Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเห็น, เห็น, ความ , then ความ, ความเห็น, หน, เห็น .

Budhism Thai-Thai Dict : ความเห็น, 1166 found, display 401-450
  1. โสวจัสสตา : ความเป็นบุคคลที่พูดด้วยง่าย, ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รู้จักรับฟังเหตุผล (ข้อ ๔ ในนาถกรณธรรม ๑๐)
  2. หายนะ : ความเสื่อม
  3. หิริ : ความละอายแก่ใจ คือละอายต่อความชั่ว (ข้อ ๑ ในธรรมคุ้มครองโลก ๒, ข้อ ๓ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๒ ในสัทธรรม ๗)
  4. อโทสะ : ความไม่คิดประทุษร้าย, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือตรงข้ามกับโทสะ ได้แก่ เมตตา (ข้อ ๒ ในกุศลมูล ๓)
  5. อธิปเตยยะ : ความเป็นใหญ่ มี ๓ อย่าง คือ ๑) อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่ ๒) โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่ ๓) ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่
  6. อธิปไตย : ความเป็นใหญ่ มี ๓ อย่าง คือ ๑) อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่ ๒) โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่ ๓) ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่
  7. อธิษฐานพรรษา : ความตั้งใจกำหนดลงไปว่าจะอยู่จำพรรษา ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดไตรมาส (๓ เดือน) ดู จำพรรษา
  8. อนธการ : ความมืด, ความโง่เขลา; เวลาค่ำ
  9. อนัตตตา : ความเป็นอนัตตา คือมิใช่ตัวมิใช่ตน (ข้อ ๓ ในไตรลักษณ์) ดู อนัตตลักษณะ
  10. อนาจาร : ความประพฤติไม่ดีไม่งาม ไม่เหมาะสมแก่บรรพชิต แยกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑) การเล่นต่างๆ เช่น เล่นอย่างเด็ก ๒) การร้อยดอกไม้ ๓) การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น ทายหวย ทำเสน่ห์
  11. อนิจจตา : ความเป็นของไม่เที่ยง, ภาวะที่สังขารทั้งปวงเป็นสิ่งไม่เที่ยงไม่คงที่ (ข้อ ๑ ในไตรลักษณ์)
  12. อนุมัติ : เห็นตาม, ยินยอม, เห็นชอบตามระเบียบที่กำหนดไว้
  13. อนุโยค : ความพยายาม, ความเพียร, ความประกอบเนืองๆ
  14. อพยาบาท : ความไม่คิดร้าย, ไม่พยาบาทปองร้ายเขา, มีเมตตา (ข้อ ๙ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)
  15. อพยาบาทวิตก : ความตรึกในทางไม่พยาบาท, การคิดแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น ปรารถนาให้เขามีความสุข (ข้อ ๒ ในกุศลวิตก ๓)
  16. อภิญญา : ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ ๑) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒) ทิพพโสต หูทิพย์ ๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ๔) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๕) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป, ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา
  17. อภิสมาจาร : ความประพฤติดีงามที่ประณีตยิ่งขึ้นไป, ขนบธรรมเนียมเพื่อความประพฤติดีงามยิ่งขึ้นไปของพระภิกษุ
  18. อโมหะ : ความไม่หลง, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ คือ ความรู้จริง ได้แก่ปัญญา (ข้อ ๓ ในกุศลมูล ๓)
  19. อรติ : ความขึ้งเคียด, ความไม่ยินดีด้วย, ความริษยา
  20. อรหัต : ความเป็นพระอรหันต์, ชื่อมรรคผลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งตัดกิเลสในสันดานได้เด็ดขาด; เขียนอย่างคำเดิมเป็น อรหัตต์
  21. อรหัตตวิโมกข์ : ความพ้นจากกิเลสด้วยอรหัต หรือเพราะสำเร็จอรหัต คือ หลุดพ้นขั้นละกิเลสได้สิ้นเชิงและเด็ดขาด สำเร็จเป็นพระอรหันต์
  22. อริยวัฑฒิ : ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ คือ ๑) ศรัทธา ความเชื่อความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผลและในการที่จะทำความดีงาม ๒) ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต ๓) สุตะ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ ๔) จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละน้ำใจและในกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว ๕) ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง
  23. อริยสัจ : ความจริงอย่างประเสริฐ, ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทำคนให้เป็นพระอริยะ มี ๔ อย่าง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (เรียกเต็มว่า ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)
  24. อรูปราคะ : ความติดใจในอรูปธรรม, ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน, ความปรารถนาในอรูปภพ (ข้อ ๗ ในสังโยชน์ ๑๐)
  25. อโลภะ : ความไม่โลภ, ไม่โลภอยากได้ของเขา, ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับความโลภ คือ ความคิดเผื่อแผ่เสียสละ, จาคะ (ข้อ ๑ ในกุศลมูล ๓)
  26. อวิชชา : ความไม่รู้จริง, ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือความไม่รู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์), อวิชชา ๘ คือ อวิชชา ๔ นั้น และเพิ่ม ๕) ไม่รู้อดีต ๖) ไม่รู้อนาคต ๗) ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘) ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
  27. อวิทยา : ความไม่รู้, อวิชชา
  28. อวิหิงสาวิตก : ความตริตรึกในทางไม่เบียดเบียน, ความตรึกด้วยอำนาจกรุณา ไม่คิดทำความลำบากเดือดร้อน แก่ผู้อื่น คิดแต่จะช่วยเหลือเขาให้พ้นจากทุกข์ (ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)
  29. อัชฌาจาร : ความประพฤติชั่ว, การละเมิดศีล, การล่วงมรรยาท, การละเมิดประเพณี
  30. อัตตภาพ : ความเป็นตัวตน, ชีวิต, เบญจขันธ์, บัดนี้เขียน อัตภาพ
  31. อัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักตน เช่น รู้ว่า เรามีความรู้ ความถนัด คุณธรรม ความสามารถ และฐานะ เป็นต้น แค่ไหนเพียงไร แล้วประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดผลดี (ข้อ ๓ ในสัปปุริสธรรม ๗)
  32. อัตตัตถสมบัติ : ความถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตน เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การที่ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีธรรม กำจัดอาสวกิเลสทั้งปวงและทำศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์ สมบูรณ์ด้วยพระญาณทั้งหลาย เพียบพร้อมด้วยพระคุณสมบัติมากมาย เป็นทีพึ่งของพระองค์เองได้ และเป็นผู้พรั่งพร้อมที่จะบำเพ็ญกิจเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกต่อไป มักเขียนเป็น อัตตหิตสัมบัติ ซึ่งแปลเหมือนกัน; เป็นคู่กันกับ ปรัตถปฏิบัติ หรือ ปรหิตปฏิบัติ
  33. อัตตาธิปไตย : ความถือตนเป็นใหญ่ จะทำอะไรก็นึกถึงตน คำนึงถึงฐานะเกียรติศักดิ์ศรี หรือผลประโยชน์ของตนเป็นสำคัญ, พึงใช้แต่ในขอบเขตที่เป็นความดี คือ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน (ข้อ ๑ ในอธิปไตย ๓)
  34. อัตถัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักผล เช่น รู้จักว่า สุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้ ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้, รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล; ตามบาลีว่า รู้ความหมาย เช่นว่า ธรรมข้อนี้ๆ มีความหมายอย่างนี้ๆ หลักข้อนี้ๆ มีเนื้อความอย่างนี้ๆ (ข้อ ๒ ในสัปปุริสธรรม ๗)
  35. อัปปมาท : ความไม่ประมาท, ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ, ความไม่เผลอ, ความไม่เลินเล่อเผลอสติ, ความไม่ปล่อยปละละเลย, ความระมัดระวังที่จะไม่ทำเหตุแห่งความผิดพลาดเสียหาย และไม่ละเลยโอกาสที่จะทำเหตุแห่งความดีงามและความเจรญ, ความมีสติรอบคอบ
  36. อัสสาทะ : ความยินดี, ความพึงพอใจ, รสอร่อย เช่น รสอร่อยของกาม, ส่วนดี, ส่วนที่น่าชื่นชม
  37. อาการ : ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, ท่าทาง, ท่วงที, ทำนอง, กิริยา, กิริยาที่ทำ, ลักษณะของการกระทำหรือความเป็นไป
  38. อาจาระ : ความประพฤติดี, มรรยาทดีงาม, จรรยา
  39. อาจิณณจริยา : ความประพฤติเนืองๆ, ความประพฤติประจำ, ความประพฤติที่เคยชิน
  40. อาชีวปาริสุทธิ : ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ คือ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบไม่ประกอบอเนสนา เช่น ไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต เป็นต้น (ข้อ ๓ ในปาริสุทธิศีล ๔)
  41. อาณาปวัติ : ความเป็นไปแห่งอาณา, ขอบเขตที่อำนาจปกครองแผ่ไป; เป็นไปในอำนาจปกครอง, อยู่ในอำนาจปกครอง
  42. อาทร : ความเอื้อเฟื้อ, ความเอาใจใส่
  43. อาพาธ : ความเจ็บป่วย, โรค (ใช้เฉพาะพระภิกษุสามเณร)
  44. อามัย : ความป่วยไข้, โรค, ความไม่สบาย; ตรังกันข้ามกับ อนามัย คือความสบาย, ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
  45. อายุวัฒนะ : ความเจริญอายุ, ยืดอายุ, อายุยืน
  46. อารยวัฒิ : ความเจริญอย่างประเสริฐ, หลักความเจริญของอารยชน มี ๕ คือ ๑) ศรัทธา ความเชื่อความมั่นใจในพระรัตนตรัย ในหลักแห่งความจริงความดีงามอันมีเหตุผลและในการที่จะทำความดีงาม ๒) ศีล ความประพฤติดี มีวินัย เลี้ยงชีพสุจริต ๓) สุตะ การเล่าเรียนสดับฟังศึกษาหาความรู้ ๔) จาคะ ความเผื่อแผ่เสียสละน้ำใจและในกว้าง พร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือ ไม่คับแคบเอาแต่ตัว ๕) ปัญญา ความรอบรู้ รู้คิด รู้พิจารณา เข้าใจเหตุผล รู้จักโลกและชีวิตตามความเป็นจริง
  47. อาลยสมุคฺฆาโต : ความถอนขึ้นด้วยดี ซึ่งอาลัย, การถอนอาลัยคือตัณหาได้เด็ดขาด (เป็นไวพจน์แห่งวิราคะ)
  48. อาโลกสัญญา : ความสำคัญในแสงสว่าง, กำหนดหมายแสงสว่างคือ ตั้งความกำหนดหมายว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นวิธีแก้ง่วงอย่างหนึ่ง
  49. อาวัชนาการ : ความรำพึง, การรำลึก, นึกถึง
  50. อาวาสปลิโพธ : ความกังวลในอาวาส คือ ภิกษุยังอยู่ในอาวาสนั้น หรือหลีกไปแต่ยังผูกใจอยู่ว่าจะกลับมา (เป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้กฐินยังไม่เดาะ); ในการเจริญกรรมฐาน หมายถึงความห่วงใยกังวลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เช่น ห่วงงานก่อสร้างในวัด มีสิ่งของที่สะสมเอาไว้มาก เป็นต้น เมื่อจะเจริญกรรมฐาน พึงตัดปลิโพธนี้ให้ได้ ดู ปลิโพธ
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | [401-450] | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1166

(0.0584 sec)