Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ทุติยภูมิ, ทุติย, ภูมิ , then ทตย, ทุติย, ทุติยภูมิ, ทุติยะ, ทุติยา, ภม, ภุมิ, ภูมิ, ภูมี .

Budhism Thai-Thai Dict : ทุติยภูมิ, 42 found, display 1-42
  1. ภูมิ : 1.พื้นเพ, พื้น, ชั้น, ที่ดิน, แผ่นดิน 2.ชั้นของจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต มี ๔ คือ ๑.กามาวจรภูมิ ชั้นที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม ๒.รูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่รูป หรือชั้นของพวกที่ได้รูปฌาน ๓.อรูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่อรูป หรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน ๔.โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นโลก หรือระดับพระอริยบุคคล
  2. กัปปิยภูมิ : ที่สำหรับเก็บเสบียงอาหารของวัด, ครัววัด มี ๔ อย่าง คือ อุสสาวนันติกา กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศให้รู้แต่แรกสร้างว่าจะทำเป็นกัปปิยภูมิ คือพอเริ่มยกเสาหรือตั้งฝาก็ประกาศให้ได้ยินว่า กปฺปิยภูมึ กโรม แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี ๑ โคนิสาทิกา กัปปิยภูมิขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ดุจเป็นที่โคจ่อม ๑ คหปติกา เรือนของคฤหบดีเขาสร้างถวายเป็นกัปปิยภูมิ ๑ สัมมติกา กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ ได้แก่ กุฎีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฎี แล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ๑
  3. ทุติยฌาน : ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ละวิตก วิจารได้ คงมีแต่ ปีติ สุข อันเกิดแต่สมาธิ กับเอกัคคตา
  4. ทุติยสังคายนา : การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒ ราว ๑๐๐ ปี แต่พุทธปรินิพพาน ดู สังคายนา ครั้งที่๒
  5. ทุติยสังคีติ : การสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒
  6. โลกุตตรภูมิ : ชั้นที่พ้นจากโลก, ระดับจิตใจของพระอริยเจ้า (ข้อ ๔ ในภูมิ ๔ อีก ๓ ภูมิ คือ กามวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ)
  7. สัมมติกา : กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ คือ กุฏีที่สงฆ์เลือกจะใช้เป็นกัปปิยกุฏีแล้วสวดประกาศด้วยญัตติทุติยกรรม ดู กัปปิยภูมิ
  8. วิสัย : ภูมิ, พื้นเพ, อารมณ์, เขต, แดน, ลักษณะที่เป็นอยู่, ไทยใช้ในความหมายว่า ขีดขั้นแห่งความเป็นไปได้ หรือขอบเขตความสามารถ
  9. เสขภูมิ : ภูมิของพระเสขะ, ระดับจิตใจและคุณธรรมของพระอริยบุคคลที่ยังต้องศึกษา
  10. กามสุคติภูมิ : กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ ๖ (จะแปลว่าสุคติภูมิที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม ก็ได้)
  11. นวกภูมิ : ขั้น ชั้น หรือระดับพระนวกะ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่ายังเป็นผู้ใหญ่ คือ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ยังต้องถือนิสัย เป็นต้น เทียบ เถรภูมิ, มัชฌิมภูมิ
  12. ญัตติทุติยกรรม : กรรมมีญัตติเป็นที่ ๒ หรือกรรมมีวาจาครบ ๒ ทั้งญัตติ, กรรมอันทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนเดียว เช่น การสมมติสีมา การสังคายนา และการมอบให้ผากฐิน เป็นต้น
  13. เถรภูมิ : ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป และรู้ปาฏิโมกข์ เป็นต้น
  14. มัชฌิมภูมิ : ขั้น ชั้น หรือระดับพระมัชฌิมะ คือพระปูนกลาง, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระปูนกลาง (ระหว่างพระนวกะ กับพระเถระ) คือมีพรรษาเกิน ๕ แต่ยังไม่ครบ ๑๐ และมีความรู้พอรักษาตัวเป็นต้น
  15. วิญญาณฐิติ : ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ มี ๗ คือ ๑.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิปาติกะ บางหมู่ ๒.สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน ๓.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ ๔.สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ ๕.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ ๖.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ๗.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจายตนะ
  16. อบาย : ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑) นิรยะ นรก ๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓) ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต ๔) อสุรกาย พวกอสุรกาย
  17. อบายภูมิ : ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑) นิรยะ นรก ๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓) ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต ๔) อสุรกาย พวกอสุรกาย
  18. กัปปิยกุฎี : เรือนเก็บของที่เป็นกัปปิยะ ดู กัปปิยภูมิ
  19. กัมมลักขณะ : การอันมีลักษณะเป็น (สังฆ) กรรมนั้นได้, กิจการที่มีลักษณะอันจัดเข้าเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในสังฆกรรมประเภทนั้นได้ แต่ท่านไม่ได้ออกชื่อไว้ และไม่อาจจัดเข้าในชื่ออื่นๆ แห่งสังฆกรรมประเภทเดียวกัน เช่น การอปโลกน์แจกอาหารในโรงฉัน เป็นกัมมลักขณะ ในอปโลกนกรรม การประกาศเริ่มต้นระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรมที่สวดในลำดับไปในการระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกวินัย เป็นกัมมลักขณะในญัตติทุติยกรรม อุปสมบทและอัพภานเป็นกัมมลักขณะในญัตติจตุตถกรรม
  20. กิจจาธิกรณ์ : การงานเป็นอธิกรณ์ คือ เรื่องที่เกิดขึ้นอันสงฆ์ต้องจัดต้องทำ หรือกิจธุระที่สงฆ์จะพึงทำ ; อรรถกถาพระวินัยว่าหมายถึงกิจอันจะพึงทำด้วยประชมสงฆ์ ได้แก่ สังฆกรรม ทั้ง ๔ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม
  21. คหปติกา : เรือนของคฤหบดี คือเรือนอันชาวบ้านสร้างถวายเป็นกัปปิยกุฎี ดู กัปปิยภูมิ
  22. โคนิสาทิกา : กัปปิยภูมิอันดุจเป็นที่โคจ่อม คือเรือนครัวน้อยๆ ที่ไม่ได้ปักเสา ตั้งอยู่กับที่ ตั้งฝาบนคาน ยกเลื่อนไปจากที่ได้ ดู กัปปิยภูมิ
  23. จิต : ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ; ตามหลักฝ่ายอภิธรรม จำแนกจิตเป็น ๘๙ (หรือพิสดารเป็น ๑๒๑) แบ่ง โดยชาติ เป็นอกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗) วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และ กิริยาจิต ๒๐; แบ่ง โดยภูมิ เป็นกามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)
  24. จีวรมรดก : จีวรของภิกษุหรือสามเณรผู้ถึงมรณภาพ (มตกจีวร) สงฆ์พึงมอบให้แก่คิลานุปฐาก (ผู้พยาบาลคนไข้) ด้วยญัตติทุติยกรรม อย่างไรก็ตาม อรรถกถาแสดงมติไว้ว่า กรณีเช่นนี้เป็นกรรมไม่สำคัญนัก จะทำด้วยอปโลกนกรรม ก็ควร
  25. ฌาน : การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก; ฌาน ๔ คือ ๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา) ๓.ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา) ๔.จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา); ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ ๑.ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒.ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ข้อ ๓.๔.๕.ตรงกับ ข้อ ๒.๓.๔.ในฌาน ๔ ตามลำดับ
  26. ทุคติ : คติชั่ว, ภูมิชั่ว, ทางดำเนินที่มีความเดือดร้อน, สถานที่ไปเกิดอันชั่ว, ที่เกิดที่ไม่ดีมากไปด้วยความทุกข์ ได้แก่ นรก ดิรัจฉาน เปรต (บางทีรวมอสุรกาย ด้วย) ดู คติ, อบาย
  27. ธนิยะ : ชื่อพระที่เอาไม้หลวงไปทำกุฎี เป็นต้นบัญญัติทุติยปาราชิกสิกขาบท
  28. ธรรมกาย : “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก; อนึ่งธรรมกายคือกองธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรมนั้น ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน..รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต”; สรุปตามนัยอรรถกถาธรรมกายก็คือโลกุตตรธรรม ๙ หรือ อริยสัจ
  29. นิรยะ : นรก, ภูมิที่เสวยทุกข์ของคนผู้ทำบาปตายแล้วไปเกิด เป็นอบายอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ ปิตติวิสัย อสุรกาย ดู นรก
  30. มหาปรันตปะ : นามหนึ่งที่บางท่านถือมาว่าอยู่ในรายชื่ออสีติมหาสาวก แต่ไม่ปรากฏว่ามีชาติภูมิเป็นมาอย่างไร บางทีจะเกิดจากความสับสนกับพระนามพระราชบิดาของพระเจ้าอุเทน (ที่ถูก คือ ปุณณ สุนาปรันตะ)
  31. ราชคฤห์ : นครหลวงของแคว้นมคธเป็นนครที่มีความเจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยคณาจารย์เจ้าลัทธิ พระพุทธเจ้าทรงเลือกเป็นภูมิที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นปฐม พระเจ้าพิมพิสารราชาแห่งแคว้นมคธ ครองราชสมบัติ ณ นครนี้
  32. รูปฌาน : ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ ๑) ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก(ตรึก) วิจาร(ตรอง) ปีติ(อิ่มใจ) สุข(สบายใจ) เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง) ๒)ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา ๓)ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข, เอกัคคตา ๔) จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา
  33. วิเหสกกรรม : กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก คือ ภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม นิ่งเฉยเสียไม่ตอบ เรียกว่าเป็นผู้ทำสงฆ์ให้ลำบาก, สงฆ์ยกวิเหสกกรรมขึ้น คือสวดประกาศการที่เธอทำตัวเช่นนั้น ด้วยญัตติทุติยกรรม เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้วเธอยังขืนทำอย่างนั้นอยู่อีก ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ ในภูตคามวรรคที่ ๒) คู่กับ อัญญวาทกกรรม
  34. สักกชนบท : ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปตอนเหนือ นครหลวงชื่อกบิลพัสดุ์ เป็นชาติภูมิของพระพุทธเจ้ามีการปกครองโดยสามัคคีธรรม มีประวัติสืบมาแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
  35. สังฆกรรม : งานของสงฆ์, กรรมที่สงฆ์พึงทำ, กิจที่พึงทำโดยที่ประชุมสงฆ์มี ๔ คือ ๑.อปโลกนกรรม กรรมที่ทำเพียงด้วยบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติและไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่น แจ้งการลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ ๒.ญัตติกรรม กรรมที่ทำเพียงตั้งญัตติไม่ต้องสวดอนุสาวนา เช่นอุโบสถ และปวารณา ๓.ญัตติทุติยกรรม กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนาหนหนึ่ง เช่น สมมติสีมา ให้ผ้ากฐิน ๔.ญัตติจตุตถกรรม กรรมที่ทำด้วยตั้งญัตติแล้วสวดอนุสาวนา ๓ หน เช่นอุปสมบท ให้ปริวาส ให้มานัต
  36. สีลวิสุทธิ : ความหมดจดแห่งศีล คือรักษาศีลให้บริสุทธิ์ตามภูมิของตนซึ่งจะช่วยเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ (ข้อ ๑ ในวิสุทธิ ๗)
  37. อกนิษฐ์ : รูปพรหมชั้นสูงสุดในพรหม ๑๖ ชั้น และเป็นสุทธาวาสภูมิชั้นสูงสุด (ข้อ ๕ ในสุทธาวาส ๕)
  38. องค์ฌาน : (บาลี ว่า ฌานงฺค) องค์ประกอบของฌาน, องค์ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเข้าเป็นฌานขั้นหนึ่งๆ เช่น ปีติ สุข เอกัคคตา รวมกันเรียกว่า ฌานที่ ๒ หรือทุติยฌาน; องค์ฌานทั้งหมดในฌานต่างๆ นับแยกเป็นหน่วยๆ ไม่ซ้ำกัน มีทั้งหมด ๖ อย่าง คือ วิตก ความตรึก วิจาร ความตรอง ปีติ ความอิ่มใจ สุข ความสุข อุเบกขา ความมีจิตเรียบสมดุลเป็นกลาง และ เอกัคคตา ความมีอารมณ์หนึ่งเดียว ดู ฌาน
  39. อัญญาวาทกรรม : กรรมที่จะพึงกระทำแก่ภิกษุผู้กล่าวคำอื่น คือภิกษุประพฤติอนาจาร สงฆ์เรียกตัวมาถาม แกล้งยกเรื่องอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อนเสีย ไม่ให้การตามตรง, สงฆ์สวดประกาศความนั้นด้วยญัตติทุติยกรรม เรียกว่า ยกอัญญวาทกรรมขึ้น, เมื่อสงฆ์ประกาศเช่นนี้แล้ว ภิกษุนั้นยังขืนทำอย่างเดิมอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (สิกขาบทที่ ๒ แห่งภูตคามวรรค ปาจิตติยกัณฑ์), คู่กับ วิเหสกกรรม
  40. อุรุเวลา : ชื่อตำบลใหญ่แห่งหนึง ในแคว้นมคธ ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา เป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์ พระมหาบุรุษทรงเลือกเป็นที่บำเพ็ญเพียร ได้ประทับอยู่ ณ ที่นี้นานถึง ๖ ปี ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชฌิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลนี้
  41. อุสสาวนันติกา : กัปปิยภูมิที่ทำด้วยการประกาศ ได้แก่ กุฎีที่ภิกษุทั้งหลายตกลงกันแต่ต้นว่าจะทำเป็นกัปปิยกุฎี ในเวลาที่ทำ พอช่วยกันยกเสาหรือตั้งฝาทีแรก ก็ร้องประกาศให้รู้กันว่า “กปฺปิยกุฎึ กโรม” ๓ หน (แปลว่า เราทั้งหลายทำกัปปิยกุฎี); ดู กัปปิยภูมิ
  42. โอสารณา : การเรียกเข้าหมู่, เป็นชื่อสังฆกรรมจำพวกหนึ่ง มีทั้งที่เป็นอปโลกนกรรม (เช่น การรับสามเณรผู้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจาซึ่งถูกนาสนะไปแล้วและเธอกลับตัวได้) เป็นญัตติกรรม (เช่น เรียกอุปสัมปทาเปกขะที่สอนซ้อมอันตรายิกธรรมแล้ว เข้าไปในสงฆ์) เป็นญัตติทุติยกรรม (เช่น หงายบาตรแก่คฤหัสถ์ที่กลับตัวประพฤติดี) เป็นญัตติจตุตถกรรม (เช่น ระงับนิคคหกรรมที่ได้ทำแก่ภิกษุ)
  43. [1-42]

(0.0283 sec)