มานสิก : (วิ.) อัน...กระทำแล้วด้วยใจ วิ. มนสากตํ มานสิกํ. มีในใจ วิ. มนสิ ภวํ มนฺสิกํ. อันเป็นไปในใจ วิ. มนสิ ปวตฺตนํ มานสิกํ. ณิกปัจ.
มานานุสย : (ปุ.) กิเลสเป็นที่มานอน คือ มานะ, กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือมานะ.
มานุญฺญก : (นปุ.) ความเป็นแห่งของที่เป็นที่ฟูใจ. มนุญฺญ+กณฺ ปัจ. ภาวตัท.
มานุสก : (วิ.) เป็นของมีอยู่แห่งมนุษย์, เป็นของแห่งมนุษย์, เป็นของมนุษย์. ก ปัจ. โมคฯ ณาทิกัณฑ์ ๔๐.
มามก : (วิ.) เป็นของเรา วิ. มม ภาโวติ มามโก. ณ ปัจ. ราคมทิตัท. ก สกัด หรือ ณก ปัจ.
มาร : (ปุ.) สภาพผู้ฆ่า, สภาพผู้ทำลาย (ความดี), มาร, มารคือกามเทพ. วิ. สตฺตานํ กุสลํ มาเรตีติ มาโร (ยังความดีของสัตว์ให้ตาย). กุสลธมฺเม มาเรตีติ วา มาโร (ยังกุศลธรรมให้ตาย). มรฺ ปาณจาเค, โณ. ทางศาสนาจัด กิเลสกาม เป็นมารวัตถุกาม เป็นบ่วงแห่งมาร.
มารชิ มารชี : (ปุ.) เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง วิ. กิเลสาทิเก ปญฺจมาเร อชินีติ มารชิ. มารปุพฺโพ, ชิ ชี ชเย, กฺวิ.
มารเธยฺย : (นปุ.) ที่เป็นที่ตั้งแห่งมาร, ที่อันมารพึงทรงไว้, ที่อันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่ากิเลสวัฏเป็นที่ทรงแห่งมาร, วัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมาร, บ่วงแห่งมาร.
มารวิชย : (ปุ.) การชนะวิเศษซึ่งมาร, การชนะมาร, ความชนะมาร, มารวิชัย (ผู้ชนะมาร). เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้า. คำ มารวิชัย นี้ไทยใช้เรียก พระพุทธรูปปางชนะมาร คือ ประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาพาดพระชานุ (เข่า).
มาราธิราช : (ปุ.) มารผู้เป็นใหญ่ยิ่งกว่ามาร, มารผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, พญามาร.
มาริส : (ปุ.) เจ้า, ท่าน, ท่านผู้เช่นเรา, ท่านผู้หาทุกข์มิได้, ท่านผู้นิรทุกข์, ท่านผู้เว้นจากทุกข์ (นิทฺทุกฺข ทุกฺขรหิต) . ศัพท์นี้มีอยู่ในกลุ่มคำ มาทิกฺข แล้ว ที่แยกไว้อีกนี้ เพราะคำนี้มักใช้เป็น อาลปนะ.
มาลฺย : (นปุ.) พวง, พวงดอกไม้, มาลัย (ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวง). มาลา+ณฺย ปัจ. ลบ ณฺ รัสสะ.
มาสก : (ปุ.) มาสก ชื่อมาตรานับเงิน ๒ กุญชาเป็น ๑ มาสก ๕ มาสกเป็น ๑ บาท. มสฺ อามสเน, ณฺวุ.
มิคทาย มิคทายวน : (นปุ.) ป่าเป็นที่ให้ซึ่งอภัยแก่เนื้อ, สวนสัตว์, มิคทายวัน, มฤคทายวัน.
มิจฺฉตฺตนิยตธมฺม : (ปุ.) ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและธรรมเป็นนิยตะ, ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน ได้แก่ อนันตริยกรรมและนิยตมิจฉาทิฏฐิ. ไตร. ๓๓.
มิจฉาทิฏฺฐ : (อิต.) ความเห็นผิด, ความเห็นที่ผิด, ลัทธิเป็นเครื่องเห็นผิด. มิจฺฉาทสฺสนํ มิจฺฉาทิฏฺฐ. แก้มิจฉาทิฏฐิ ได้โดย ๑. ธัมมัสสวนะ ฟังธรรม ฟังบรรยายธรรม จากท่านผู้รู้ถูกต้อง เทศน์สอน อ่านหนังสือธรรม ที่ท่านผู้รู้ถูกต้องเขียน ๒. ธัมมานุสสรณะ หมั่นทบทวนคำสอน ๓. ธัมมาสากัจฉา สนทนาธรรมกับท่านผู้รู้ถูกต้อง.
มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจร : (วิ.) มีความดำริผิดเป็นที่จรไปแห่งอินทรีย์, มีความดำริผิดเป็นที่เที่ยวไปราวกะว่าที่เป็นที่เที่ยวไปแห่งโค, มีความดำริผิดเป็นอารมณ์.
มิจฺฉาอาชีว : (ปุ.) ความเป็นอยู่ผิด, การเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด, อาชีพผิด, มิจฉาอาชีวะ มิจฉาชีพ คือการหาเลี้ยงชีวิตด้วยการประกอบกิจที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม.
มิลกฺขเทส : ป. ภูมิประเทศเป็นที่อยู่ของคนป่า
มุข : (วิ.) เป็นใหญ่, เป็นประธาน, เป็นประมุข, เป็นหัวหน้า, เป็นประถม, ฉลาด, ชำนาญ.
มุขฺยา : (อิต.) ความเป็นแห่งบุคคลผู้เป็นประธาน, ความเป็นหัวหน้า, ความเป็นประธาน. ณฺย ปัจ.
มุขรตา : อิต. ความเป็นผู้ปากจัด
มุคฺคริก : (วิ.) มีไม้ค้อนเป็นอาวุธ. ณิก ปัจ.
มุจฺฉา : (อิต.) ความวิงเวียน, ความสยบ (ฟุบลง) , ความสลบ (แน่นิ่ง หมดความรู้สึก), การวิงเวียน, การเป็นลม. มุจฺฉฺ โมหสมุสฺสเยสุ, อ, อิตฺถิยํ อา.
มุจลินฺท มุจฺจลินฺท : (ปุ.) ต้นจิก, ไม้จิก. จุลฺ นิมฺมชฺชเน, อินฺโท. เท๎วภาวะ จุ แปลงเป็น มุ ศัพท์หลังซ้อน จฺ หรือตั้ง มุจลฺ สงฺฆาเต.
มุณฺฑิย : (นปุ.) การเป็นคนโล้น, การปลงผม, การบวช.
มุตฺตามุตฺต : (นปุ.) ไม้เท้าซึ่งเป็นศัตราชนิดหนึ่งเป็นต้นชื่อ มุตตามุตตะ.
มุทฺทิกกายพนฺธน : (นปุ.) ประคดเอวเป็นวงแหวน.
มุทุตา : (อิต.) ความเป็นแห่งคนอ่อน, ความเป็นแห่งคนอ่อนโยน.
มุนินฺท : (นปุ.) นักปราชญ์ผู้เป็นเจ้า (พระพุทธเจ้า), พระมุนินท์ พระนามของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระนาม ๑ ใน ๓๒ พระนาม.
มุนิราช : (วิ.) ผู้เป็นเจ้าแห่งมุนี.
มุสาวาทาเวรมณีอาทิ : (วิ.) (วจีสุจริต) มีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเท็จ เป็นต้น.
มุหุ : (อัพ. นิบาต) บ่อยๆ , เนืองๆ, มาก. รูปฯ ว่าเป็นนิบาตลงในกาลสัตตมี.
มูควตฺต : (นปุ.) ความประพฤติใบ้, ความประพฤติเป็นคนใบ้, มูควัตร ชื่อวัตรของเดียรถีอย่างหนึ่ง คือ ประพฤติเป็นคนใบ้ไม่พูดจากัน.
มูล : (วิ.) เป็นที่ตั้ง, เป็นที่พึ่ง, เป็นที่อาศัย, เป็นต้น, เป็นเดิม, ใกล้, เป็นทุน, เป็นมูล, เป็นเหตุ, ใหญ่, มูลฺ ปติฏฺฐายํ, อ.
มูลกมฺมฏฺฐาน : (นปุ.) กัมมัฏฐานเดิม, กัมมัฏฐานอันเป็นเดิม, ได้แก่ เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ ซึ่งพระอุปัชฌาย์ให้เมื่อขอบรรพชาอุปสมบท.
มูลนิธิ : (ไตรลิงค์) ทรัพย์อันบุคคลเก็บไว้เป็นต้นทุน, มูลนิธิ ชื่อทรัพย์สินอันตั้งไว้เป็นทุนเก็บแต่ดอกผลมาใช้ในการกุศลหรือประโยชน์สาธารณะ ต้องจดทะเบียนตามกฏหมาย.
มูลิก : ค. ซึ่งเป็นพื้นฐาน
เมขล : (นปุ.) สายรัดเอว, เครื่องประดับเอว, เครื่องประดับเอวสตรี, เข็มขัด, เข็มขัดหญิง, สังวาล ชื่อเครื่องประดับชนิดหนึ่ง ทำเป็นรูปสายสร้อย ใช้คล้องสะพายแล่ง. เมขฺ กฏิวิจิตฺเต, อโล. ศัพท์หลัง อา อิต.
เมขลา : (อิต.) สายรัดเอว, เครื่องประดับเอว, เครื่องประดับเอวสตรี, เข็มขัด, เข็มขัดหญิง, สังวาล ชื่อเครื่องประดับชนิดหนึ่ง ทำเป็นรูปสายสร้อย ใช้คล้องสะพายแล่ง. เมขฺ กฏิวิจิตฺเต, อโล. ศัพท์หลัง อา อิต.
เมถุนธมฺม : (ปุ. นปุ) เรื่องความประพฤติของหญิงและชายผู้มีความพอใจเสมอกัน, เรื่องของคนคู่กัน, ประเพณีของชาวบ้าน, เรื่องของชาวบ้าน, ธรรมของอสัตบุรุษ, เมถุนธรรม (เรื่องของคนเป็นคู่ๆ พึงประพฤติ). วิ. เมถุนํ เอว ธมฺโม เมถุนธมฺโม.
เมยฺย : (วิ.) อัน...พึงนับ, อัน...ได้นับแล้ว, อัน...ย่อมนับ, อัน...จักนับ. มา มาเน, ณฺย ปัจ. แปลง ณฺย กับ อา ที่สุดธาตุเป็น เอยฺย รูปฯ ๕๔๐.
เมรุ : (ปุ.) เมรุ ชื่อภูเขากลางจักรวาล, ภูเขา เมรุ. วิ. มิณาติ สพฺเพ ปณฺณเต อตฺตโน อุจฺจตรตฺเตนาติ เมรุ. มิ หึสายํ, รุ. มินาติ รํสีหิ อนฺธการนฺติ วา เมรุ. ภูเขาเมรุ ภูเขาสุเมรุ เป็นภูเขาลูกเดียวกัน.
โมกฺข : (วิ.) เป็นหัวหน้า, เป็นประธาน, ประเสริฐ, สูงสุด. วิ. หีนมชฺฌิมภาเวหิ มุจฺจตีติ โมกฺโข (พ้นจากภาวะเลวและภาวะปานกลาง). มุจฺ โมจเน, โต ตสฺส โข, จสฺส โก จ.
โมกฺขธมฺม : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องพ้น, ธรรม คือความหลุดพ้น, โมกษธรรม.
โมคฺคลฺลาน : (ปุ.) พระโมคคัลลานะ ชื่อพระมหาเถระผู้เป็นอัครสาวกฝ่ายซ้ายของพระพุทธเจ้า.
โมฆิย : (วิ.) อาจเป็นโมฆะ, เป็นโมฆะ.
โมจนเวลา : (อิต.) เวลาเป็นที่ปลด, ฯลฯ.
โมเนยฺย : (นปุ.) ความเป็นแห่งมุนี วิ. มุนิสฺส ภาโว โมเนยฺยํ. เณยฺย ปัจ. ภาวตัท.
โมเนยฺยปฏิปทา : (อิต.) ข้อปฏิบัติอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ความเป็นมุนี.