาสน์ : [ปฺระสาด] น. การแนะนํา, การสั่งสอน; การปกครอง, การงําเมือง, การสั่ง. (ส. ปฺรศาสน; ป. ปสาสน).
  25. ปรึกษา : [ปฺรึกสา] ก. หารือ, ขอความเห็นแนะนํา, พิจารณาหารือกัน, พิจารณาอภิปรายกัน เช่น ประชุมปรึกษา, พิจารณาร่างคําพิพากษา เช่น ผู้ปรึกษา (ในทางศาล). น. เรียกความเห็นแนะนําที่ให้เนื่อง ด้วยการหารือว่า คําปรึกษา, เรียกผู้มีหน้าที่ให้ความเห็นแนะนําว่า ที่ปรึกษา, เรียกผู้รับหารือเพื่อให้ความเห็นแนะนําว่า ผู้รับปรึกษา. (ส. ปรีกฺษา).
  26. พระราชบัญญัติ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดย คําแนะนําและยินยอมของรัฐสภา.
  27. พินิต : ก. แนะนํา, สั่งสอน, ปกครอง. (ป., ส. วินีต).
  28. พิเนต : ก. พินิต, แนะนํา, สั่งสอน, ปกครอง.
  29. โภชนากร : [โพชะนา–, โพดชะนา–] น. ผู้ที่มีความรู้เรื่องโภชนาการแล้ว สามารถให้ความรู้และคําแนะนําในเรื่องอาหารแก่บุคคลอื่นต่อไปได้.
  30. มนตรี : น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนํา, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยม ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี. (ส.; ป. มนฺตี).
  31. ลูกมือ : น. ผู้ทําการตามคําแนะนําของหัวหน้า เช่น ลูกมือทำกับข้าว.
  32. เวไนย : น. ผู้ควรแนะนําสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).
  33. สังฆาณัติ : (กฎ; เลิก) น. กฎข้อบังคับของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระ สังฆราชทรงบัญญัติขึ้นโดยคําแนะนําของสังฆสภา ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔, ปัจจุบันเรียกว่า พระบัญชาสมเด็จ พระสังฆราช. (ป.).
  34. สัญญาณ : น. เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยินเป็นต้นแม้อยู่ ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทําตามที่ บอกหรือแนะไว้ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง ตีระฆังเป็น สัญญาณให้พระลงโบสถ์.
  35. สัมมนา : น. การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนําไปปฏิบัติ ตามหรือไม่ก็ได้ เช่น สัมมนาการศึกษาประชาบาล. (อ. seminar).
  36. อบรม : ก. แนะนําพรํ่าสอนให้ซึมซาบเข้าไปจนติดเป็นนิสัย, แนะนํา ชี้แจงให้เข้าใจในเรื่องที่ต้องการ, ขัดเกลานิสัย, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ บ่มนิสัย เป็น อบรมบ่มนิสัย.
  37. อาเทศ ๑ : [เทด] น. การแนะนํา, คําชี้แจง, คําบอกเล่า, คําสั่ง, กฎ. (ส.; ป. อาเทส).
  38. อุปเทศ : [อุปะเทด, อุบปะเทด] น. การชี้แจง, การสั่งสอน, การแนะนํา; คําสั่งสอน, คําชี้แจง, คําแนะนํา. ก. สอน, ชี้แจง, แนะนํา. (ส., ป. อุปเทส).
  39. โอวาท : [วาด] น. คําแนะนํา, คําตักเตือน, คํากล่าวสอน. (ป.).
  40. [1-39]

(0.0741 sec)