Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไส , then ไศ, ไส .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไส, 60 found, display 1-50
  1. ขับไล่ไสส่ง : ก. ไล่ไปอย่างไม่มีเยื่อใย, ขับไสไล่ส่ง ก็ว่า.
  2. น้ำแข็งไส : น. น้ำแข็งที่ได้จากการไสก้อนน้ำแข็งไปบนเครื่องไส มีลักษณะเป็นเกล็ดฝอย.
  3. กวัดไกวไสส่ง : ก. ไล่ไปให้พ้น.
  4. กระษัย : [-ไส] น. ชื่อโรคตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, กษัย ก็ว่า. (ส. กฺษย ว่า โรคซูบผอม).
  5. เกาไศย : [-ไส] (แบบ) น. ผ้าไหม. (ส. เกาเศยฺย; ป. โกเสยฺย).
  6. โกไส : [-ไส] น. ผ้าทําด้วยไหม เช่น โกไสยวัตถาภรณ์. (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). (ป. โกเสยฺย).
  7. นิราศรัย : [ไส] (แบบ) ว. ไม่อยู่เป็นที่, ไม่ติดอยู่กับที่. (ส.).
  8. ศรัย : [ไส] น. ที่พักพิง, ที่พึ่ง, ที่อาศัย, ที่ร่มเย็น. (ส. ศฺรย).
  9. สัยน์ : [ไส] น. สยนะ. (ป.; ส. ศยน).
  10. อัชฌาศัย : [ไส] (โบ) น. อัชฌาสัย.
  11. อัชฌาสัย : [ไส] น. กิริยาดี; นิสัยใจคอ, ความรู้จักผ่อนปรน; ใช้ว่า อัชฌา ก็มี, (โบ) อัชฌาศัย. (ป.; ส. อธฺยาศย).
  12. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  13. กบ ๔ : น. เครื่องมือช่างไม้สําหรับไสไม้ ทําหน้าไม้ให้เรียบ ให้เป็น ราง หรือลอกบัว ลอกลวด มีมากชนิดด้วยกัน เช่น กบกระดี่ กบบรรทัด กบบัว; อุปกรณ์ใช้เหลาดินสอ.
  14. กระฉูด : ก. พุ่งออกโดยแรง (ใช้แก่ของเหลว) เช่น น้ำกระฉูด; ไสไปโดยแรง เช่น ช้างกระฉูดเท้า. (เทียบ ข. กญฺฌูส ว่า เตะดิน, ตะกุยดิน, เตะไสดินให้ฝุ่นฟุ้ง).
  15. กระดี่ ๒ : น. ชื่อกบสําหรับไสไม้ทําเป็นร่อง เรียกว่า กบกระดี่.
  16. กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  17. กษัย, กษัย- : [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  18. กษัยการ : [กะไสยะกาน] น. การที่สิ่งต่าง ๆ ค่อยผุพังและแพร่สะพัด หรือกระจัดกระจายไปเพราะพลังลมพลังน้ำ หรือปฏิกิริยาเคมี. (อ. erosion).
  19. กะเตก : ก. ไสช้างให้เดิน, มักพูดสั้น ๆ ว่า เตก.
  20. กะวะ ๑ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง สําหรับรุนกุ้งรุนเคยตามชายฝั่งแม่น้ำ ลําคลอง หรือทะเล รูปคล้ายสวิง มีถุงตาข่ายอย่างตาละเอียดแขวนอยู่ ใช้ไสตามริมฝั่งเพื่อจับกุ้งเล็ก ๆ หรือเคย.
  21. โกษย : [โกไส] (โบ) น. โกไสย เช่น ผ้าแพรทองโกษย. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  22. ขี้กบ : น. เศษไม้ที่ออกมาด้วยการไสกบ.
  23. ไขษย : [ขะไส] (โบ) น. กษัย, การสิ้นไป, การหมดไป.
  24. จำหลอก : [-หฺลอก] (กลอน) ก. ถลอก, ลอก, ไสหรือแซะให้ลึกเป็นร่อง, ทำให้เป็น ลวดลาย, เช่น จําหลักจําหลอกกลม ภบังอวจจําหลักราย. (สมุทรโฆษ).
  25. จึ้ง : น. เหล็กสําหรับไชรูอย่างหนึ่ง เช่น เกะกะกบไสไชเหล็กจึ้ง. (ขุนช้างขุนแผน). (ดิกชนารีไทย). (จ. จึ่ง ว่า เจาะ).
  26. เฉด : ก. ขับไล่ไสส่ง เช่น เฉดหัวไป. ว. คําร้องไล่หมา.
  27. ดอกไม้จันทน์ : น. เนื้อไม้จันทน์เป็นต้นที่ไสเป็นแถบบางนํามาประดิษฐ์ เป็นช่อขนาดเล็ก ใช้ในการเผาศพ.
  28. ตระบอก : [ตฺระ-] (กลอน) น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น ตระบอกบววศรีไส กลีบกล้ยง. (กำสรวล). (ข. ตฺรบก).
  29. ทุกขักษัย : [ทุกขักไส] (แบบ) น. การหมดทุกข์, พระนิพพาน. (ส. ทุะข + กฺษย; ป. ทุกฺขกฺขย).
  30. น้ำแข็งกด : น. น้ำแข็งไสที่ใส่กระบอกหรือแก้วอย่างหนา กดให้เป็นแท่ง.
  31. นิรัติศัย : [รัดติไส] (แบบ) ว. พิเศษยิ่ง, ประเสริฐยิ่ง. (ส. นิรฺ + อติศย). นิรันดร, นิรันตร [รันดอน, รันตะระ] ว. ตลอดไปไม่เว้นว่าง, ติดต่อกันตลอดไป. (ป.).
  32. บังใบ ๑ : น. ชื่อกบชนิดหนึ่งสําหรับไสคิ้วไม้; การเพลาะริมไม้ให้ลึก ลงไปจากผิวเดิมด้วยการใช้กบบังใบไส แล้วนํามาประกอบเป็นวงกบ หรือวงกรอบของประตูหน้าต่าง, วิธีเพลาะไม้ให้สนิทเป็นแผ่นเดียวกัน ด้วยการใช้กบบังใบไสริมไม้ทั้ง ๒ แผ่นให้ลึกเท่า ๆ กัน แล้วนํามา ประกบให้เป็นแผ่นเดียวกัน.
  33. บัว : น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบ เป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอก สีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ หรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบ กระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่น กลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่ บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้าน ดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทําเป็นรูป กลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐาน เป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อ ประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มี ความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุม หรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็น รูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็น ไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
  34. ประสัยห-, ประสัยห์ : [ปฺระไสหะ-, ปฺระไส] (แบบ) ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ส. ปฺรสหฺย; ป. ปสยฺห).
  35. ประสัยหาการ : [ [ปฺระไสหากาน] น. การข่มเหง.
  36. ประสัยหาวหาร : [ปฺระไสหาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อํานาจ กดขี่หรือกรรโชกให้กลัว.
  37. ปรานีปราศรัย : [ปฺรานีปฺราไส] ก. ปรานี (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  38. ปราศรัย : [ปฺราไส] น. การพูดด้วยไมตรีจิต, การแสดงอัชฌาสัยในระหว่าง ผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; คําปรารภ. ก. พูดด้วยไมตรีจิต, พูดแสดงอัชฌาสัยระหว่างผู้ใหญ่ต่อผู้น้อยหรือผู้ที่เสมอกัน; ปรารภ. (ส. ปฺรศฺรย).
  39. ปราสัย : [ปฺราไส] ก. ปราศรัย.
  40. ปสัยห-, ปสัยหะ : [ปะไสหะ] (แบบ) ก. ข่มขี่, ข่มเหง. (ป.).
  41. ปักษกษัย : [ปักสะกะไส] น. การสิ้นปักษ์.
  42. ปากตะขาบ : น. รูปเป็นง่ามอย่างเขี้ยวตะขาบ; ชื่อกบไสไม้มีคมเป็น ง่ามสําหรับไสไม้ให้เป็นลวดลาย, ปากจะขาบ ก็เรียก.
  43. เปตวิสัย : [เปตะวิไส, เปดตะวิไส] น. เปรตวิสัย.
  44. ภวกษัย : [พะวะกะไส] น. ความสิ้นภพ, นิพพาน. (ส.).
  45. มือจับ : น. ส่วนที่ทำไว้สำหรับจับเวลาเปิดปิดประตูหรือในการ ใช้งานอื่น ๆ เป็นต้น เช่น มือจับประตูรถยนต์ มือจับกบไสไม้ มือจับลิ้นชัก.
  46. ย้อนเนื้อ : ว. ลักษณะไม้ที่ไม่มีตา แต่เนื้อทวนไปทวนมา เลื่อยหรือไสกบ ได้ยาก มักเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น งิ้ว เรียกว่า ไม้ย้อนเนื้อ.
  47. รุน : ก. ดุนไปเรื่อย, ไสไปเรื่อย, เช่น รุนหลังให้รีบเดินไปข้างหน้า; ระบาย ท้อง. น. เครื่องช้อนกุ้งชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายชนาง แต่เล็กกว่า มีด้ามยาว ใช้ช้อนกุ้งหรือปลาเล็กปลาน้อยตาม ชายเฟือย.
  48. ลวดบัว : น. ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรง ส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่าง พื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับ ผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความ เหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะ สลักไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลาย ที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, บัว ก็เรียก.
  49. ลิ้นกบ : น. ไม้แบน ๆ สำหรับประกับใบกบไสไม้ให้แน่น.
  50. วิสย, วิสัย : [วิสะยะ, วิไส] น. ความสามารถ เช่น อยู่ในวิสัยที่จะเลี้ยงดูบุตร ภรรยาได้ เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำได้; ขอบ, เขต, เช่น คามวิสัย โคจรวิสัย อยู่ในทัศนวิสัย. (ป.).
  51. [1-50] | 51-60

(0.0612 sec)