อาวุโส : (อัพ. นิบาต) แน่ะท่านผู้มีอายุ, แน่ะ ผู้มีอายุ, ดูกรท่านผู้มีอายุ, ดูก่อนท่านผู้มี อายุ, ท่านผู้มีอายุ, คุณ. เป็นคำสำหรับ นักบวชเรียกนักบวช ผู้มีพรรษาอ่อนกว่า หรือสำหรับนักบวชพูดกับชาวบ้านก็ได้ แปลว่า จ๊ะ เจริญพร ขอเจริญพร. แปลว่า ขอรับ. ก็ได้. พูดกับผู้ชายแปลว่า พ่อ พูดกับผู้หญิง แปลว่า แม่. ส. อายุษมตฺ.
อาเวณิก, - ณิย : ค. พิเศษ, เฉพาะ, คนละส่วน, เป็นอิสระ, เป็นแผนกๆ
อาเวธ : ค. ถูกแทง, เป็นรู, เป็นแผล
อาสน : (วิ.) เป็นที่นั่ง, เป็นที่อันเขานั่ง.
อาสนสาลา : (อิต.) ศาลาเป็นที่นั่ง, ศาลา สำหรับนั่ง, โรงฉัน, หอฉัน.
อาสภฏฺฐาน : นป. คอกวัว, ตำแหน่งที่มีชื่อเสียง, ความเป็นผู้นำ
อาสย : (วิ.) เป็นที่มานอน, เป็นที่อาศัย.
อาสยานุสยญาณ : (นปุ.) ญาณอันเป็นไป ด้วยสามารถแห่งความรู้ซึ่งฉันทะเป็น ที่มา นอนและธรรมเป็นที่มานอนตาม, ญาณ (ความรู้) ในฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลส อันนอนเนืองของสัตว์ ท., ญาณเป็นเครื่อง รู้ซึ่งฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลสเป็นที่มา นอนตาม, ปัญญาหยั่งรู้ อัธยาศัยและอนุสัย ของสัตว์ท.
อาสว : (ปุ.) ธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้ไหลไป ทั่ว ธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้ไหลไปใน ภพทั้ง๓๑ภพ, กิเลสเครื่องหมักดอง, กิเลส, อันตราย, อุปัททวะ, เหล้าอันบุคคลทำด้วย ดอกไม้, น้ำดอง, สุรา, เมรัย. ในที่ต่าง ๆ แปลว่า เมรัย เท่านั้น แต่ อภิฯ แปลว่า สุรา ด้วย. อาปุพฺโพ, สุ ปสเว, โณ.
อาสวกฺขยญาณ : (นปุ.) ความรู้เป็นเหตุยัง อาสวะให้สิ้นไป, ความรู้เป็นเหตุสิ้น อาสวะ, ความรู้ในความสิ้นไปแห่งอาสวะ.
อาสา : (อิต.) ชื่อของตัณหา, ตัณหา. อาสา วุจฺจติ ตณฺหา. ไตร ๒๙/๑๑๘. ความหวัง, ความปรารถนา. อิสุ อิจฺฉายํ, อ, อิสฺสา (แปลง อิ เป็นอา). ส. อาศา
อาสาฬฺหปูชา : (อิต.) การบูชาในเดือนแปด วิ. อาสาฬฺหสฺมึ ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาในวันกลางเดือนแปด วิ. อาสาฬฺห- ปุณฺณมาย ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุพิเศษ (สำคัญ) ของ พระพุทธศาสนาอันเกิดขึ้นในวันกลาง เดือนแปด. วิ. อาสาฬฺหปุณฺณมาย อุปฺปนฺนสฺส พุทฺธสาสนวิเสสการณสฺส อนุสฺสรณสฺส ปูชา อาสาฬฺหปูชา. วัน อาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธ มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์และเวียน เทียน เดินปทักษิณปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน สามรอบ ตรงกับวันกลางเดือน ๘ ถ้าปีใด มีอธิกามาส ก็ตรงกับวันกลางเดือน ๘ หลัง มีความสำคัญคือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปป- วัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี นับ แต่ตรัสรู้แล้วได้ ๖๐ วัน เป็นวันที่จักร (ล้อ) คือธรรมได้หมุนไปในโลก เป็นวันที่ พระอริยสงฆ์เกิดขึ้นเป็นองค์แรกเป็นวันที่ รัตนะมีครบ ๓ เป็นพระรัตนตรัย.
อาสิ : ก. ได้เป็นแล้ว
อาสุ : ก. ได้เป็นแล้ว
อาหจฺจปาท : (ปุ.) เตียงมีขาจรดแม่แคร่. วิ. อฏนิยํ อาหจฺโจ ยสฺส ปาโท อาหจฺจปาโท. อาหจฺจ วา ปาโท ติฏฺฐติ ยสฺเสติ อาหจฺจปา โท. อาหจฺจ ของ วิ. หลัง เป็นศัพท์ กิริยากิตก์ ตูนาทิปัจ.
อาหริม : ค. อันนำมา, เป็นเสน่ห์, ล่อให้หลง
อาฬน : (นปุ.) ที่เป็นที่นำมาเผา, ป่าช้า. วิ. อาเนตฺวาทหียเตอเตฺรติ อาฬนํ. อาปุพฺโพ, ทหฺ ภสฺมีกรเณ, ยุ, ทสฺส โฬ, หฺโลโป.
อิงฺขติ : ก. ไป, ถึง, เป็นไป
อิงฺคติ : ก. ไป, ถึง, เป็นไป
อิจฺจ : (ปุ.) การไป, การถึง, การเป็นไป, ความไป, ฯลฯ. อิ คติยํ, ริจฺโจ.
อิจฺฉา : (อิต.) อิจฉา ชื่อของตัณหา, ตัณหา, ความปรารถนา, ฯลฯ. วิ. เอสนํ อิจฺฉา. รูปฯ ๕๘๓. ไทยใช้ อิจฉา เป็นกิริยาใน ความว่า ริษยา. ส. อิจฉา.
อิจฺฉาปกต : ค. ผู้มีความต้องการเป็นปกติ
อิญฺชิตตฺต : (นปุ.) ความเป็นแห่งความไหว, ฯลฯ.
อิฏฺฐกา : (อิต.) อิฐ (ดินเผา หรือ ปูนซิเมนต์ผสม กับทรายหล่อเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม ผืนผ้า), แผ่นอิฐ, กระเบื้อง. อิสุ อิจฺฉายํ, ณฺวุ. ส. อิษฺฏกา.
อิณฏฺฐ : ค. ลูกหนี้
อิณโมกฺข : ป. การพ้นจากหนี้, การไม่มีหนี้สิน
อิณสามิก : ป. เจ้าหนี้, ผู้ให้ยืม
อิณโสธน : นป. การชำระหนี้
อิณาทาน : (นปุ.) การถือเอาซึ่งหนี้, การกู้หนี้, การกู้หนี้ยืมสิน. วิ. อิณํ อาทานํ อิณาทานํ. ทุ. ตัป.
อิณายิก : (ปุ.) บุคคลผู้ยืม, ลูกหนี้ (คนมีหนี้). วิ. อิณํ คณฺหาตีติ อิณายิโก. อายิก ปัจ. อิณํ อายติ ปวตฺเตีติ วา อิณายิโก. ณวุ ปัจ.
อิตฺตรตา : อิต. ความเป็นของเปลี่ยนแปลง
อิตฺถตฺต : นป. ๑. ภพนี้, ชาตินี้;
๒. สตรีภาพ, ความเป็นหญิง
อิตฺถตฺตา : (อิต.) ความเป็นอย่างนี้, ฯลฯ. ตา ปัจ. ภาวตัท ซ้อน ตฺ.
อิตฺถภาว : (ปุ.) ความเป็นอย่างนี้, ฯลฯ.
อิตฺถมฺภุต (อิตฺถมฺภูต) : ค. เป็นเช่นนี้
อิตฺถมฺภูต : (วิ.) ถึงแล้วซึ่งประการนี้, ถึงแล้ว ซึ่งอาการนี้, ถึงแล้วซึ่งความเป็นอย่างนี้. วิ. อิตฺถํ ภูโต ปตฺโตติ อิตฺถมฺภูโต. คำแปลหลัง วิ. อิตฺถตฺตํ ภูโตติ อิตฺถมฺภูโต. ลบ ตฺต.
อิตฺถินิมิตฺต : นป. อิตถีนิมิต, เครื่องหมายความเป็นหญิง
อิตถี : (อิต.) หญิง, ผู้หญิง (ผู้ ในที่นี้เป็นคำ นาม). วิ. อิจฺฉตีติ อิตฺถี (ผู้ปรารถนาชาย). อิจฺฉียตีติ อิตฺถี (ชายอยากได้). นรํ อิจฺฉาเปตีติ อิตฺถี (ผู้ให้ชายปรารถนา). อสุ อิจฺฉายํ, อีสาตฺถีติ สุตฺเตน ตฺถีปจฺจโย, ธาตฺวนฺตสฺส โลโป. อถวา, อิสฺ ปฏฺฐเน, ถี, สสฺส โต. ส. สตฺรี.
อิตฺถี : (อิต.) นาง (คำใช้แทนหญิง), ภรรยา, ภริยา. อุ. ภตฺตา ปญฺญาณมิตฺถิยา. ภัสดา เป็นเครื่องปรากฏแห่งภรรยา.
อิตถีนิมิตฺต : (นปุ.) เครื่องหมายของหญิง. อิตฺถี+นิมิตฺต. เครื่องหมายของเพศหญิง. อิตฺถีเวส+นิมิตฺต ลบ เวส. เครื่องหมาย ของความเป็นหญิง. อิตฺถีภาว+นิมิตฺต ลบ ภาว.
อิติ : (กิริยาอาขยาด) ย่อมเป็นไป. อิ ธาตุ ติ วิภัติ.
อิติหีติห : (วิ.) เป็นของอ้างว่าท่านว่ามาอย่างนี้ อย่างนี้, เป็นของอ้างว่าท่านว่ามาดังนี้ดังนี้, จริงอย่างนี้, จริงอย่างนี้อย่างนี้.
อิทฺธิปาฏิหาริย : (นปุ.) ความอัศจรรย์อันเกิด จากความสำเร็จ, อิทธิปาฏิหาริย์ (สิ่งที่น่าอัศจรรย์ การแสดงฤทธิ์ได้เป็น อัศจรรย์).
อิทปจฺจยตา อิทปฺปจฺจตา : (อิต.) ความเป็น แห่งธรรม มีอวิชชาเป็นต้นเป็นปัจจัย, ความเป็นแห่งสังสารอัฏมีอวิชชาเป็นต้น เป็นปัจจัย.
อิทปฺปจฺจยตา : อิต. ความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย
อินฺทธนุ : (นปุ.) รุ้ง, สายรุ้ง, รุ้งกินน้ำ. วิ. อินฺทสฺส สกฺกสฺส ธนุ อินฺทธนุ. ส. อินฺทฺร ธนุ. ไทยนำคำนี้มาใช้ตามรูปสันสกฤตว่า อนิทรธนู (ออกเสียงว่า อินทะนู) เป็นชื่อ ของเครื่องประดับบ่าทั้งสองข้าง เป็นผ้า เนื้อ เดียวกับเสื้อ เย็บติดกับเสื้อ รูปเรียวเล็กน้อย ด้านทางคอมีรูสำหรับร้อยลูกกระดุม อีกอย่างหนึ่ง ทำเป็นธนูแข็งติดเครื่องหมายยศทั้งสองข้าง. และเป็นชื่อของลายขอบ ที่เป็นกระหนก.
อินฺทฺริย : (วิ.) ใหญ่, เป็นใหญ่, ปกครอง.
อินฺทิรา : (อิต.) พระลักษมี ชื่อชายาของพระ นารายณ์ เป็นเจ้าแม่แห่งลาภและความงาม.
อินฺทุริย : นป. อินทรีย์, อำนาจ, ความเป็นใหญ่
อิริยนา : (อิต.) ความเป็นไป, ความประพฤติ, ความเป็นอยู่, ความเจริญอยู่. อิริยฺ วตฺตเน, ยุ.