Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไท .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไท, 34 found, display 1-34
  1. ไท : (โบ) น. ไทย เช่น ปีโถะหนไทกัดเหมา. (จารึกสยาม).
  2. ไท : น. ผู้เป็นใหญ่.
  3. ไทย ๑ : [ไท] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า, ชนเชื้อชาติไทย มีหลายสาขาด้วยกัน เช่น ไทยใหญ่ ไทยดํา ไทยขาว; ความมีอิสระ ในตัว, ความไม่เป็นทาส; คน เช่น ไทยบ้านนอก ว่า คนบ้านนอก ไทยใจแทตย์ ว่า คนใจยักษ์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  4. ไทย- ๒ : [ไทยะ-] (แบบ) ว. ควรให้, ใช้ประกอบเป็นคํานําหน้าสมาส. (ป. เทยฺย).
  5. ไทยทาน : [ไทยะ-] น. ของสําหรับทําทาน. (ป. เทยฺยทาน).
  6. ไทยธรรม : [ไทยะทํา] น. ของทําบุญต่าง ๆ, ของถวายพระ. (ป. เทยฺยธมฺม).
  7. ก่อ ๔ : ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. (ไทลื้อ ก่อ ว่า งอ).
  8. ก่อหวอด : ก. เริ่มจับกลุ่มเพื่อทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมี เนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ. (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน). ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. (ไทลื้อ ก่อ ว่า งอ). ว. แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ.
  9. กัมปี : (แบบ) ก. ไหว เช่น อันว่ามหาปรัตพีผืนผไทแท่น แผ่นผเทศมณฑล สกลกัมปี ดุจครวีไหวหว่นนป่นนไปมาเมื่อน้นน. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ป., ส. กมฺป)
  10. กำเนิด : [กําเหฺนิด] น. การเกิด เช่น บิดามารดาเป็นผู้ให้กําเนิดแก่บุตร, มูลเหตุดั้งเดิม เช่น ตัวหนังสือไทยมีกําเนิดมาอย่างไร. ก. เกิด, มีขึ้น, เป็นขึ้น, เช่น โลกกําเนิดมาจากดวงอาทิตย์.
  11. กำสรวล : [-สวน] (แบบ) ก. โศกเศร้า, คร่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรดสงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (โบ กําสรวญ).
  12. คง : ก. ยังมียังเป็นอยู่อย่างเดิม เช่น คงความเป็นไท; เป็นคำบอก ลักษณะคาดคะเน เช่น คงจะเป็นเช่นนั้น คงมาแล้ว.
  13. เคียม : (กลอน) ก. ไหว้, คํานับ, เช่น เคียมคัล, เคี่ยม ก็ว่า; เรียบร้อย, ตรง, เช่น เคียมค่อยมาดลสํานักจอมจักรนักไทธรรม. (ม. คําหลวง สักบรรพ). (ถิ่น–อีสาน เขี่ยม ว่า ตรง, เรียบร้อย).
  14. เจ้าไท : (โบ) น. พระสงฆ์; เจ้านายชั้นผู้ใหญ่; เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู. (จารึกวัดช้างล้อม).
  15. ตรุษ, ตรุษไท : [ตฺรุด] น. เทศกาลเนื่องในการสิ้นปี ตรุษไทยกําหนดตามจันทรคติ ตรงกับ วันแรม ๑๕ คํ่า เดือน ๔.
  16. ทุกขสมุทัย : [ทุกขะสะหฺมุไท] น. เหตุให้เกิดทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจ ข้อที่ ๒. (ป.).
  17. นนทลี : [นนทะลี] น. แม่ เช่น สี่ไทธิเบศร์วรดิลก ชนกแลนนทลี. (สมุทรโฆษ).
  18. นามไธย : [นามมะไท] น. ชื่อตั้ง, ทินนาม (เช่นนามบรรดาศักดิ์). (ป. นามเธยฺย).
  19. บานเกล็ด : น. บานหน้าต่างหรือบานประตูซึ่งใช้ไม้หรือกระจก แผ่นเล็ก ๆ พาดขวางซ้อนเหลื่อมกันเป็นเกล็ด บางชนิดดึงหรือ หมุนให้เกล็ดเหล่านั้นเปิดปิดได้พร้อม ๆ กัน. บานตะเกียง, บานตะโก้, บานตะไท, บานเบอะ, บานเบิก,
  20. ปรมาภิไธย : [ปะระมาพิไท, ปอระมาพิไท] น. ชื่อ (ใช้เฉพาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) เช่น ในพระปรมาภิไธย ทรงลง พระปรมาภิไธย. (ป. ปรมาภิเธยฺย).
  21. ปริทัยหัคคี : [ปะริไทหักคี] น. ไฟธาตุที่ทํากายให้กระสับกระส่าย. (ป. ปริฑยฺหคฺคิ).
  22. ไผท : [ผะไท] น. แผ่นดิน. (ข. ไผฺท).
  23. เม้า : (โบ) น. ปีเถาะ, เขียนเป็น เหมา ก็มี เช่น ปีโถะหนไทกดดเหมา. (จารึกสยาม).
  24. ฤทัย : [รึไท] น. ใจ, ความรู้สึก. (กร่อนมาจาก หฤทัย). (ส. หฺฤทย; ป. หทย).
  25. สมจร : ก. ร่วมประเวณี เช่น เจ้าสมจรด้วยเมียข้าคนตนเองไซ้ ท่านให้ไหมให้ผัวมันเปนไท ข้าสมจรด้วยกันพ่อแม่แลเจ้า ข้ามิให้แลมันภากันหนีไกล (สามดวง) มีนิทานเรื่องนางนาค สมจรกับงูดิน.
  26. สมุทัย : [สะหฺมุไท, สะหฺมุดไท] น. ต้นเหตุ, ที่เกิด, ในคำว่า ทุกขสมุทัย หมายถึง ต้นเหตุหรือที่เกิดแห่งทุกข์. (ป., ส.).
  27. หทัย : [หะไท] น. หัวใจ, ใจ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระหทัย. (ป.; ส. หฺฤทย).
  28. หฤทัย, หฤทัย- : [หะรึไท, หะรึไทยะ-] น. หัวใจ, ใจ. (ส. หฺฤทย; ป. หทย).
  29. อโณทัย : [อะโนไท] น. พระอาทิตย์เพิ่งขึ้น. (กร่อนมาจาก อรุโณทัย). (ป. อรุโณทย).
  30. อรทัย : [ออระไท] น. หญิงสาว, สาวรุ่น, สาวงาม.
  31. อรไท : [ออระไท] น. นางผู้เป็นใหญ่, นางผู้มีสกุล, (ใช้เรียกนางกษัตริย์), ใช้ว่า อ่อนไท้ ก็มี.
  32. อิศร : [อิด] น. ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น นริศร มหิศร, หรือแผลงเป็น เอศร เช่น นฤเบศร. ว. เป็นใหญ่, เป็น ใหญ่ในตัวเอง, เป็นไทแก่ตัวไม่ขึ้นแก่ใคร. (จาก ส. อีศฺวร ซึ่งมักใช้ อิศวร).
  33. อิสรภาพ : น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นไทแก่ตัว; การปกครอง ตนเอง.
  34. อิสร, อิสระ : [อิดสะหฺระ] ว. เป็นใหญ่, เป็นไทแก่ตัว, เช่น อิสรชน, ที่ปกครอง ตนเอง เช่น รัฐอิสระ, ไม่ขึ้นแก่ใคร, ไม่สังกัดใคร, เช่น อาชีพอิสระ นักเขียนอิสระ. น. ความเป็นไทแก่ตัว เช่น ไม่มีอิสระ แยกตัวเป็น อิสระ. (ป. อิสฺสร; ส. อีศฺวร).
  35. [1-34]

(0.0069 sec)