Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แบบแผน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แบบแผน, 33 found, display 1-33
  1. แบบแผน : น. ขนบธรรมเนียมที่กําหนดใช้หรือที่เคยประพฤติปฏิบัติ สืบต่อกันมา.
  2. ธรรมเนียม : [ทํา–] น. ประเพณี, แบบแผน, แบบอย่าง.
  3. นิติ : [นิติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบ ธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  4. นีติ : (แบบ; เลิก) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส.).
  5. เนติ : [เนติ] (แบบ) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  6. ปเวณี : [ปะ-] น. ขนบธรรมเนียม, แบบแผน; เชื้อสาย, การเป็นสามีภรรยากัน ตามธรรมเนียม. (ป.; ส. ปฺรเวณิ).
  7. รีต : น. เยี่ยงอย่าง, แบบแผน, ประเพณี, เช่น นอกรีต. (เทียบ ป. จาริตฺต; ส. จาริตฺร).
  8. อาจาร, อาจาร : [จาน, จาระ] น. ความประพฤติ, ความประพฤติดี; จรรยา, มรรยาท; ธรรมเนียม, แบบแผน, หลัก. (ป., ส.).
  9. ภาษาแบบแผน : น. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียว กันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า ''ขอเดชะ...'' และลงท้ายว่า ''ควรมิควรแล้วแต่ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...'', ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคล สำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตร กิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับ พิธีการ ก็เรียก.
  10. กระบวน : น. ขบวน, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทํากระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งํา; ลําดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน. (สามดวง); วิธีการ เช่น จัดกระบวนพิจารณาอรรถคดีในโรงศาล, นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระบิด เป็น กระบิดกระบวน.
  11. กระบวนความ : น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
  12. ขนบประเพณี : น. จารีตประเพณีที่วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว.
  13. เข้าตำรา : ก. ถูกแบบแผน, ตรงตามแบบอย่างที่เคยมีมา, ถูกกับเรื่องราว ที่เคยเล่ากันมา.
  14. เข้าแบบ, เข้าแบบเข้าแผน : ก. ถูกต้องตามแบบแผน, เป็นไปตามแบบ เช่น ตัวละครเข้าแบบ.
  15. เข้ารูปเข้ารอย : ก. ถูกกับแบบแผน.
  16. ฉันทลักษณ์ : [ฉันทะลัก] น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์.
  17. ต้นตำรับ : น. ผู้เป็นต้นคิดในการประดิษฐ์หรือสร้างแบบแผนขึ้น.
  18. ตันติ : (แบบ) น. แบบแผน; เชือก, เส้นด้าย, สายเชือก. (ป., ส.). ตันติภาษา น. ภาษาที่มีแบบแผน. (ส.; ป. ตนฺติภาสา).
  19. ทำเนียบ ๒ : ก. เทียบ, เปรียบ. น. การลําดับตําแหน่งหน้าที่ซึ่งวางเป็นระเบียบ แบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทําเนียบสมณศักดิ์ ทําเนียบราชการ, การแบ่ง ประเภทช้างม้าเป็นต้นที่วางเป็นระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ เช่น ทําเนียบช้าง ทําเนียบม้า. (แผลงมาจาก เทียบ).
  20. ปฏิบัติ : ก. ดําเนินการไปตามระเบียบแบบแผน เช่น ปฏิบัติราชการ, กระทํา เพื่อให้เกิดความชํานาญ เช่น ภาคปฏิบัติ; กระทําตาม เช่น ปฏิบัติตาม สัญญา; ประพฤติ เช่น ปฏิบัติสมณธรรม ปฏิบัติต่อกัน; ปรนนิบัติ รับใช้ เช่น ปฏิบัติบิดามารดา ปฏิบัติครูบาอาจารย์. (ป. ปฏิปตฺติ).
  21. ประเพณี : น. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี. (ส. ปฺรเวณิ; ป. ปเวณิ).
  22. พิธีกรรม : น. การบูชา, แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติใน ทางศาสนา.
  23. ภาษาระดับพิธีการ : น. ภาษาแบบแผน.
  24. ภาษาราชการ : น. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.
  25. ไม้นอกกอ : (สํา) น. คนที่ประพฤตินอกแบบแผนของวงศ์ตระกูล (มักใช้ในทางไม่ดี).
  26. ระเบียบ : น. แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดําเนินการ เช่น ระเบียบวินัย ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ. ว. ถูกลําดับ, ถูกที่เป็นแถว เป็นแนว, มีลักษณะเรียบร้อย, เช่น เขาทำงานอย่างมีระเบียบ.
  27. ละครนอก : น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบ แบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
  28. วินย, วินัย : [วินะยะ] น. ระเบียบแบบแผนและข้อบังคับ, ข้อปฏิบัติ, เช่น วินัยทหาร ทหารต้องยึดมั่นในวินัย; สิกขาบทของพระสงฆ์. (ป., ส.).
  29. ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
  30. หน้าทับ : น. เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง จำพวกตะโพนหรือกลองแขก ซึ่งมีบัญญัติเป็นแบบแผนสำหรับตีประจำทำนองเพลงต่าง ๆ ใช้บอก สัดส่วนและประโยคของเพลงนั้น ๆ เช่น หน้าทับปรบไก่.
  31. หัวล้านนอกครู : (สำ) น. ผู้ที่ปฏิบัติผิดแผกไปจากคำสั่งสอนของ ครูบาอาจารย์หรือแบบแผนที่นิยมกันมา.
  32. อนิยม, อนิยม : [อะนิยม, อะนิยะมะ] ว. ไม่มีกําหนด, ไม่ต้องด้วยกฎหรือแบบแผน, ไม่แน่นอน, นอกแบบ. (ป., ส.).
  33. อาจารี : น. ผู้มีจรรยา, ผู้ทําตามคติแบบแผน. (ส. อาจารินฺ).
  34. [1-33]

(0.0142 sec)