Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โล่ง , then ลง, โล่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : โล่ง, 1268 found, display 1-50
  1. โล่ง : ว. มีลักษณะว่าง เตียน ไม่มีอะไรกีดกั้นหรือปิดบัง เช่น ที่โล่ง ป่า ถูกตัดต้นไม้เสียโล่ง, ที่เปิดตลอดไม่มีอะไรกีดกั้นหรือปิดบัง เช่น ห้องโล่ง, โดยปริยายหมายความว่า ปราศจากอุปสรรค เช่น เปิด ทางโล่งแล้ว.
  2. โล่งโจ้ง : ว. โล่งโต้ง.
  3. โล่งใจ : ก. รู้สึกสบายใจ, หายอึดอัดใจ, เช่น สอบไล่เสร็จ ค่อยโล่ง ใจหน่อย.
  4. โล่งโต้ง, โล้งโต้ง : ว. ล่อนจ้อน, เปล่าเปลือย, เช่น เดินเปลือยกายโล่งโต้ง ถอนขน ห่านเสียโล้งโต้ง ย่านซื่อซื่อว่าบ้าน ย่านยาว เหนแต่ชุมนุมลาว ล่อนโล้ง ลากอวนส่วนหนุ่มสาว เสียงแซ่ แม่เอย เท่าแก่แล โล้งโต้ง ต่างหล้อนห่อนอายฯ (นิ. สุพรรณ), โล่งโจ้ง ก็ว่า.
  5. โล่งโถง : ว. เปิดว่างตลอด ขาดสิ่งที่ควรมี เช่น ห้องโล่งโถง คือ ห้องที่ควรจะมีฝากั้น แต่ไม่มี.
  6. โล่งคอ : ก. อาการที่รู้สึกว่าลำคอปลอดโปร่งชุ่มชื่นเพราะดื่มน้ำชา หรือซดน้ำแกงร้อน ๆ เป็นต้น.
  7. โล่งจมูก : ก. รู้สึกว่าหายใจสะดวก.
  8. โล่งหู : ก. รู้สึกสบายอกสบายใจเพราะไม่ได้ยินเสียงที่เคยทำให้ รำคาญหูอยู่เป็นประจำ.
  9. โล่งอก : ก. รู้สึกปลอดโปร่งใจเพราะปลดเปลื้องภาระหนักได้แล้ว.
  10. โล่งอกโล่งใจ : ก. รู้สึกปลอดโปร่งเพราะหมดความกังวลใจ.
  11. โว่ง : ว. ว่าง, โล่ง, โปร่ง, เช่น ตัดต้นไม้เสียโว่ง ซดน้ำแกงร้อน ๆ แล้วคอโว่ง.
  12. สว่าง : [สะหฺว่าง] ว. ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หายง่วง ในคําว่า ตาสว่าง.
  13. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  14. กะโหล้ง : [-โล่ง] (ถิ่น-พายัพ) น. กะโหลก.
  15. โปล่ง : [โปฺล่ง] (โบ) ก. โล่ง.
  16. ล่ง : (กลอน) ว. โล่ง, ว่าง, เปล่า, ไม่มีเครื่องกําบัง.
  17. แปลง ๑ : [แปฺลง] น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กําหนด ไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ ทําขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย.
  18. ลด : ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทําให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือ นอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
  19. กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
  20. กระโจมทอง : น. เครื่องกันแดดและฝนเปิดโล่ง ๔ ด้าน อยู่บนสัปคับ หลังช้างพระที่นั่ง เขียนลายปิดทองรดน้ำ.
  21. กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
  22. คนทีสอ : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทํายาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย.
  23. จางปาง : (ปาก) ว. สว่างจ้า, สว่างโล่ง; อีสานว่า จ่างป่าง.
  24. โจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลม เป็นต้น; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน; กระโจม ก็ว่า.
  25. ชานชาลา : น. บริเวณสถานีรถไฟหรือสถานีขนส่งที่ผู้โดยสาร มารอขึ้นรถ; ที่โล่งหน้าสถานที่สําคัญ ๆ บางแห่ง เช่น ชานชาลาหน้าพระ ที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท.
  26. ถอนใจใหญ่ : ก. หายใจแรงและยาวในขณะที่รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจ หรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น, โบราณใช้ว่า ถอยใจใหญ่ ก็มี.
  27. ถอยใจใหญ่ : (โบ) ก. ถอนใจใหญ่, หายใจแรงและยาวในขณะที่ รู้สึกกลุ้มอกกลุ้มใจหรือโล่งอกโล่งใจเป็นต้น เช่น ท้าวธก็ถอยใจ ใหญ่ไปมา. (ม. คําหลวง กุมาร).
  28. แถ ๒ : (ถิ่น–อีสาน) ก. ทําให้เตียน, ทําให้โล่ง, เช่น แถผม แถหัว หมายถึง โกนผม โกนหัว.
  29. โถง : ว. ที่เปิดโล่งแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น รถโถง คือรถที่เปิดหลังคาได้ เรือโถง คือเรือที่ปรกติมีประทุน แต่เปิดประทุนออก, เรียกห้องขนาด ใหญ่ที่ปล่อยไว้โล่ง ๆ ว่า ห้องโถง.
  30. ทุ่ง ๑ : น. ที่ราบโล่ง.
  31. โทง ๆ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งโย่ง ๆ ไปในที่โล่ง (มักใช้แก่ผู้เปลือยกาย) เช่น เด็กแก้ผ้าวิ่งโทง ๆ.
  32. เบาใจ : ว. ไม่หนักใจ, โล่งใจ.
  33. เบาตัว, เบาเนื้อเบาตัว : ว. กระปรี้กระเปร่า, โล่งใจหายอึดอัด.
  34. ปรุโปร่ง : ว. โล่งตลอด.
  35. ป่าละเมาะ : น. ที่โล่งมีพุ่มไม้เล็ก ๆ เป็นหย่อม ๆ.
  36. ม้าลาย : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างเหมือนม้าแต่มีลายสีดําขาวพาดขวางลําตัวตัดกันสะดุดตา เห็นได้ชัดเจน จมูกดํา ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้ากลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหาง ไม่มีขนยาว ดูคล้ายครึ่งหางม้าครึ่งหางวัว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า ราบโล่ง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้า ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ที่สุด ชนิด E. burchelli เป็นชนิดที่นิยมนํามาเลี้ยงตามสวนสัตว์ ทั่ว ๆ ไป.
  37. มิ้ม ๒ : น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กชนิด Apis florea ผึ้งงานยาวประมาณ ๘ มิลลิเมตร อกกว้างประมาณ ๒.๕ มิลลิเมตร อาศัยอยู่รวมเป็นกลุ่ม ทํารังในที่ โล่งแจ้งเป็นแผ่นเดี่ยว ๆ มีขนาดตั้งแต่ฝ่ามือไปจนถึง ๓๐ เซนติเมตร เมื่อเลี้ยงลูกโตแล้วจะทิ้งรังไปหาที่ใหม่ต่อไป, มิ่ม นิ่ม หรือ นิ้ม ก็เรียก.
  38. ยกภูเขาออกจากอก : (สํา) ก. โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่ หนักอกหนักใจให้หมดไป.
  39. รถตู้ : น. ตู้รถไฟที่ใช้บรรทุกสินค้าเป็นต้นภายในโล่ง มักปิดทึบทั้ง ๔ ด้าน; รถยนต์ขนาดกลาง รูปร่างคล้ายกล่อง มักมีประตูเปิดปิดด้านเดียว บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ ๑๒–๑๕ คน.
  40. ล่องแมว : น. ช่องว่างระหว่างพื้นเรือนกับพื้นระเบียงเพื่อถ่ายเท อากาศ มีขนาดพอแมวลอดได้ เปิดโล่งยาวตลอดตัวเรือน.
  41. ละเมาะ ๑ : น. หมู่ไม้ขนาดเล็ก ซึ่งขึ้นในที่โล่งเป็นหย่อม ๆ, บางทีก็เรียกว่า เกาะ, ถ้ามีลักษณะเป็นป่า ก็เรียกว่า ป่าละเมาะ.
  42. ว้างเวิ้ง : ว. เป็นช่องว่างและโล่งออกไปกว้างขวาง.
  43. สนาม : [สะหฺนาม] น. ลาน, ที่ว่าง, ที่โล่ง, ที่เล่น, เช่น เขานั่งอยู่ริมสนาม เด็ก ๆ วิ่งเล่นในสนาม, ที่สำหรับเล่นหรือแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เช่น สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ สนามชนวัว.
  44. ห้องโถง : น. ห้องขนาดใหญ่ที่ปล่อยไว้โล่ง ๆ.
  45. ลงสมุก : [ลงสะหฺมุก] ก. ใช้ดินหรือถ่านใบตองแห้งเป็นต้นป่น เป็นผงผสมกับยางรักให้เหนียว ทาทับบนพื้นวัตถุเพื่อเตรียมผิว ให้แน่นและเรียบ.
  46. ลงกระหม่อม : ก. ลงยันต์บนกระหม่อม แล้วเสกเป่าให้อยู่ยง คงกระพันเป็นต้น.
  47. ลงโกศ : ก. บรรจุศพลงในโกศ, เข้าโกศ ก็ว่า.
  48. ลงคราม : ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
  49. ลงคะแนน : ก. แสดงความเห็นโดยลงเป็นคะแนน.
  50. ลงจอบ : ก. ใช้จอบขุดดิน, ลงจอบลงเสียม ก็ว่า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1268

(0.1658 sec)