Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ภาษาเขียน, เขียน, ภาษา , then ขยน, เขียน, ภาษ, ภาษา, ภาษาเขียน, ภาสา .

Budhism Thai-Thai Dict : ภาษาเขียน, 202 found, display 1-50
  1. ภาษา : เสียงหรือกิริยาอาการซึ่งทำความเข้าใจซึ่งกันและกันได้, ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน, คำพูด
  2. ภาษามคธ : ภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ, ภาษาของชาวแคว้นมคธ หมายถึง ภาษาบาลี
  3. ทิฏฐิ : ความเห็น, ทฤษฎี; ความเห็นผิดมี ๒ คือ ๑.สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง ๒.อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ; อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ ๑.อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ๒.อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๓.นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มีเป็นต้น; ในภาษาไทยมักหมายถึงการดื้อดึงในความเห็น (พจนานุกรมเขียน ทิฐิ)
  4. บริกรรม : 1.(ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จด้วยดี”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว 2.สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มนำลาย หรือนั่งพิง 3.การนวดฟั้นประคบ หรือถูตัว 4.การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ 5.เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า
  5. ประหาน : ละ, กำจัด; การละ, การกำจัด; ตามหลักภาษาควรเขียน ปหาน หรือ ประหาณ
  6. ปาริเลยยกะ : ชื่อแดนบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองโกสัมพีที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยอยู่ในป่ารักขิตวันด้วยทรงปลีกพระองค์ จากพระสงฆ์ผู้แตกกันในกรุงโกสัมพี; ช้างที่ปฏิบัติพระพุทธเจ้าที่ป่านั้น ก็ชื่อ ปาริเลยยกะ; เราเรียกกันในภาษาไทยว่า ปาเลไลยก์ก็มี ป่าเลไลยก์ ก็มี ควรเขียน ปาริไลยก์ หรือปาเรไลยก์
  7. รัศมี : แสงสว่าง, แสงที่เห็นกระจายออกเป็นสายๆ, แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง; เขียนอย่างบาลีเป็น รังสี แต่ในภาษาไทยใช้ในความหมายที่ต่างกันออกไปบ้าง
  8. สดับปกรณ์ : “ ๗ คัมภีร์” หมายถึงคัมภีร์พระอภิธรรมทั้ง ๗ ในพระอภิธรรมปิฎก เขียนเต็มว่า สัตตัปปกรณ์ (ดู ในคำว่า ไตรปิฎก)แต่ในภาษาไทยคำนี้ความหมายกร่อนลงมา เป็นคำสำหรับใช้ในพิธีกรรม เรียกกิริยาที่พระภิกษุกล่าวคำพิจารณาสังขารเมื่อจะชักผ้าบังสุกุลในพิธีศพเจ้านายว่า สดับปกรณ์ ตรงกับที่เรียกในพิธีศพทั่วๆ ไปว่า บังสุกุล (ซึ่งก็เป็นศัพท์ที่มีความหมายกร่อนเช่นเดียวกัน), ใช้เป็นคำนาม หมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลในงานศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะศพเจ้านาย
  9. สัปปุรุษ : เป็นคำเลือนปะปนระหว่าง สัปปุริส ที่เขียนอย่างบาลี กับ สัตบุรุษ ที่เขียนอย่างสันสกฤต มีความหมายอย่างเดียวกัน (ดู สัตบุรุษ)แต่ในภาษาไทยเป็นคำอยู่ข้างโบราณ ใช้กันในความหมายว่า คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา เฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไปร่วมกิจกรรมทางบุญทางกุศล รักษาศีลฟังธรรมเป็นประจำที่วัดใดวัดหนึ่งบางทีเรียกตามความผูกพันกับวัดว่า สัปปุรุษวัดนั้น สัปปุรุษวัดนี้
  10. องค์ : 1) ส่วน, ภาค, ตัว, อวัยวะ, ลักษณะ, คุณสมบัติ, ส่วนประกอบ 2) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณรนักบวชอื่นจากพวก และสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๒ องค์ พระเจดีย์ ๔ องค์, สำหรับภิกษุสามเณร ในภาษาเขียนท่านให้ใช้ รูป
  11. อามะ : คำรับในภาษาบาลี ตรงกับ ถูกแล้ว, ใช่, ครับ, ค่ะ, จ้ะ, เออ ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้น้อยกว่าหรือมีพรรษาน้อยกว่าหรือเป็นคฤหัสถ์พูดกับพระสงฆ์กล่าวต่อว่า ภันเต เป็น อามะ ภันเต ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้ใหญ่กว่าหรือมีพรรษามากว่า หรือเป็นพระสงฆ์พูดกับคฤหัสถ์ กล่าวตอบว่า อาวุโส เป็น อามะ อาวุโส (เขียนตามรูปบาลี เป็น อาม ภนฺเต, อาม อาวุโส)
  12. จารึก : เขียน, เขียนเป็นตัวอักษร, เขียนรอยลึกเป็นตัวอักษรลงในใบลาน หรือ ลงแผ่นศิลา แผ่นโลหะ
  13. มคธภาษา : ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ
  14. ปาตลีบุตร : ชื่อเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช; เขียน ปาฏลีบุตร ก็มี
  15. สัตตบรรณคูหา : ชื่อถ้ำที่ภูเขาเวภารบรรพต ในกรุงราชคฤห์ เป็นที่พระพุทธเจ้าเคยทรงทำนิมิตตโอภาสแก่พระอานนท์ และเป็นที่ทำ สังคายนา ครั้งแรก; เขียน สัตตปัณณิคูหา หรือ สัตตบัณณคูหา ก็มี
  16. สาเถยยะ : โอ้อวด, ความโอ้อวดหลอกเขา; เขียน สาไถย ก็ได้ (ข้อ ๖ ในมละ ๙, ข้อ ๑๐ ในอุปกิเลส ๑๖)
  17. กัณหปักข์ : 1.ข้างแรม 2.ฝ่ายดำ คือฝ่ายตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่ง เขียน กัณหปักษ์ ก็มี
  18. ถูณคาม : ตำบลที่กั้นอาณาเขตมัชฌิมชนบท ด้านทิศตะวันตก เขียน ถูนคาม ก็มี
  19. ทักขิณาวัฏ : เวียนขวา, วนไปทางขวา คือ วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา เขียน ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต ก็มี
  20. ธัมมทินนา : พระเถรีมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นกุลธิดาชาวพระนครราชคฤห์ เป็นภรรยาของวิสาขเศรษฐี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบวชในสำนักนางภิกษุณี บำเพ็ญเพียรไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในทางเป็นธรรมกถึก (เขียน ธรรมทินนา ก็มี)
  21. นวรหคุณ : คุณของพระอรหันต์ ๙ หมายถึง คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ ได้แก่ พุทธคุณ ๙ นั่นเอง เขียน นวารคุณ ก็ได้ แต่เพี้ยนไปเป็น นวหรคุณ ก็มี
  22. นิทเทส : คำแสดง, คำจำแนกอธิบาย, คำไขความ (พจนานุกรม เขียน นิเทศ)
  23. นิทัศนะ : ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์ (พจนานุกรม เขียน นิทัศน์)
  24. นิทัสน์ : ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น, อุทาหรณ์ (พจนานุกรม เขียน นิทัศน์)
  25. เนตติ : แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม (พจนานุกรม เขียน เนติ)
  26. บุรพนิมิตต์ : เครื่องหมายให้รู้ล่วงหน้า, ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน บัดนี้ เขียน บุพนิมิต
  27. ปฏิสสวะ : การฝืนคำรับ, รับแล้วไม่ทำตามรับ เช่น รับนิมนต์ว่าจะไปแล้วหาไปไม่ (พจนานุกรม เขียน ปฏิสวะ)
  28. ปฏิสัมภิทา : ความแตกฉาน, ความรู้แตกฉาน, ปัญญาแตกฉาน มี ๔ คือ ๑.อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ๒.ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ๓.นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา ๔.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
  29. มฤคทายวัน : ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ หมายความว่าห้ามทำอันตรายแก่สัตว์ในป่านี้ เขียน มิคทายวัน ก็ได้ เช่น อิสิปตนมฤคทายวัน มัททกุจฉิมิคทายวัน เป็นต้น
  30. มฤตยุราช : ยมราช, พญายม, ความตาย (พจนานุกรม เขียน มฤตยูราช)
  31. มุขปาฐะ : คำออกจากปาก, ข้อความที่ท่องจำกันมาด้วยปากเปล่า ไม่ได้เขียนไว้, ต่อปากกันมา (พจนานุกรม เขียน มุขบาฐ)
  32. โยคาวจร : ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้ประกอบความเพียร, ผู้เจริญภาวนา คือ กำลังปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เขียน โยคาพจร ก็มี
  33. โลกุดร : พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้ง ๓ (พจนานุกรม เขียน โลกุตตร) คู่กับ โลกิยะ
  34. โลกุตตระ : พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้ง ๓ (พจนานุกรม เขียน โลกุตตร) คู่กับ โลกิยะ
  35. โลกุตระ : พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้ง ๓ (พจนานุกรม เขียน โลกุตตร) คู่กับ โลกิยะ
  36. วิสัชชนา : คำตอบ, คำแก้ไข; คำชี้แจง (พจนานุกรม เขียน วิสัชนา)
  37. สนตพาย : ร้อยเชือกสำหรับร้อยจมูกควาย ที่จมูกควาย (สน = ร้อย, ตพาย = เชือกที่ร้อยจมูกควาย) (พจนานุกรม เขียน สนตะพาย)
  38. อัสดงค์ : ตกไป คือ พระอาทิตย์ตก, พจนานุกรม เขียน อัสดง
  39. จาร : เขียนตัวหนังสือหรือเลขลงบนใบลาน เป็นต้น โดยใช้เหล็กแหลมขีด, ใช้เหล็กแหลมเขียนตัวหนังสือ
  40. กรรแสง : ร้องไห้ บัดนี้เขียน กันแสง
  41. กัณฑกสามเณร : ชื่อสามเณรรูปหนึ่งในครั้งพุทธกาล ผู้กล่าวตู่พระธรรมเป็นต้นเหตุให้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสัปปาณกวรรคในปาจิตติยกัณฑ์ และทรงให้สงฆ์นาสนะเธอเสีย เขียนเป็น กัณฏกะ ก็มี
  42. กัมมัฏฐาน : ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑ วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑ (นิยมเขียน กรรมฐาน) ดู ภาวนา -subjects of meditation, meditation exercises, the act of meditation or contemplation, ground for mental culture.
  43. กามารมณ์ : 1.อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แก่กามคุณ ๕ นั่นเอง 2.ภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม
  44. กิริยากิตก์ : เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง เช่น ปรินิพฺพุโต (ดับรอบแล้ว) ปพฺพชิตฺวา (บวชแล้ว) เป็นต้น
  45. กิริยากิตกะ : เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกิริยาสำคัญในประโยคบ้าง ใช้เป็นกิริยาในระหว่างของประโยคบ้าง และใช้เป็นคุณบทบ้าง เช่น ปรินิพฺพุโต (ดับรอบแล้ว) ปพฺพชิตฺวา (บวชแล้ว) เป็นต้น
  46. กิริยาอาขยาต : เป็นชื่อกิริยาศัพท์ประเภทหนึ่งในภาษาบาลี ใช้เป็นกริยาสำคัญในประโยค อันแสดงถึงการกระของประธาน เช่น คจฺฉติ (ย่อมไป) ปรินิพฺพายิ (ดับรอบแล้ว) เป็นต้น
  47. แกงได : รอยกากบาทหรือขีดเขียนซึ่งคนไม่รู้หนังสือขีดเขียนลงไว้เป็นสำคัญ
  48. คณะมหานิกาย : คณะสงฆ์ไทยเดิมทีสืบมาแต่สมัยสุโขทัย, เป็นชื่อที่ใช้เรียกในเมื่อได้เกิดมีคณะธรรมยุตขึ้นแล้ว; สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า พระสงฆ์อันมีเป็นพื้นเมือง (ของประเทศไทย-ผู้เขียน) ก่อนเกิด ธรรมยุติกนิกาย (การคณะสงฆ์ น.๙๐)
  49. คันธาระ : ชื่นแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำสินธูตอนเหนือ ตรงกับแคว้นปัญจาบภาคเหนือในปัจจุบัน นครหลวง ชื่อตักสิลา เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่างๆ แคว้นคันธาระอยู่ติดกันกับแคว้นกัษมีระ (เขียนอย่าสันสกฤตเป็นกัศมีระ) หรือแคชเมียร์ พระราชาผู้ปกครองคันธาระในสมัยพุทธกาล มีพระนามว่าปุกกุสาติ
  50. คาถา : 1.คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง ในภาษาบาลี คาถาหนึ่งๆ มี ๔ บาท
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-202

(0.0324 sec)