Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บรรพชิต , then บรรพชิต, ปพฺพชิต .

Eng-Thai Lexitron Dict : บรรพชิต, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : บรรพชิต, 12 found, display 1-12
  1. นักบวช : (N) ; priest ; Related:clergyman, abbot, hermit, ascetic, friar ; Syn:บรรพชิต, ผู้ถือบวช ; Samp:เหล่านักบวชในศาสนาต่างๆ ร่วมอวยพรในวันขึ้นปีใหม่
  2. พระ : (N) ; monk ; Related:priest ; Syn:สงฆ์, ภิกษุ, บรรพชิต ; Def:นักบวชในศาสนา ; Samp:เราเรียนที่จะกินข้าววันละ 3 เวลาถ้าเราบวชเป็นพระเราก็เรียนใหม่ที่จะกินวันละ 2 เวลา ; Unit:รูป
  3. พระสงฆ์ : (N) ; monk ; Related:Buddhist priest ; Syn:ภิกษุ, พระภิกษุ, พระ, บรรพชิต, สงฆ์ ; Def:ชายที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ; Samp:ประกาศคณะสงฆ์เปรียบเสมือนข้อบัญญัติที่พระสงฆ์จะต้องถือปฏิบัติ ; Unit:รูป
  4. สมณเพศ : (N) ; monkhood ; Related:priesthood, clergy ; Syn:เพศพระภิกษุ, เพศบรรพชิต ; Samp:ศาลตัดสินว่าภิกษุรูปนั้นจะต้องสละสมณเพศ ถ้าไม่สละสมณเพศจะมีโทษติดคุก 6 เดือน
  5. ลาเพศ : (V) ; leave the monkhood ; Syn:ลาสึก, ลาสิกขา ; Ant:ลาบวช ; Def:ลาจากเพศบรรพชิต ; Samp:สามเณรตัดสินใจลาเพศบรรพชิตด้วยความรู้สึกเป็นห่วงพี่สาว
  6. จตุปัจจัย : (N) ; the four necessities of a Buddhist monk: food, raiment, abode and medicine ; Def:เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา 4 อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) ศิลานเภสัช (ยา) ; Samp:คนเราทุกคนต้องการปัจจัยสี่หรือจตุปัจจัยในการดำรงชีวิต
  7. ประสก : (N) ; pious Buddhist ; Related:layman, lay devoter, churchman ; Syn:อุบาสก, ฆราวาส, คฤหัสถ์ ; Ant:อุบาสิกา, สีกา ; Def:ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คำที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย ; Unit:คน
  8. ปลงผม : (V) ; remove hair ; Related:have one's head shaved ; Syn:โกนผม ; Def:ใช้แก่บรรพชิต ; Samp:เขาปลงผมออกบวชในบวรพระพุทธศาสนา
  9. ปัจจัยสี่ : (N) ; four requisites ; Def:เครื่องอาศัยของบรรพชิต 4 อย่าง ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ ยารักษาโรค ; Samp:เรามีปัจจัยครบสี่แล้วเป็นการดี ถ้าปัจจัยสี่นี้ยิ่งสมบูรณ์เท่าไรก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น ; Unit:ปัจจัย
  10. พนม : (N) ; mountain ; Related:hill ; Syn:ภูเขา ; Def:ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, ภูเขา ; Samp:ท่านได้พำนักอยู่ณเมืองนครนัยว่าเป็นถ้ำขุนเขา พนม และได้ถึงแก่มรณกรรมในบรรพชิตเพศ ; Unit:ลูก
  11. สามเณร : (N) ; novice ; Syn:เณร ; Def:ผู้ดำรงเพศอย่างภิกษุ แต่สมาทานศีล 10 ; Samp:สามเณรชูก็ตัดสินใจลาเพศบรรพชิต ด้วยความรู้สึกเป็นห่วงพี่สาวร่วมมารดาที่ต้องต่อสู้ชีวิตด้วยความลำบาก ; Unit:รูป
  12. อุปสมบท : (V) ; go into priesthood ; Related:to be ordained ; Syn:บวช, บรรพชา ; Def:บวชเป็นภิกษุ ; Samp:ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตเพศฆราวาสจึงตัดสินใจอุปสมบทสู่เพศบรรพชิตอีกครั้ง

Royal Institute Thai-Thai Dict : บรรพชิต, more than 5 found, display 1-5
  1. บรรพชิต : [บันพะชิด] น. นักบวชในพระพุทธศาสนา. (ป. ปพฺพชิต; ส. ปฺรวฺรชิต).
  2. บัพชิต : [บับพะชิด] น. บรรพชิต, นักบวช, ผู้บวช. (ป. ปพฺพชิต).
  3. ฆราวาส : [คะราวาด] น. คนผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ บรรพชิตหรือนักบวช. (ป.).
  4. จตุปัจจัย : [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.).
  5. ประสก : (ปาก) น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คําที่บรรพชิต เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (ตัดมาจาก อุบาสก).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : บรรพชิต, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : บรรพชิต, more than 5 found, display 1-5
  1. บรรพชิต : ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุสมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี) มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์ (ในภาษาไทยปัจจุบัน ให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน)
  2. ภิกษุ : ชายผู้ได้อุปสมบทแล้ว, ชายที่บวชเป็นพระ, พระผู้ชาย; แปลตามรูปศัพท์ว่า ผู้ขอ หรือ ผู้มองเห็นภัยในสังขาร หรือ ผู้ทำลายกิเลส ดู บริษัทสหธรรมิก, บรรพชิต, อุปสัมบัน ภิกษุสาวกรูปแรก ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ ภิกษุณี หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา เทียบ ภิกษุ
  3. สุภัททะ วุฒบรรพชิต : “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้วคราวหนึ่งได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้ง ๒ เอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่าพระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับและทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้ ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก ในขณะนั้นเอง พระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่าสิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น” พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททะวุฒบรรพชิต นี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก
  4. ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนื่องๆ ๑๐ : ดู อภิณหปัจจเวกขณ์
  5. วุฒบรรพชิต : ผู้บวชเมื่อแก่
  6. Budhism Thai-Thai Dict : บรรพชิต, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : บรรพชิต, 10 found, display 1-10
  1. ปพฺพชิต : (ปุ.) นักบวช ( ทุกประเภท ) , ภิกษุ, บรรพชิต. วิ. ปพฺพชฺชา สญฺชาตา อสฺสาติ ปพฺพชิโต. สญฺชาตตฺเถ อิโต. เสฏฺฐตฺตํ วชตีติ วา ปพฺพชิโต. วชฺ คมเน, โต, อิอา คโม.
  2. คิห : นป. บ้าน, เรือน, ใช้ในคำว่า อคิห ค. = ผู้ไม่มีเรือน (บรรพชิต)
  3. กปฺปิยโวหาร : (ปุ.) ถ้อยคำอันควร, ถ้อยคำ อันสมควร, กัปปิยโวหาร คือถ้อยคำที่ควรใช้พูด ถ้อยคำที่ภิกษุใช้พูดให้เหมาะ สมแก่ภาวะไม่ผิดพระวินัย ในเมื่อต้องการให้ผู้อื่น (มิใช่บรรพชิต) ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นพูดว่า หญ้าข้างกุฏิรกเด็กหรือคนวัด ถอนหรือดายหญ้าให้ ภิกษุไม่ต้องอาบัติใน เพราะพรากของเขียว ดังนี้เป็นต้น.
  4. คนฺธกุฏิ : อิต. คันธกุฎี, กระท่อมที่อยู่อาศัยของบรรพชิต (โดยเฉพาะเป็นที่ประทับอยู่อาศัยของพระพุทธเจ้า)
  5. ตาปส : (ปุ.) บรรพชิตผู้มีธรรมเครื่องยัง กิเลสให้เร่าร้อน ( ย่างกิเลสให้แห้ง ). ตปฺ สนฺตาเป, โณ. ลง สฺ และ อ อาคม หรือ ลง สกฺ ปัจ. ทีฆะ ลบ กฺ ส. ตาปส.
  6. อกรณียกิจฺจ : (นปุ.) กิจอัน....ไม่พึงทำ, กิจอัน....ไม่ควรทำ, อกรณียกิจ.กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ (ทำไม่ได้) มี๔ อย่าง.ความเป็นจริงกิจที่บรรพชิตไม่ควรทำทั้งสิ้น ชื่ออกรณียกิจ ที่ท่านยกขึ้นกล่าวเพียง ๔ อย่างนั้นกล่าวเฉพาะข้อที่สำคัญซึ่งล่อแหลมต่อการขาดจากความเป็นบรรพชิตและเพื่อให้เหมาะแก่เวลาเมื่ออุปสมบทเสร็จ.อกรณียกิจของคนทั่วไปได้แก่ กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต.
  7. อนาคาริยวินย : (ปุ.) วินัยของบรรพชิต, วินัยของพระ.
  8. อนาณตฺติก : (วิ.) ไม่ต้องเพราะสั่ง, ไม่ต้องเพราะบังคับ.สิกขาบทใดของบรรพชิตหรือของผู้ครองเรือนใช้ให้ผู้อื่นทำไม่ต้องอาบัติ หรือศีลไม่ขาด, ทำเองจึงต้องอาบัติหรือศีลจึงขาด สิกขาบทนั้นเป็นอณาถณัต-ติกะ.เช่นสิกขาบทเกี่ยวกับการประพฤติผิดในกาม.
  9. อุปฺปพฺพชติ : ก. สึก, ละเพศบรรพชิต
  10. อุปฺปพฺพาเชติ : ก. ให้สึก, ให้ละจากบรรพชิตเพศ

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : บรรพชิต, not found

(0.1270 sec)