Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เทียบเคียง, เทียบ, เคียง .

Budhism Thai-Thai Dict : เทียบเคียง, 71 found, display 1-50
  1. นิมิต : 1.เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเข ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ 2.(ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ 3.เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ ๑.บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น ๓.ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา 4.สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง ดู เทวทูต
  2. ปฏิภาคนิมิต : นิมิตเสมือน, นิมิตเทียบเคียง เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต เกิดจากสัญญา สามารถนึกขยายหรือย่อส่วน ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามความปรารถนา
  3. มหาปเทส : ข้อสำหรับอ้างใหญ่, หลักอ้างอิงสำหรับเทียบเคียง ๔ คือ ๑.สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งเป็นอกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ สิ่งนั้นควร ๒.สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ สิ่งนั้นควร ๓.สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นอกัปปิยะขัดต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ สิ่งนั้นไม่ควร ๔.สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควรแต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ สิงนั้นควร
  4. วินีตวัตถุ : เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว, เรื่องที่ตัดสินแล้ว ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่างสำหรับเทียบเคียงตัดสิน ในการปรับอาบัติ (ทำนองคำพิพากษาของศาลสูงสุดที่นำมาศึกษากัน)
  5. คันถธุระ : ธุระฝ่ายคัมภีร์, ธุระคือการเรียนพระคัมภีร์, การศึกษาปริยัติธรรม; เทียบ วิปัสสนาธุระ
  6. บุพพัณณะ : ของที่ควรกินก่อน ได้แก่ ข้าวทุกชนิดเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง เป็นต้น; เทียบ อปรัณณะ
  7. ปรัตถะ : ประโยชน์ผู้อื่น, ประโยชน์เพื่อคนอื่น อันพึงบำเพ็ญด้วยการช่วยให้เขาเป็นอยู่ด้วยดี พึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นทิฏฐธัมมิกัตถะหรือสัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะก็ตาม; เทียบ อัตตัตถะ
  8. สมบัติ๒ : ความถึงพร้อม, ความสมบูรณ์, ความครบถ้วนของสังฆกรรม เช่น อุปสมบท เป็นต้น ที่จะทำให้สังฆกรรมนั้นถูกต้อง ใช้ได้ มีผลสมบูรณ์ มี ๔ คือ ๑.วัตถุสมบัติ วัตถุถึงพร้อม เช่น ผู้อุปสมบทเป็นชายอายุครบ ๒๐ ปี ๒.ปริสสมบัติ บริษัทคือที่ประชุมถึงพร้อม สงฆ์ครบองค์กำหนด ๓.สีมาสมบัติ เขตชุมนุมถึงพร้อม เช่น สีมามีนิมิตถูกต้องตามพระวินัย และประชุมทำในเขตสีมา ๔.กรรมวาจาสมบัติ กรรมวาจาถึงพร้อม สวดประกาศถูกต้องครบถ้วน (ข้อ ๔ อาจแยกเป็น ๒ ข้อ คือเป็น ๔ ญัตติสมบัติ ญัตติถึงพร้อม คือคำเผดียงสงฆ์ถูกต้อง ๕.อนุสาวนาสมบัติ อนุสาวนาถึงพร้อมคำหารือตกลงถูกต้อง รวมเป็นสมบัติ ๕); เทียบ วิบัติ
  9. สอุปาทิเสสนิพพาน : นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่, นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ; เทียบ อนุปาทิเสสนิพพาน
  10. สอุปาทิเสสบุคคล : บุคคลผู้ยังมีเชื้อกิเลสเหลืออยู่, ผู้ยังไม่สิ้นอุปาทาน ได้แก่ พระเสขะ คือ พระอริยบุคคลทั้งหมด ยกเว้นพระอรหันต์; เทียบ อนุปาทิเสสบุคคล
  11. อนุปาทิเสสนิพพาน : นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต, นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ; เทียบ สอุปาทิเสสนิพพาน
  12. อนุปาทิเสสบุคคล : บุคคลผู้ไม่มีเชื้อกิเลสเหลือ, ผู้หมดอุปาทานสิ้นเชิง ได้แก่ พระอเสขะ คือ พระอรหันต์; เทียบ สอุปาทิเสสบุคคล
  13. อปรัณณะ : ของที่ควรกินทีหลัง เช่นถั่วและงา; เทียบ ปุพพัณณะ
  14. อโยนิโสมนสิการ : การทำในใจโดยไม่แยบคาย, การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา, ความไม่รู้จักคิด, การปล่อยให้อวิชชาตัณหาครอบงำ; เทียบ โยนิโสมนสิการ
  15. อัฑฐกุสิ : เส้นคั่นดุจคันนาขวางระหว่างขันฑ์กับขันฑ์ของจีวร, เทียบ กุสิ
  16. อัตตัตถะ : ประโยชน์ตน, สิ่งที่เป็นคุณแก่ชีวิต ช่วยให้เป็นอยู่ด้วยดี สามารถพึ่งตน หรือเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ ไม่ว่าจะเป็นทิฏฐธัมมิกัตถะ หรือสัมปรายิกัตถะ หรือปรมัตถะ ก็ตาม, เทียบ ปรัตถะ
  17. อัตตา : ตัวตน, อาตมัน; ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่าอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง; เทียบ อนัตตา
  18. ของสังฆกรรม : มี ๔ คือ ๑.วัตถุวิบัติ เสียโดยวัตถุ เช่น อุปสมบทคนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ๒.สีมาวิบัติ เสียโดยสีมา เช่น สีมาไม่มีนิมิต ๓.ปริสวิบัติ เสียโดยบริษัทคือที่ประชุม เช่น ภิกษุเข้าประชุมไม่ครบองค์สงฆ์ ๔.กรรมวาจาวิบัติ เสียโดยกรรมวาจา เช่น สวดผิดพลาดตกหล่น สวดแต่อนุสาวนาไม่ได้ตั้งญัตติ เป็นต้น (ข้อกรรมวาจาวิบัติบางกรณีแยกเป็นญัตติวิบัติและอนุสาวนาวิบัติ กลายเป็นวิบัติ ๕ ก็มี) เทียบ สมบัติ
  19. จตุกกัชฌาน : ฌานหมวด ๔ คือ รูปฌานที่แบ่งเป็น ๔ ขั้น อย่างที่รู้จักกันทั่วไป ดู ฌานเทียบ ปัญจกัชฌาน
  20. จริยธรรม : “ธรรมคือความประพฤติ”, “ธรรมคือการดำเนินชีวิต”, หลักความประพฤติ, หลักการดำเนินชีวิต; คำ “จริยธรรม” นี้ นักปราชญ์ในประเทศไทยได้บัญญัติให้ใช้สำหรับคำภาษาอังกฤษว่า ethics หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม หรือกฎศีลธรรม; จริยะ หรือพรหมจริยะ (พรหมจริยธรรม หรือ พรหมจรรย์) แปลว่า ความประพฤติอันประเสริฐ หมายถึง มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา เทียบ ศีลธรรม
  21. เตวาจิก : มีวาจาครบ ๓ หมายถึง ผู้กล่าวว่าจาถึงสรณะครบทั้ง ๓ อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดาพระยสะเป็นคนแรก ที่ประกาศตน เป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต (เทียบ เทฺววาจิก)
  22. ธรรมทายาท : ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม, ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึง; โดยหมายถึงรับเอาโลกุตตรธรรม ๙ ไว้ได้ด้วยการบรรลุเอง โดยอ้อมหมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชา ที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตตรธรรมนั้น เทียบ อามิสทายาท
  23. ธรรมปฏิสันถาร : การต้อนรับด้วยธรรม คือกล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศคือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอยู่อย่างบริบูรณ์ คือการต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก่ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือนร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง เทียบ อามิสปฏิสันถาร
  24. นวกภูมิ : ขั้น ชั้น หรือระดับพระนวกะ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่ายังเป็นผู้ใหญ่ คือ มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ยังต้องถือนิสัย เป็นต้น เทียบ เถรภูมิ, มัชฌิมภูมิ
  25. นาม : ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจ เป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้ 1.ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 2.บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั้นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ) 3.บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย เทียบ รูป
  26. ปมาทะ : ความประมาท, ความเลินเล่อ, ความเผลอ, ความขาดสติ, ความปล่อยปละละเลย เทียบ อัปปมาทะ
  27. ปัจฉิมิกา : วันเข้าพรรษาหลัง ได้แก่ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙; อีกนัยหนึ่งท่านสันนิษฐานว่า เป็นวันเข้าพรรษาในปีที่มีอธิกมาส (เดือน ๘ สองหน) เทียบ ปุริมิกา
  28. ปัญญาวิมุตต : ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล และทำให้เจโตวิมุตติ เป็น เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป เทียบ เจโตวิมุตติ
  29. ปุริมิกา : วันเข้าพรรษาต้น ได้แก่วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน ๘ เทียบ ปัจฉิมิกา
  30. ภัพพบุคคล : คนที่ควรบรรลุธรรมพิเศษได้ เทียบ อภัพบุคคล
  31. ภิกษุ : ชายผู้ได้อุปสมบทแล้ว, ชายที่บวชเป็นพระ, พระผู้ชาย; แปลตามรูปศัพท์ว่า ผู้ขอ หรือ ผู้มองเห็นภัยในสังขาร หรือ ผู้ทำลายกิเลส ดู บริษัทสหธรรมิก, บรรพชิต, อุปสัมบัน ภิกษุสาวกรูปแรก ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ ภิกษุณี หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา เทียบ ภิกษุ
  32. วจีสุจริต : ประพฤติชอบด้วยวาจา, ประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง คือ เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ดู สุจริต เทียบ วจีทุจริต
  33. วสันต์ : ฤดูใบไม้ผลิ เทียบ วัสสานะ (ฤดูฝน)
  34. วิปัสสนาธุระ : ธุระฝ่ายวิปัสสนา, ธุระด้านการเจริญวิปัสสนา, กิจพระศาสนาในด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน เทียบ คันถธุระ
  35. สมานาสนิกะ : ผู้ร่วมอาสนะกัน หมายถึง ภิกษุผู้มีพรรษารุ่นราวคราวเดียวกันแก่หรืออ่อนกว่ากันไม่ถึง ๓ พรรษา นั่งร่วมอาสนะเสมอกันได้ เทียบ อสมานาสนิกะ
  36. สวิญญาณกะ : สิ่งที่มีวิญญาณ ได้แก่ สัตว์ต่าง ๆ เช่น แพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็นต้น เทียบ อวิญญาณกะ
  37. สังฆราชี : ความร้าวรานแห่งสงฆ์ คือ จะแตกแยกกัน แต่ยังไม่ถึงกับแยกทำอุโบสถปวารณาและสังฆกรรมต่างหากกัน เทียบ สังฆเภท
  38. สังหาริมะ : สิ่งที่เคลื่อนที่ได้ คือนำไปได้ เช่น สัตว์และสิ่งของที่ตั้งอยู่ลอย ๆ ไม่ติดที่ ได้แก่ เงิน ทอง เป็นต้น เทียบ อสังหาริมะ
  39. สัทธิวิหาริกวัตร : ข้อควรปฏิบัติต่อสัทธิวิหาริก, หน้าที่อันอุปัชฌาย์จะพึงกระทำแก่สัทธิวิหาริก คือ ๑.เอาธุระในการศึกษา ๒.สงเคราะห์ด้วยบาตรจีวร และบริขารอื่น ๆ ๓.ขวนขวายป้องกัน หรือ ระงับความเสื่อมเสีย เช่นระงับความคิดจะสึก เปลื้องความเห็นผิด ฯลฯ ๔.พยาบาลเมื่ออาพาธ เทียบ อุปัชฌายวัตร
  40. สาธารณสิกขาบท : สิกขาบทที่ทั่วไป, สิกขาบทที่ใช้บังคับทั่วกันหรือเสมอเหมือน หมายถึง สิกขาบทสำหรับภิกษุณี ที่เหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ เช่น ปาราชิก ๔ ข้อต้นในจำนวน ๘ ข้อของภิกษุณีเหมือนกันกับสิกขาบทของภิกษุ เทียบ อสาธารณสิกขาบท
  41. สุจริต : ประพฤติดี, ประพฤติชอบ, ประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม มี ๓ คือ ๑.กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย ๒.วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา ๓.มโนสุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ เทียบ ทุจริต
  42. อกุปปธรรม : ผู้มีธรรมที่ไม่กำเริบ คือ ผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลย ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้งหมด เทียบ กุปปธรรม
  43. อกุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ ก) กรรม ๓ ได้แก่ ๑) ปาณาติบาต การทำลายชีวิต ๒) อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓) กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ข) วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔) มุสาวาท พูดเท็จ ๕) ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗) สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ ค) มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘) อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙) พยาบาท คิดร้ายเขา ๑๐) มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เทียบ กุศลกรรมบถ
  44. อนิฏฐารมณ์ : อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา, สิ่งที่คนไม่อยากได้ไม่อยากพบ แสดงในแง่ตรงข้ามกับกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ แสดงในแง่โลกธรรม ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ การนินทา และความทุกข์ เทียบ อิฏฐารมณ์
  45. อนุปสัมบัน : ผู้ยังมิได้อุปสมบท ได้แก่ คฤหัสถ์และสามเณร (รวมทั้งสิกขมานาและสามเณรี), ผู้มิใช่ภิกษุหรือภิกษุณี เทียบ อุปสัมบัน
  46. อภิสมาจาริกาสิกขา : หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมที่จะชักนำความประพฤติ ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ให้ดีงามมีคุณยิ่งขึ้นไป, สิกขาฝ่ายอภิสมาจาร เทียบ อาทิพรหมจริยกาสิกขา
  47. อวิญญาณกะ : พัสดุที่ไม่มีวิญญาณ เช่นเงิน ทอง ผ้านุ่งห่ม และเครื่องใช้สอย เป็นต้น เทียบ สวิญญาณกะ
  48. อสมานาสนิกะ : ภิกษุผู้มีพรรษาอ่อนแก่กว่ากันเกิน ๓ พรรษา นั่งอาสนะคือเตียงตั่งสำหรับ ๒ รูป เสมอกันไม่ได้ (แต่นั่งอาสนะยากด้วยกันได้) เทียบ สมานาสนิกะ
  49. อสังหาริมะ : ซึ่งนำเอาไปไม่ได้, เคลื่อนที่ไม่ได้, ของติดที่ ขนเอาไปไม่ได้ เช่น ที่ดิน โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ต้นไม้ เรือน เป็นต้น เทียบ สังหาริมะ
  50. อสาธารณสิกขาบท : สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป หมายถึงสิกขาบทเฉพาะของภิกษุณี ที่แผกออกไปจากสิกขาบทของภิกษุ เทียบ สาธารณสิกขาบท
  51. [1-50] | 51-71

(0.0222 sec)