Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ให้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ให้, 4613 found, display 1-50
  1. ให้ : ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พร เป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดย สวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.
  2. ให้จงได้, ให้ได้ : ว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับ กำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.
  3. ให้โดยเสน่หา : (กฎ) ก. โอนทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งโดยไม่มีค่า ตอบแทน.
  4. ให้ถ้อยคำ : (กฎ) ดู ให้การ. ให้ท่า ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้รู้ว่ายินดีติดต่อด้วยหรือไม่รังเกียจ(ใช้แก่ผู้หญิง).
  5. ให้น้ำ : ก. ให้นักมวยหรือคู่ต่อสู้เป็นต้นหยุดพักเหนื่อยชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อให้ดื่มน้ำเช็ดหน้า หรือเช็ดตัวเป็นต้น ก่อนจะลงมือสู้ในยกต่อไป.
  6. ให้ร้าย, ให้ร้ายป้ายสี : ก. หาความร้ายป้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย, ป้ายสี ใส่ร้าย หรือ ใส่ร้ายป้ายสี ก็ว่า.
  7. ให้แรง : ก. ทำให้มีกำลังเพิ่มขึ้นเป็นต้น มักใช้กับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติ ตามความเชื่อ เช่น ผีให้แรง เทวดาให้แรง.
  8. ให้ศีล : ก. อาการที่พระภิกษุบอกศีลให้ผู้ศรัทธาสมาทานรับ เช่น ทุกคน ควรสำรวมกิริยาเวลาพระให้ศีล.
  9. ให้ศีลให้พร : ก. กล่าวแสดงความปรารถนาดีให้เกิดสวัสดิมงคล ความเจริญ รุ่งเรืองแก่ผู้รับ เช่น ผู้ใหญ่ให้ศีลให้พรแก่ลูกหลาน.
  10. ให้สัตยาบัน : (กฎ) ก. ให้ความเห็นชอบหรือรับรอง.
  11. ให้สินเชื่อ : (กฎ) น. ให้กู้ยืมเงิน ซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน เป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายหรือสั่งให้จ่ายเงินเพื่อประโยชน์ของผู้เคยค้าหรือเป็นเจ้าหนี้ เนื่องจากได้จ่ายเงินตามภาระผูกพันตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต.
  12. ให้เสียง : ก. กระทำเสียงใด ๆ ให้ผู้อื่นรู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏกาย เช่น ฉันตกใจ เธอเข้ามาไม่ให้เสียงเลย.
  13. ให้หน้า : ก. แสดงท่าทีให้ผู้ที่รู้กันทำตามความประสงค์ด้วยการพยักหน้า ขยิบตา บุ้ยปาก เป็นต้น เช่น ชูชกกล่าวหาพระเวสสันดรว่า ให้หน้าให้ สองกุมารหนีไปเสียทั้งที่ยกให้ตนแล้ว.
  14. ให้หลัง : ก. คล้อยหลังไป เช่น พอครูให้หลัง เด็ก ๆ ก็ซนกันใหญ่.
  15. ให้หูให้ตา : ก. แสดงท่าทีให้ทราบด้วยสีหน้าและสายตาว่าพอใจใคร่สืบ ความสัมพันธ์ต่อไป (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น กุลสตรีไม่ควรให้หู''ให้ตาใคร ๆ.
  16. ให้อภัย : ก. ยกโทษให้, ไม่ถือโทษ.
  17. ให้ออก : (กฎ) น. วิธีการสั่งให้พ้นจากราชการเพราะเหตุ (๑) ตาย (๒) พ้น จากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบําเหน็จบํานาญ (๓) ลาออกจากราชการ และได้รับอนุญาตให้ลาออก (๔) ถูกสั่งให้ออกจากราชการ ในกรณีใด กรณีหนึ่งตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ เช่น ให้ออกจากราชการเพื่อรับบําเหน็จบํานาญ ให้ออก เมื่อทางราชการเลิกหรือยุบตําแหน่ง ให้ออกเพื่อไปรับราชการทหาร.
  18. ให้ท้าย : ก. เข้าข้างหรือส่งเสริมทำให้ได้ใจ.
  19. ให้สี : ก. กำหนดว่าจะใช้สีใด อย่างไร ในงานจิตรกรรม งานออกแบบตกแต่ง ต่าง ๆ เป็นต้น.
  20. กวนน้ำให้ขุ่น : (สํา) ก. ทําเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา.
  21. ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า : (สํา) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตามที่ตน ต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืน ให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
  22. ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น : (สํา) ก. ทําสิ่งที่ไม่สมควรให้ผู้น้อยเห็น.
  23. เข้าให้ : ว. เน้นความเพื่อแสดงกริยาข้างหน้าให้มีนํ้าหนักขึ้นและเฉพาะ เจาะจง เช่น ด่าเข้าให้ ชกเข้าให้.
  24. เขียนเสือให้วัวกลัว : (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม.
  25. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ : (สํา) ก. จะพิจารณาคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ.
  26. คำมั่นว่าจะให้รางวัล : (กฎ) น. คํามั่นที่บุคคลออกโฆษณาว่าจะให้รางวัล แก่ผู้ซึ่งกระทําการอันใดสําเร็จดังที่บ่งไว้ในคํามั่น.
  27. ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ : (สํา) ก. ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือ ผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง, ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ก็ว่า.
  28. ปูน ๓ : ก. แจก, ปัน, ให้, เช่น ปูนบําเหน็จ.
  29. ใฝ่สูงจนเกินศักดิ์, ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ : (สํา) ก. หวังสิ่งที่เกินฐานะของตน (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น อย่าใฝ่สูงจนเกินศักดิ์ อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์.
  30. ยาเสพติดให้โทษ : (กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้า สู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทําให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสําคัญ เช่นต้องเพิ่ม ขนาดการเสพขึ้นเป็นลําดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการ เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดย ทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือ ให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่ หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอยู่.
  31. ยื่นแก้วให้วานร : (สํา) ก. เอาของมีค่าให้แก่คนที่ไม่รู้จักค่าของสิ่งนั้น.
  32. ยุให้รำตำให้รั่ว : (สํา) ก. ยุให้แตกกัน, ยุให้ผิดใจกัน.
  33. วิกัป : [กับ] น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ; คําแสดงความหมาย ให้เลือกเอาอย่างใดอย่าง หนึ่ง. ก. กำหนด; ให้, ฝาก (ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป; ส. วิกลฺป).
  34. สอนลูกให้เป็นโจร : (สำ) ก. ไม่ว่ากล่าวอบรมสั่งสอนลูกให้เป็นคนดี เมื่อลูกไปลักขโมยของใครมาได้กลับชมเชยว่าเก่ง ในที่สุดลูกก็กลาย เป็นโจร.
  35. ห้ามไม่ให้ : (สำ) ก. เป็นการย้ำไม่ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ห้ามไม่ให้ เขียน ห้ามไม่ให้พูด.
  36. โอย ๒ : (โบ) ก. อวย, ให้, เช่น คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ ด้านที่ ๒).
  37. ขี้ไม่ให้หมากิน : (สํา) ก. ขี้เหนียว, ตระหนี่เหนียวแน่น.
  38. งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย : (สํา) ทํางานไม่บกพร่องทั้ง งานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี.
  39. ชักใบให้เรือเสีย : (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนา หรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป.
  40. เดินธุระให้ : ก. ไปประกอบการงานแทน.
  41. น้ำขึ้นให้รีบตัก : (สํา) มีโอกาสดีควรรีบทํา.
  42. ปรบมือให้ : (สํา) ก. ยกย่อง, สรรเสริญ.
  43. เป็นหุ่นให้เชิด : (สํา) ก. อยู่ในฐานะหรือตําแหน่งที่ต้องทําตามที่เขาสั่ง.
  44. เปิดหมวกให้ : ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, ชมเชย.
  45. ผินหลังให้ : (สํา) ก. ไม่สนใจ, ไม่แยแส, ไม่ไยดี, เลิกคบกัน.
  46. ผู้ให้กำเนิด : น. พ่อแม่.
  47. ฝนทั่งให้เป็นเข็ม : (สํา) ก. เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะ สําเร็จผล.
  48. สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ : (สํา) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีหรือที่เขาถนัดอยู่แล้ว.
  49. หันหลังให้กัน : (สำ) ก. โกรธกัน, เลิกคบค้ากัน.
  50. แผ่ : ก. คลี่ขยายกระจายออกไปให้มีลักษณะแบนราบหรือกว้างกว่าเดิม หรืออาการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แผ่อาณาเขต แผ่หาง; ให้ เช่น แผ่ส่วนบุญ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4613

(0.1620 sec)