Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แปลง , then ปลง, แปลง, แปฺลง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แปลง, 81 found, display 1-50
  1. แปลง : [แปฺลง] น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กําหนด ไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ ทําขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย.
  2. แปลง : [แปฺลง] ก. เปลี่ยนสิ่งเดิมให้ผิดแปลกออกไป, เปลี่ยนรูปทั้งหมด ให้กลายเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น ยักษ์แปลงเป็นมนุษย์, จําแลง ก็ว่า, เปลี่ยนจากรูปเดิมแต่บางส่วน เช่น คนดีแปลงเป็นคนง่อย, เปลี่ยน จากรูปเดิมโดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย เช่น เรือนชั้นเดียว แปลงให้เป็น ๒ ชั้น, ดัดแปลง ก็ว่า; ทํา เช่น แปลงขวัญ.
  3. แปลง : [แปฺลง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. แผลง เช่น แปลงศร ว่า แผลงศร.
  4. แปลงชาติ : (โบ) ก. แปลงสัญชาติ. แปลงผี
  5. แปลงสัญชาติ : (กฎ) ก. เปลี่ยนจากสัญชาติเดิมไปเป็นสัญชาติอื่น, โบราณใช้ว่า แปลงชาติ.
  6. แปลงเพศ : ก. เปลี่ยนเพศชายให้เป็นเพศหญิงหรือเปลี่ยนเพศหญิง ให้เป็นเพศชาย.
  7. แปลงสาร : ก. สั่งอย่างหนึ่งไปทำเสียอีกอย่างหนึ่ง, แก้สาระสำคัญ หรือข้อความในหนังสือจากอย่างหนึ่งไปเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
  8. กลางแปลง : ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง คล้องช้างกลางแปลง.
  9. จำหระ : น. แถบ, ซีก, แปลง, (ใช้แก่ที่ดินหรือร่างกาย), ตําหระ ก็ว่า.
  10. ตระ ๒ : [ตฺระ] น. แถบ, แปลง, (ใช้แก่ที่).
  11. นฤมิต : [นะรึ] ก. สร้าง, แปลง, ทํา. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
  12. นิมิต ๑ : ก. นิรมิต, สร้าง, แปลง, ทํา. (ป. นิมฺมิต; ส. นิรฺมิต).
  13. นิรมิต : [ระมิด] ก. นิมิต, เนรมิต, สร้าง, แปลง, ทํา, บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น. (ส. นิรฺมิต; ป. นิมฺมิต).
  14. ปลอมแปลง : [-แปฺลง] ก. ทําเลียนแบบให้ดูเหมือนของจริง.
  15. ปลง : [ปฺลง] ก. เอาลง เช่น ปลงหม้อข้าว, ปล่อยหรือเปลื้องให้พ้นไป (ในลักษณะที่รู้สึกว่าหนักอยู่) เช่น ปลงหาบ; เมื่อใช้ประกอบกับ คําอื่น มีความหมายต่าง ๆ.
  16. ชฎาแปลง : น. ชฎารูปเหมือนชฎากลีบแต่ไม่มีลวดลาย.
  17. ซ่อมแปลง : ก. แก้ไขดัดแปลงของที่ชํารุดให้คืนดี.
  18. ฤๅษีแปลงสาร : น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับแห่งไทยโบราณกลับตัวอักษร ข้างหลังมาไว้ข้างหน้า, โดยปริยายหมายความว่า เปลี่ยนข้อความเดิมให้มี ความหมายตรงกันข้าม.
  19. กระบี่ลีลา : น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็น เพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและ กลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่น ตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  20. กลาย : [กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านของตนก็ดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.
  21. กะบิ้ง : น. ของที่เป็นแผ่นเล็ก ๆ, ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับที่ดินน้อย ๆ แปลงหนึ่ง ๆ ว่า กะบิ้งหนึ่ง ๆ.
  22. กินดอง : ก. กินเลี้ยงในการแต่งงาน. (ถิ่น-อีสาน) น. พิธีอย่างหนึ่งทําเมื่อผัวเมียมีบุตรด้วยกันคนหนึ่ง หรือไม่มีบุตร แต่ได้ทําพิธีแปลงออกครบ ๓ ปี.
  23. ครอบจักรวาล ๓ : [คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์).
  24. คอยล์ : น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงตํ่าจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูง เพื่อก่อ ให้เกิดประกายไฟฟ้าที่เขี้ยวหัวเทียน. (อ. ignition coil).
  25. ง่าม ๒ : น. ชื่อมดขนาดเล็กชนิด Phidologeton diversus ในวงศ์ Formicidae สีนํ้าตาลแก่จนเกือบดําตลอดตัว อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ในฝูงจะพบ พวกที่ทําหน้าที่เฝ้ารังขนาดใหญ่กว่าตัวธรรมดา ๒-๓ เท่าปะปนอยู่ มีขากรรไกรหน้าเห็นเป็นง่ามใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นดิน ใกล้บ้านเรือน เดินกันเป็นทาง ขนเศษอาหารหรืออาจพบในแปลงปลูกพืช.
  26. จาตุ- : ว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคําที่มาจากภาษาบาลี.
  27. จาตุร- : [จาตุระ-] (แบบ) ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบ หน้าคําที่มาจากภาษาบาลี.
  28. จำแลง : ก. แปลงตัว.
  29. ตะนาว ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ตะนาว เช่น ตะนาวแปลง.
  30. ถ้วยโถง : (โบ; กลอน) ก. จัดกระบวนกลางแปลง, ทวยโถง หรือ ท่วยโถง ก็ใช้.
  31. ทวยโถง : (กลอน) ก. จัดกระบวนกลางแปลง, ถ้วยโถง หรือ ท่วยโถง ก็ใช้.
  32. ท่วยโถง : (กลอน) ก. จัดกระบวนกลางแปลง, ถ้วยโถง หรือ ทวยโถง ก็ใช้.
  33. แทรกโพน : ก. จับช้างกลางแปลง.
  34. ธงบรมราชวงศ์น้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียว กับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนก แซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธง เป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  35. ธงมหาราชน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความ ยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลง เป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัด เป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้น แทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งด การยิงสลุตถวายคํานับ.
  36. ธงเยาวราชน้อย : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาว ออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่ กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็น รูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็น แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาว ของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธง เยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคํานับ.
  37. นฤมาณ : [นะรึ] (แบบ) น. การสร้าง, การแปลง, การทํา, การวัดส่วน. (ส. นิรฺมาณ).
  38. นา ๑ : น. พื้นที่ราบทําเป็นคันกั้นนํ้าเป็นแปลง ๆ สําหรับปลูกข้าวเป็นต้น, พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสําหรับทําประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทํา เช่น นาเกลือ นากุ้ง นาผักกระเฉด, ใช้ประกอบกับคําอื่นที่เกิดหรือ เกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา.
  39. นิมมาน : น. การสร้าง, การแปลง, การทํา, การวัดส่วน. (ป.; ส. นิรฺมาณ).
  40. นิรมาณ : [ระมาน] (แบบ) น. การสร้าง, การแปลง, การทํา, การวัดส่วน. (ส.).
  41. บัง ๒ : คําพยางค์หน้า เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ก วรรค เช่น บังเกิด บังควร บังคับ หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่อ อยู่หน้าพยัญชนะ จ วรรค หรือ ต วรรค แปลงเป็น บัน เช่น บันเจิด บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ป วรรค เขียนเป็นสระอํา เช่น บําเพ็ญ.
  42. ใบจอง : (กฎ) น. หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดิน ชั่วคราวในเขตท้องที่ที่ยังมิได้ประกาศเขตสํารวจที่ดิน หรือ ในกรณีที่สภาพของที่ดินเป็นแปลงเล็กแปลงน้อย ซึ่งพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นผู้ออกให้.
  43. แผลง : [แผฺลง] ก. แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไป เช่น แผลงสระ แผลง พยัญชนะ. ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คําแผลง.
  44. ภาษาคำโดด : น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยน แปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่อง กับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำ สองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
  45. ภูมิศาสตร์ประวัติ : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงประวัติการเปลี่ยน แปลงต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ของดินแดนใดดินแดนหนึ่งตั้งแต่เริ่มแรกจนถึง ปัจจุบัน, ภูมิศาสตร์เชิงประวัติ ก็เรียก.
  46. มอเตอร์ : น. กลอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับแปลงพลังงานรูปอื่นให้เป็นพลังงานกล โดยทั่วไปมักหมายถึง กลอุปกรณ์ที่ใช้สําหรับแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล. (อ. motor).
  47. รัว ๑ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่ง ใช้ในโอกาสเช่นร่ายเวทมนตร์คาถา แปลงกายหรือเนรมิตตัว.
  48. ลักเพศ : [ลักกะเพด] ก. ทําหรือแต่งตัวปลอมแปลงให้ผิดไปจาก เพศของตน เช่นคฤหัสถ์แต่งตัวปลอมเพศเป็นสมณะ ผู้ชายแต่งตัว เป็นผู้หญิง; (ปาก) ทํานอกลู่นอกทาง เช่นดื่มนํ้าทางหูถ้วย.
  49. วัชพืช : [วัดชะพืด] น. พืชที่ไม่ต้องการ เช่นหญ้าคาในแปลงข้าว. (ป. วชฺช + พีช).
  50. ษมา : [สะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ. น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอม รับผิด, ขมา ก็ว่า. (ส. กษมา; ป. ขมา). ษมายุมแปลง น. เครื่องขมาโทษที่ชายนําไปคํานับพ่อแม่หญิงเพื่อ ขอโทษในการที่ลักพาลูกสาวท่านไป.
  51. [1-50] | 51-81

(0.0526 sec)