Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: แป๊บเดียว, เดียว, แป๊บ , then ดยว, เดียว, ปบ, แป๊บ, แป๊บเดียว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : แป๊บเดียว, 416 found, display 1-50
  1. เดียว : ว. หนึ่งเท่านั้นไม่มีอื่นอีก เช่น คนเดียว พันเดียว นิดเดียว.
  2. แป๊บ : ว. ประเดี๋ยวเดียว ในคําว่า แป๊บเดียว.
  3. แป๊บ : น. ท่อนํ้า, ท่อไอเสีย. (อ. pipe).
  4. แป๊บ : น. สิ่งสําหรับติดแทนลูกดุมมี ๒ อันประกบกัน.
  5. เดียวดาย : ว. คนเดียวเท่านั้น, แต่ลําพังผู้เดียว, เช่น อยู่เดียวดาย.
  6. กระติ๊ด ๒, กระติ๊ดเดียว, กระติ๊ดหนึ่ง : (ปาก) ว. เล็กน้อย, เล็กนิดเดียว, เช่น เสื้อตัวนี้ติดกระดุมเม็ด กระติ๊ดเดียว ขอเกลือสักกระติ๊ดหนึ่ง, ติ๊ดเดียว หรือ ติ๊ดหนึ่ง ก็ว่า.
  7. กินน้ำพริกถ้วยเดียว : (สํา) ก. อยู่กับเมียคนเดียว.
  8. ใจเดียว : ว. ไม่หลายใจ, มีความรักและซื่อตรงในบุคคลเดียวหรือ สิ่งเดียวไม่เปลี่ยนแปลง.
  9. ชั้นเดียว : น. จังหวะของดนตรีไทยที่มีระดับเร็ว คือ เร็วกว่า สองชั้นเท่าตัวหรือเร็วกว่าสามชั้น ๔ เท่า, เรียกเต็มว่า อัตรา จังหวะชั้นเดียว, เรียกหน้าทับและเพลงที่มีจังหวะเช่นนี้ว่า หน้าทับชั้นเดียว เพลงชั้นเดียว.
  10. ซีกเดียว : ดู ตาเดียว.
  11. เดี๋ยวเดียว : ว. ชั่วเวลานิดเดียว, ประเดี๋ยวเดียว ก็ว่า.
  12. ตบมือข้างเดียวไม่ดัง : (สํา) ก. ทําอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล.
  13. ถ่ายเดียว : ว. ฝ่ายเดียว เช่น เอาแต่ได้ถ่ายเดียว เห็นแต่ประโยชน์ ถ่ายเดียว.
  14. ท่าเดียว : (ปาก) ว. อย่างเดียว, ประการเดียว, ถ่ายเดียว, เช่น จะกินท่าเดียว.
  15. ทีเดียว : ว. ฉับพลัน, ทันที, เช่น พูดออกมาทีเดียวนะ; แท้จริง เช่น เก่งทีเดียว.
  16. ประเดี๋ยวเดียว : ว. ชั่วระยะเวลานิดเดียว, เดี๋ยวเดียว ก็ว่า.
  17. ฟังความข้างเดียว : ก. เชื่อถือแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ฟังความอีกฝ่ายหนึ่ง.
  18. มาลัยชายเดียว : น. มาลัยที่มีอุบะห้อยชายเพียงพวงเดียว, มาลัยมือ มาลัยข้อมือ หรือ มาลัยเปีย ก็เรียก.
  19. ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว : (สํา) ก. ทําอย่างเดียวได้ผล ๒ อย่าง, ลงทุน ครั้งเดียวได้ผลกําไร ๒ ทาง.
  20. รวดเดียว : น. ครั้งเดียวอย่างรีบเร่ง, ครั้งเดียวโดยไม่หยุดพัก, เช่น พิจารณารวดเดียว จบ นอนหลับรวดเดียวตั้งแต่หัวค่ำถึงสว่าง ดื่มรวดเดียวหมด; ครั้งเดียว เช่น เก็บค่าดูรวดเดียวดูได้ตลอด.
  21. เลือดก้อนเดียวตัดทิ้งได้ : (สำ) น. ลูกคนเดียวตัดทิ้งได้ในเมื่อมี ความประพฤติไม่เป็นที่พอใจพ่อแม่.
  22. หยิบมือเดียว : (สำ) น. จำนวนน้อยมาก เช่น มีทหารแค่หยิบมือเดียวจะไป รบกับใครเขาได้.
  23. หัวเดียวกระเทียมลีบ : ว. ตัวคนเดียวโดดเดี่ยว ไม่มีพวกพ้อง.
  24. นิดเดียว : ว. เล็กเหลือเกิน, น้อยเหลือเกิน.
  25. ปบ : ก. วิ่งไล่ตะครุบ, ตบตะครุบ, ตะปบ ก็ว่า.
  26. พญารากเดียว : ดู ไม้เท้ายายม่อม.
  27. พริบตาเดียว : ว. เร็วมาก, ทันที.
  28. วันพระไม่มีหนเดียว : (สํา) น. วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต).
  29. แพล็บ, แพล็บ ๆ : [แพฺล็บ] ว. ชั่วระยะเวลาเดี๋ยวเดียวอย่างฟ้าแลบ เช่น โผล่มาแพล็บ เดียว หายไปแล้ว ทำแพล็บเดียวเสร็จ แลบลิ้นแพล็บ ๆ, แผล็บ หรือ แผล็บ ๆ ก็ว่า.
  30. มวย ๓ : ว. หนึ่ง, เดียว. (ข.).
  31. ดวด ๑ : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง เดินแต้มตามเบี้ยที่ทอดได้ไปตามตาตาราง. (ปาก) ก. ดื่มทีเดียวหมด (มักใช้แก่เหล้า). ว. เดี่ยว, หนึ่ง; (ปาก) ทีเดียว.
  32. ดาย : ก. ใช้มีดหรือจอบเป็นต้นถากต้นหญ้าเพื่อให้เตียน. ว. ดะไป, ตะลุย, เช่น กินดาย; เพิกเฉย, ไม่เอาใจใส่, เช่น ดูดาย; ทีเดียว, เท่านั้น, เช่น เดียวดาย เปล่าดาย พู้นมาดาย. (จารึกสยาม); ง่าย เช่น สะดวกดาย; โดด, เดี่ยว, เลย, ถ่ายเดียว, (มักใช้ในที่สุดประโยค).
  33. หนึ่ง : น. ตัวเลขตัวแรกของจำนวนนับ; จำนวนเดียว, คนเดียว, สิ่งเดียว, เช่น หนึ่งในดวงใจ. ว. เดี่ยว; เป็นเอก, เป็นเลิศ, เช่น เพื่อน ๆ ยกให้เขาเป็น หนึ่งในรุ่น.
  34. หลิ่ว : ว. เดี่ยว, หนึ่ง, เช่น นกเขาหลิ่ว คือ นกเขาขันเสียงเดียว.
  35. เดี่ยว : ว. แต่ลําพังตัวโดยไม่มีใครหรืออะไรร่วมด้วย เช่น มาเดี่ยว ทําเดี่ยว ไล่เดี่ยว เทียมเดี่ยว, เรียกการเล่นกีฬาบางชนิดซึ่งมีผู้เล่นข้างละคน เช่น เทนนิส ประเภทเดี่ยว แบดมินตันประเภทเดี่ยว. ก. แสดงฝีมือการเล่นดนตรีคนเดียว เช่น เดี่ยวปี่ เดี่ยวซอ เดี่ยวระนาด. น. ส่วนสูงของเรือนตั้งแต่พื้นถึงเพดาน, โดยปริยายหมายถึงบางสิ่งที่มีลักษณะสูงเช่นนั้น.
  36. กฎทบวง : (กฎ) น. ข้อบัญญัติที่รัฐมนตรีว่าการทบวงออกโดยอาศัย อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเช่นเดียวกับกฎกระทรวง.
  37. ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
  38. กรมธรรม์ : [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอม ให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
  39. กรลุมพาง : [กระ] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรใน ใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
  40. กรอ ๒ : ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ. (พิธีทวาทศมาส), บางที ก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว.
  41. กระชับ ๒ : ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมาย บอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่น กระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).
  42. กระชิด ๑ : ว. ชิดทีเดียว เช่น ว่องไวไล่กระชิดติดพัน. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
  43. กระดานเลียบ : น. ไม้กระดานแผ่นเดียวที่ปูไว้หน้าเรือน สําหรับนั่ง หรือวางสิ่งของต่าง ๆ, กราบเรือส่วนที่เป็นไม้กระดานที่ติดตรง แคมเรือไปตามแนวนอนสำหรับเดิน.
  44. กระดี่ ๑ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Anabantidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ (T. trichopterus) ข้างตัวมีลายหลายเส้น พาดขวาง มีจุดดําที่กลางลําตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง (T. microlepis) สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้า หรือ กระดี่มุก (T. leeri) พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด.
  45. กระต่าย ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในวงศ์ Leporidae ขนปุย หูยาว ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว อาศัยใน โพรงดิน ส่วนที่นํามาเลี้ยงตามบ้านมีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus.
  46. กระต่ายสามขา : (สํา) ว. ยืนกรานไม่ยอมรับ, กระต่ายขาเดียว ก็ว่า.
  47. กระโถนท้องพระโรง : น. กระโถนใหญ่ที่ตั้งไว้ที่ท้องพระโรงในศาลา ลูกขุนใน สำหรับที่ใคร ๆ บ้วนน้ำหมากหรือทิ้งชานหมากได้; (สํา) ผู้ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้หรือผู้ที่ใคร ๆ ก็รุมใช้อยู่คนเดียว.
  48. กระท่อมเลือด : น. ตํารากบิลว่าน ว่าชื่อว่าน มี ๒ ชนิด; ชนิดหนึ่งก้านใบแดง ยางเป็นเลือด หัวคล้ายมันแกว ซึ่งในกรุงเทพฯ เรียกว่า สบู่เลือด ใช้อยู่คงชั่วเบา, อีกชนิดหนึ่งขาว เกิดตามเขา ลักษณะเช่นเดียวกับ อย่างแดง แต่อย่างขาวหัวใหญ่ อย่างโตขนาดกระด้ง ทั้ง ๒ ชนิดนี้ ชาวป่าใช้เป็นยาต้มแก้กระษัย หรือระดูขัด. (พจน. ๒๔๙๓).
  49. กระทา : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Phasianidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับไก่ฟ้า ตัวกลม ขนลายเป็นจุดกระ ๆ ปีกและหางสั้น วิ่งหากินเมล็ดพืชและ แมลงอยู่ตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ มีหลายชนิด เช่น กระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus) กระทาดงแข้งเขียว (Arborophila chloropus).
  50. กระทุง : น. ชื่อนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆ ตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลําคลองและชายทะเล ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด Pelecanus philippensis.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-416

(0.1625 sec)