Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไม่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไม่, 3597 found, display 1-50
  1. ไม่ : ว. มิ, คําปฏิเสธความหมายของคําที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคํา ต้องมีคํา หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
  2. หาไม่ ๒, หา...ไม่ : ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำ กริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.
  3. ไม่กี่น้ำ : (ปาก) ว. ไม่ช้า, ไม่นาน, ไม่เท่าไร, เช่น เก่งไปได้ไม่กี่น้ำหรอก.
  4. ไม่กี่อัฐ, ไม่กี่อัฐฬส : (สํา) น. ราคาถูก เช่น ของนี้ราคาไม่กี่อัฐ.
  5. ไม่ใกล้ไม่ไกล : ว. ใกล้ เช่น บ้านฉันอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากที่นี่; กันเอง เช่น คนไม่ใกล้ไม่ไกล.
  6. ไม่เข้าการ : ว. ไม่เป็นประโยชน์, ไม่มีสาระ.
  7. ไม่เข้าแก๊ป, ไม่เข้าท่า : ว. ไม่แนบเนียน, ไม่รัดกุม.
  8. ไม่เข้าใครออกใคร : ก. ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, เป็นกลาง, คงความเป็นตัว ของตัวเอง, ไม่เห็นแก่หน้าใคร, เช่น เขาตัดสินไม่เข้าใครออกใคร ปืนไม่เข้าใครออกใคร.
  9. ไม่เข้ายา : (สํา) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ.
  10. ไม่ค่อย, ไม่ใคร่ : ว. ไม่ถึงกับ, ไม่ถึงขนาดนั้น, เช่น ไม่ค่อยดํา.
  11. ไม่คิดไม่ฝัน : ก. นึกไม่ถึง, เกินคาด, เช่น ไม่คิดไม่ฝันว่าจะถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑.
  12. ไม่ชอบมาพากล : ว. ไม่น่าไว้วางใจ, ไม่เข้าที.
  13. ไม่เชิง : ว. ไม่เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยแน่นอน เช่น จะว่าขี้เกียจก็ไม่เชิง.
  14. ไม่ดูตาม้าตาเรือ : (สํา) ก. ไม่พิจารณาให้รอบคอบ.
  15. ไม่เดียงสา : ว. ไม่รู้ประสา, ไม่รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ, เช่น เด็กยังไม่เดียงสา.
  16. ไม่ได้ความ : ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้การ, เช่น พูดไม่ได้ความ, ไม่ดี, ใช้การไม่ได้, เช่น ของไม่ได้ความ.
  17. ไม่ได้เบี้ยเอาข้าว : (สํา) ว. ไม่ได้อย่างหนึ่งก็ต้องเอาอีกอย่างหนึ่ง, ไม่ยอมกลับมือเปล่า.
  18. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้เรื่องได้ราว : ว. ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้, ถือเป็นสาระไม่ได้.
  19. ไม่ได้ศัพท์ : (กลอน) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ, เลอะเทอะเอาเป็นหลักไม่ได้, เช่น พูดเลอะหลงไหลไม่ได้ศัพท์. (สังข์ทอง).
  20. ไม่ได้สิบ : (กลอน) ก. งงจนคิดอะไรไม่ออกหรือทําอะไรไม่ถูก เช่น ท้าวสามนต์ เสียใจไม่ได้สิบ. (สังข์ทอง).
  21. ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.
  22. ไม่เต็มหุน : (ปาก) ว. มีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ.
  23. ไม่ถูกโรคกัน : (ปาก) ก. เข้ากันไม่ได้, ไม่ถูกนิสัยกัน.
  24. ไม่เป็นการ : ก. ไม่ได้ผล, ไม่สำเร็จ, เช่น เห็นจะไม่เป็นการ.
  25. ไม่เป็นท่า : ก. หมดรูป, ไม่เข้าท่า, ไม่ได้ความ, เช่น แพ้ไม่เป็นท่า.
  26. ไม่เป็นเรื่อง, ไม่เป็นเรื่องเป็นราว : ว. ไม่มีสาระ เช่น เรื่องไม่เป็นเรื่อง.
  27. ไม่เป็นโล้เป็นพาย : ก. ไม่ได้เรื่องได้ราว, จับจด, ไม่จริงจัง, เช่น ทำงานไม่เป็นโล้เป็นพาย.
  28. ไม่เป็นอัน : ว. ใช้นำหน้ากริยามีความหมายไปในลักษณะที่ไม่สะดวก เช่น ไม่เป็นอันกิน ไม่เป็นอันนอน.
  29. ไม่พูดพร่ำทำเพลง : (สํา) ว. ไม่รอให้ชักช้า, ทันทีทันใด.
  30. ไม่ฟังเสียง : ก. ดื้อดึง, ไม่ยอมเชื่อฟัง.
  31. ไม่ยี่หระ : ก. ไม่สะทกสะท้าน, ไม่ใยดี, เช่น ใครจะด่าว่าอย่างไร เขาก็ไม่ยี่หระ.
  32. ไม่แยแส : ก. ไม่เป็นธุระ, ไม่เกี่ยวข้อง. ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง (สํา) ก. ทําสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะมีภัยแก่ตัว.
  33. ไม่ลงโบสถ์กัน : (ปาก) ก. ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, เข้ากันไม่ได้.
  34. ไม่ลดราวาศอก : ก. ไม่ยอมผ่อนปรน เช่น เถียงไม่ลดราวาศอก.
  35. ไม่ลืมหูลืมตา : ว. งมงาย เช่น หลงจนไม่ลืมหูลืมตา.
  36. ไม่เล่นด้วย : ก. ไม่ร่วมด้วย, ไม่เอาด้วย, เช่น เรื่องนี้ไม่เล่นด้วย.
  37. ไม่หยุดหย่อน : ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
  38. ไม่หวาดไม่ไหว : ว. ไม่รู้จักหมด เช่น กินไม่หวาดไม่ไหว.
  39. ไม่หือไม่อือ : (ปาก) ว. ไม่ตอบ, ไม่ขานรับ, เช่น เรียกแล้วก็ยังไม่หือไม่อือ.
  40. ไม่เห็นจะ : ว. ใช้ประกอบแสดงความเห็นหรือความรู้สึกในลักษณะที่ว่าไม่ สมควรที่จะ ไม่น่าจะ รู้สึกว่าไม่ เช่น ไม่เห็นจะน่ารักเลย ไม่เห็นจะน่ากลัวเลย.
  41. ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกก่งหน้าไม้ : (สํา) ว. ด่วนทําไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร.
  42. ไม่เหลือบ่ากว่าแรง : (สํา) ว. ไม่เกินความสามารถที่จะทําได้.
  43. ไม่อินังขังขอบ : ก. ไม่เอาใจใส่, ไม่ดูแล, ไม่นำพา.
  44. ไม่เออออห่อหมก : (สํา) ก. ไม่ตกลงด้วย, ไม่ยินยอม.
  45. ไม่เอาการเอางาน, ไม่เอางานเอาการ : ก. ไม่ตั้งใจทำการงานด้วยความขยันขันแข็ง.
  46. ไม่เอาความ : ก. ไม่ฟ้องร้องเอาความผิดตามกฎหมาย.
  47. ไม่เอาถ่าน : ก. ไม่รักดี.
  48. ไม่เอาธุระ : ก. ปล่อยปละละเลย, ไม่เอาใจใส่.
  49. ไม่เอาพี่เอาน้อง : ก. ไม่เอื้อเฟื้อจุนเจือญาติพี่น้อง.
  50. ไม่ดูเงาหัว : (สำ) ก. ไม่รู้จักประมาณตน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3597

(0.1538 sec)