Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: โอ่ง , then อง, โอ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : โอ่ง, 121 found, display 1-50
  1. โอ่ง : น. ภาชนะสําหรับขังนํ้า ก้นสอบเล็กน้อย ปากกว้าง มีขนาดต่าง ๆ กัน, บางทีก็เรียกว่า ตุ่ม.
  2. โอ่งมังกร : น. โอ่งดินเผาเคลือบ มีสีนํ้าตาลปนเหลือง มักมีลายเป็น รูปมังกร.
  3. ปุฏะ : (แบบ) น. ห่อ; หม้อ, ขวด, โอ่ง, ไห; กระจาด. (ป.).
  4. อง : น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกาย ชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
  5. อีเลิ้ง : น. เรียกตุ่มหรือโอ่งใหญ่ว่า ตุ่มอีเลิ้ง หรือ ตุ่มนางเลิ้ง, โอ่ง นครสวรรค์ ก็เรียก; โดยปริยายหมายความว่า ใหญ่เทอะทะ.
  6. ขอด ๒ : ก. ทำให้สิ่งที่ติดอยู่ออกมาด้วยอาการอย่างขูด เช่น ขอดเกล็ดปลา, เหลืออยู่น้อยจนถึงกับต้องขูดเอา เช่น น้ำขอดคลอง น้ำขอดโอ่ง ข้าวขอดหม้อ.
  7. ฝา : น. เครื่องปิดภาชนะต่าง ๆ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝาหม้อ ฝาโอ่งฝาท่อ; ฝ้าหรือเยื่อที่จับอยู่ข้างบนของเหลวเช่น นํ้านมเป็นต้น; เครื่องกั้นด้านนอกหรือเครื่องกั้นแบ่งห้องของตัวเรือน โรงเป็นต้น เช่น ฝาบ้าน ฝาเรือน ฝาห้อง; ส่วนที่ปิดปากหอยหรือ หุ้มตัวหอยซึ่งเปิดได้, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น ขนมถ้วยฝาหนึ่ง ขนมถ้วย ๒ ฝา.
  8. พร่อง : [พฺร่อง] ว. ไม่เต็มตามอัตราเพราะลดหรือขาดไป เช่น ตักแกงพร่อง ทำงานไม่พร่อง กินไม่รู้จักพร่อง. ก. ยุบไปหรือลดไปจากเดิม เช่น น้ำในโอ่งพร่องไป ข้าวสารในกระสอบพร่องไป.
  9. ลูกคลัก : น. ท่อนไม้สั้น ๆ เอาเชือกผูกกลางสําหรับขัดแร้วเป็นต้น หรือใส่ในโอ่งในไหแล้วเอาเชือกผูกกับไม้คานหามไป.
  10. แห้ง : ว. ไม่มีนํ้า, หมดนํ้า, เช่น คลองแห้ง โอ่งแห้ง, ไม่เปียก เช่น ผ้าแห้ง, ที่ไม่ใส่ น้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้ง บะหมี่แห้ง, ไม่สด เช่น ใบไม้แห้ง; ที่อาจเก็บไว้บริโภค ได้นาน เช่น ของแห้ง หอมแห้ง พริกแห้ง; ไม่แจ่มใส เช่น หน้าแห้ง ยิ้มแห้ง; ขาดความชุ่มชื้น เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง; โดยปริยายหมายความว่า ฝืดเคือง, อดอยาก, ในคำว่า ไส้แห้ง กระเป๋าแห้ง.
  11. องคุละ : [คุละ] น. นิ้วมือ, นิ้วเท้า. (ป., ส.).
  12. กระจองงอง, กระจองงอง ๆ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
  13. ขันน้ำพานรอง : น. ขันนํ้าที่มีพานรองรับ.
  14. ฉม่อง : [ฉะหฺม่อง] น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา. (คําพากย์).
  15. ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
  16. เป็นกอง, เป็นก่ายเป็นกอง : ว. มาก, มากมาย, เช่น โตขึ้นเป็นกอง ซื้อมาเป็นก่ายเป็นกอง.
  17. อีหน็องอีแหน็ง : ว. กะหน็องกระแหน็ง.
  18. กระจองหง่อง, กระจ๋องหง่อง : ว. อาการที่นั่งยอง ๆ จ้องดู.
  19. ค่องอ้อย : น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับ คาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของ ท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ.
  20. จองหง่อง : ว. อาการที่นั่งอย่างหงอยเหงา.
  21. ด่อง ๆ, ด้อง ๆ : ว. หย่อง ๆ.
  22. ดาบสองคม : (สํา) ว. มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้.
  23. เทิงบอง, เทิ้งบอง : น. เสียงเถิดเทิง, กลองยาว.
  24. ผีตองเหลือง : น. ชนชาติข่าพวกหนึ่ง, ตองเหลือง ก็เรียก.
  25. ยาดอง : น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกาย หรือแก้โรค.
  26. หง่อง ๆ : ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึง เดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.
  27. หงองแหงง : [หฺงองแหฺงง] ก. ระหองระแหง, ไม่ลงรอยกัน.
  28. หน็องแหน็ง : ว. กะหน็องกะแหน็ง.
  29. หย็องกรอด : [หฺย็องกฺรอด] ว. ซูบผอมมีท่าทางคล้ายคนอิดโรย.
  30. อึ่ง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดในวงศ์ Microhylidae รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ เช่น อึ่งอ่าง (Kaloula pulchra) อึ่งแว่น (Calluella guttulata).
  31. แอ่ง : น. ที่ซึ่งลาดลึกลงไปพอนํ้าขังได้.
  32. องคชาต : [องคะ] น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชาย. (ป., ส. องฺคชาต ว่า อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหญิง).
  33. องคมนตรี : [องคะ] น. ผู้มีตําแหน่งที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์.
  34. องคมรรษ : [องคะมัด] น. โรคขัดในข้อ. (ส. องฺคมรฺษ).
  35. องครักษ์ : [องคะ] น. ผู้ทําหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกัน เช่น องครักษ์นักการเมือง.
  36. องควิการ : [องคะวิกาน] น. ความชํารุดแห่งอวัยวะต่าง ๆ มีตาบอด แขนหัก เป็นต้น. (ป.).
  37. องควิเกษป : [องคะวิกะเสบ] น. ท่าทาง, อาการเคลื่อนไหว. (ส. องฺควิเกฺษป; ป. องฺค + วิกฺเขป).
  38. องควิทยา : [องคะ] น. ความรู้เรื่องลักษณะดีชั่วปรากฏตามร่างกาย. (ส.; ป. องฺควิชฺชา).
  39. องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  40. องคาพยพ : [องคาบพะยบ, องคาพะยบ] น. ส่วนน้อยและใหญ่ แห่งร่างกาย, อวัยวะน้อยใหญ่. (ป. องฺค+ อวยว).
  41. กระพัง ๑ : น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตระพัง ตะพัง หรือ สะพัง ก็เรียก. (เทียบ ข. ตฺรพําง ว่า บ่อที่เกิดเอง).
  42. กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).
  43. กระหง่อง, กระหน่อง ๑ : (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ. (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้.
  44. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  45. กรุบ : [กฺรุบ] ว. เสียงดังเช่นนั้นเมื่อเคี้ยวของแข็งที่แตกง่าย. น. ขนมปั้นก้อนชนิดหนึ่ง เรียกว่า ขนมกรุบ; เรียกกะลาอ่อนของมะพร้าวว่า กรุบมะพร้าว.
  46. กลาย : [กฺลาย] ก. เปลี่ยนไป, แปรปรวนไป, เช่น หน้าหนาวกลายเป็นหน้าร้อน, เป็นอื่นไป, แปลงไป, เช่น ศรกลายเป็นทิพย์กระยาหาร เปรี้ยวหวานตกลงตรงหน้า. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ; กลอน) ใช้ในความว่า กราย ก็มี เช่น ไปกลายบ๋านของตนก็ดี. (จารึกสยาม), จักเจริญสวัสดิภาพศักดิศรี ศัตรูไพรี บห่อนจะใกล้กลายตน. (โชค-โบราณ). ว. ที่แปลงไป เช่น แผลกลาย; เรียกปีที่ล่วงหรือเปลี่ยนไปแล้วปีหนึ่งว่า ปีกลาย.
  47. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  48. กวาด : [กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน; เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  49. กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  50. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-121

(0.0596 sec)