Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โวหาร , then วหาร, โวหาร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : โวหาร, 17 found, display 1-17
  1. โวหาร : น. ชั้นเชิงหรือสํานวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคําที่ เล่นเป็นสําบัดสํานวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).
  2. กัปปิยโวหาร : น. โวหารที่ควรแก่ภิกษุ เช่น เรียกเงินตรา ว่า กัปปิยภัณฑ์, ถ้อยคําสํานวนที่เหมาะแก่กาลเทศะ.
  3. เทศนาโวหาร : น. สำนวนเขียนที่เป็นไปในลักษณะการเทศนา ของพระ.
  4. ปฏิภาณโวหาร : [ปะติพานนะ-, ปะติพาน-] น. การกล่าวเหมาะด้วย เหตุผลในทันที.
  5. พรรณนาโวหาร : น. สำนวนเขียนที่กล่าวเป็นเรื่องราวอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านนึกเห็นเป็นภาพ.
  6. สมณโวหาร : น. ถ้อยคําที่ควรแก่สมณะ เช่น อาตมา ฉันจังหัน กัปปิยภัณฑ์. (ป.).
  7. อกัปปิยโวหาร : น. ถ้อยคําที่ไม่ควรใช้พูด. (ป.).
  8. อุปมาโวหาร : น. สํานวนเขียนที่กล่าวถึงเรื่องราวโดยยกสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเปรียบเทียบประกอบ.
  9. เกล้า : [เกฺล้า] น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก เกล้ามวย.
  10. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  11. เจ้าถ้อยหมอความ : น. ผู้ที่ชอบเอากฎหมายมาอ้าง, ผู้มักใช้โวหาร พลิกแพลงไปในทางกฎหมาย.
  12. ถ่อง : (โบ) ว. งาม, อร่าม, แจ่มใส, รุ่งเรือง; ชัด, แน่, แท้, เที่ยง, จะแจ้ง, เช่น เร่งหาผู้รู้รอบ ทุกการ เฉลียวฉลาดโวหาร ถ่องถ้อย. (ลอ).
  13. บทอัศจรรย์ : น. บทร้อยกรองตามธรรมเนียมนิยมในวรรณคดี พรรณนาเพศสัมพันธ์ของชายหญิง มักกล่าวให้เป็นที่เข้าใจโดย ใช้โวหารเป็นสัญลักษณ์หรืออุปมาอุปไมยเป็นต้น.
  14. ภาพพจน์ : [พาบพด] น. ถ้อยคำที่เป็นสํานวนโวหารทําให้นึกเห็นเป็น ภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผล ต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่าง กว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. (อ. figure of speech).
  15. วาทศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยศิลปะในการใช้ถ้อยคําสํานวนโวหาร ให้ได้ผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย เช่นพูดโต้แย้ง พูดชวนให้เชื่อถือ. (อ. rhetorics).
  16. วาทศิลป์ : น. ศิลปะในการใช้ถ้อยคําสํานวนโวหารให้ประทับใจ. (อ. rhetoric).
  17. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.

(0.0450 sec)