คนฺถธุร : (นปุ.) กิจในคัมภีร์, การเล่าเรียน ความรู้ซึ่งจารึกไว้ในคัมภีร์, การศึกษาคำ สั่งสอนซึ่งจารึกไว้ในคัมภีร์, คันถธุระ ชื่อ ธุระอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง ของพระพุทธ ศาสนา. การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมคือ คำสั่งสอน แล้วทรงจำไว้กล่าวสอนไม่ให้ ผิดไปจากหลักตัดสินพระธรรมวินัย ชื่อว่า คันถธุระ. เป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะพระภิกษุและสามเณร. ธุระ อีกอย่างหนึ่งคือ วิปัสสนาธุระ.
อธิจิตฺตสิกฺขา : (อิต.) ปฏิทาอัน..พึงศึกษา คือจิตยิ่ง, ข้อที่ควรศึกษาคือจิตยิ่ง, อธิกจิตตสิกขาชื่อหลักการศึกษาทางพุทธศาสนา หลักที่ ๒ใน ๓ หลัก.
ทิฏฺฐชุกมฺม : (นปุ.) การทำความเห็นให้ตรง คือการทำความเห็นให้ถูกต้องตามหลัก ธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา.
โอวาทปาฏิโมกฺข โอวาทปาติโมกฺข : (ปุ.) คำสั่งสอนอัน เป็นประธานโดยความเป็นใหญ่, โอวาทปาฏิโมกข์, โอวาทปาติโมกข์ ชื่อ โอวาทซึ่งประพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระอรหันต์ ๑๒๕๐ องค์ เป็น เอหิภิกขุอุป สัมปทา ทั้งสิ้น ซึ่งมาประชุมกันโดยมิได้ นัดหมาย ณ วันเพ็ญมาฆบูชาหลังตรัสรู้ แล้วได้ ๙ เดือน เป็นหลักสำคัญ (หัวใจ) ของพระพุทธศาสนา มหาปธานสูตร ที. มหา. ไตร. ๑๐/๕๔.
สาสน : (นปุ.) คำสั่ง คำบังคับ (อาณา), พระพุทธพจน์(อาคม), การสั่งสอน คำสั่งสอน(อนุสาสน), จดหมาย (เลข), ข่าว ข่าวคราว, สาสน์ คือพระราชหัตถเลขาทางราชการหรือลิขิตของพระสังฆราช, ศาสนา สาสนา (คำสั่งสอนของพระศาสดา). วิ. สาสิยเตติ สาสนํ. สาสฺ อนุสิฎฐยํฐ ยุ. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการสั่งสอน (อบรม) สัตวโลก (มนุษย์) พร้อมทั้งเทวดาและพรหม วิ. สเทวกํ โลกํ สาสติ เอตฺถาติ สาสนํ. คำสั่งสอนอันเบียดเบียนกิเลส, คำสั่งสอนอันกำจัดกิเลส. วิ. กิเลเส สาลตีติ สาสนํ สสุ หึสายํ, ยุ. ทีฆะตันธาตุ. ส. ศาสน.
กีล : (นปุ.) การผูก, การพัน, การมัด, การรัด, ความผูก, ฯลฯ, เครื่องผูก, ฯลฯ, หลัก, สลัก, หอก, ข้อศอก, ลิ่ม. กีลฺ พนฺธเน, อ. ส. กีล.
ขาณุก : ป. ตอไม้, หลัก, เสา
ขาณุ ขานุ ขานุก : (ปุ. นปุ.) ตอ, ตอไม้, หลัก, หลักตอ. อภิฯวิ. ขญฺญติ อวทารียตีติ ขาณุ. ขณุ อวทารเณ, ณุ, ณสฺสา (แปลง ณ ตัวธาตุ เป็น อา). กัจฯ ๖๗๑ วิ. ขณิตพฺโพ อวทาริต- พฺโพติ ขาณุ ขานุ วา. กัจฯ และ รูปฯ ลง ณุ นุ ปปัจ. ตัวนี้ไม่ลบ ศัพท์หลังลง ก สกัด.
จิลฺลก : ป. เสาเข็ม, หลัก, หมุด, เดือย
ถูณ : (ปุ.) เสา, หลัก, หลักเป็นที่บูชายัญ. วิ. อภิตฺวียฺตีติ ถูโณ. ถุ ถู วา อภิตฺถเว, อูโณ. ธรฺ ธารเณ วา, ยุ, รฺโลโป, ธสฺส โถ, อสฺสุตฺตํ, ทีโฆ จ. ไม่ทีฆะเป็น ถุณ บ้าง.
ปทก : ๑. ค. ผู้เข้าใจตัวบท, ผู้ชำนาญในบทพระเวท;
๒. นป. รากฐาน, มูลเค้า, หลัก; บท; คำ; ตาหมากรุก
กปฺปนา : (อิต.) ความตรึก, ฯลฯ, กัลปนา ผลบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ที่ ดินหรือสิ่งของ ที่เจ้าของอุทิศผลประโยชน์ อันเกิดจากสิ่งนั้น ให้แก่วัดหรือพระ ศาสนา. ส. กลฺปนา.
คณฺฑุ : (ปุ.) หลัก. คฑิ สนฺนิจเย, อุ.
ธมฺมปฏิรูป : (ปุ.) ธรรมเทียม ธรรมไม่แท้ ซึ่งแฝงเข้ามาปนกับธรรมแท้ เป็นผลของการกระทำของผู้ไม่หวังดีแก่พระ ศาสนา หรือของคนผู้หวังแต่ประโยชน์ ของตนหรือพรรคพวกของตน.
นโยปาย : (ปุ.) หนทางเป็นเครื่องนำไป, วิธี เป็นเครื่องนำไป, อุบายเป็นเครื่องนำไป, วิธีดำเนินการ. วิ. นโย อุปาโย นโยปาโย. ไทย นโยบาย ใช้ในความหมายว่า หลัก และวิธีปฏิบัติที่ถือเป็นแนวดำเนินการ.
ภิกฺขุนี : (อิต.) ภิกษุณี พระผู้หญิง ของพระพุทธ ศาสนา เป็นบริษัทที่ ๒ ในบริษัท ๔. ภิกฺขุ+อินี อิต. เป็นพระที่บวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือจากภิกษุณีสงฆ์ และภิกษุสงฆ์รักษาสิกขาบท (ศีล) ๓๑๑ สิกขาบท.
โอสารณา : (อิต.) โอสารณา ชื่อของวินัยกรรม อันสงฆ์ทำคือ : การเรียก (รับ) สามเณรผู้กล่าวติเตียนพระรัตนตรัย ถูกสงฆ์นาสนะผู้กลับ ประพฤติเรียบร้อยดีแล้ว ให้เข้าหมู่ได้ โอสารณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีอปโลกนกรรม. การเรียกอุปสัมปทาเปกขะ ซึ่งได้รับการไล่เรียง (ซักซ้อม) อันตรายิกธรรม ที่นอกเขตประชุมสงฆ์ (ห่างจากสงฆ์) ๑๒ ศอกแล้ว ให้เข้าหมู่สงฆ์ได้โอสาร- ณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัตติกรรม. การหงายบาตรแก่คฤหัสถ์ผู้ประพฤติให้ร้ายแก่พระศาสดา (ศาสนา)ถูกสงฆ์คว่ำบาตรคือไม่คบ ไม่รับกิจนิมนต์ ไม่รับบิณฑบาต ภายหลังรู้สึกตนกลับ ประพฤติเรียบร้อยดีแล้ว โอสารณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัตติทุติยกรรม. ๔. การยกโทษแก่ภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ ซึ่งถูกสงฆ์ลงโทษด้วยตัชชนียกรรมผู้ กลับประพฤติดีแล้ว โอสารณานี้สงฆ์ ทำด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม.
พุทฺธสาสน : (นปุ.) ศาสนาแห่งท่านผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, ศาสนาของพระ พุทธเจ้า, ศาสนาพุทธ, พุทธศาสนา, พุทธสาสนา, โดยมากใช้รูปสันสกฤต คือ พุทธศาสนา.
อนุสาสนาจริย : (ปุ.) อาจารย์ผู้ทำหน้าที่สั่งสอนอนุศาสนาจารย์.ส. อนุศาสนาจารฺย.
การกสงฺฆ : (ปุ.) สงฆ์ผู้ทำ, สงฆ์ผู้ทำกิจทาง พระศาสนา, การกสงฆ์. สงฆ์มีจำนวน ต่าง ๆ กัน ประชุมพร้อมเพรียงกันทำ การต่าง ๆ มีสังคายนาเป็นต้น เรียกว่า การกสงฆ์.
กาสาย กาสาว : (นปุ.) ผ้าอันบุคคลย้อมแล้ว ด้วยรสฝาด, ผ้าอันบุคคลย้อมแล้วด้วยน้ำ ฝาด, ผ้าย้อมด้วยรสฝาด, ผ้าย้อมด้วยน้ำ ฝาด, ผ้ากาสายะ, ผ้ากาสาวะ, จีวร. วิ. กสาเยน กสาเวน วา รตฺตํ วตฺถํ กาสายํ กาสาวํ วา. ณ ปัจ. ราคาทิตัท. คำจีวรใน ที่นี้ หมายเอาเฉพาะผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาดใน ความหมายของพระพุทธศาสนา.
กิจฺจวตฺต : (นปุ.) ความประพฤติอัน...พึงทำ, ฯลฯ, ความประพฤติตามหน้าที่, เรียกกิจ ทางศาสนาที่จะพึงทำเป็นประจำ เช่น ทำ วัตรเช้า ทำวัตรเย็น เป็นต้นว่า กิจวัตร. กิจที่ทำเสมอ ๆ แม้มิใช่กิจทางศาสนาก็ เรียกกิจวัตรได้บ้าง ผู้เขียนมีความเห็นว่า ควรยกไว้เป็นศัพท์เฉพาะกิจทางศาสนา เหมาะกว่า.
ขตฺตธมฺม : ป. ธรรมนูญการปกครอง, หลักการปกครอง, รัฐศาสตร์
จกฺกปาณิ : (ปุ.) พระจักกปาณิ (ผู้มีจักรใน พระหัตถ์) ชื่อพระนารายณ์ ชื่อ ๑ ใน ๕ ชื่ออีก๕ ชื่อถือ วาสุเทว หริ กณฺห เกสว. พระนารายณ์หรือพระวิษณุ เป็นชื่อของพระเจ้า องค์เดียวกัน เป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู.
จปุจปุ : (วิ.) จับๆ (จั๊บๆ). เสียงที่เกิดจากการเคี้ยวอาหารโดยมิได้หุบปาก ทาง พุทธศาสนาถือว่าเป็นกิริยาที่ไม่สุภาพ สุ ภาพชนไม่ควรทำ.
จริต : (นปุ.) การเที่ยวไป (ของจิต) ความประ พฤติ, เรื่องราว, นิสัย, พื้น, พื้นเพ, พื้นเพ ของจิต, จริต, (พื้นเพของจิต ของแต่ละบุค คล ซึ่งจะหนักไปในทางใดทางหนึ่งในหก ทาง ดูจริต ๖ ในหลักธรรมะ) จรฺ จรเณ, โต, อิอาคโม.
ฉนฺท : (ปุ.) สภาพผู้อาศัยจิตนอนอยู่, ความตั้ง ใจ, ความพอใจ, ความชอบใจ, ความปรา- รถนา, ความต้องการ, ความอยาก, ความอยากได้, ความมุ่งหมาย, ความยินดี, ความรัก, ความรักใคร่, ความสมัคร, ความสมัครใจ, ความเต็มใจ, ความอยู่ในอำนาจ, อัธยาศัย, ตัณหา, พระเวท. ฉนฺทฺ อิจฺฉายํ, อ. ส. ฉนฺท. ฉนฺท ฉันท์ ชื่อคำประพันธ์อย่าง ๑ มีหลาย ชื่อ มีหลักการวางคำ ครุ ลหุ และจำนวน คำแต่ละบาทต่างๆ กัน วิ. วชฺชํ ฉาทยตีติ ฉนฺทํ. ฉทฺ สํวรเณ, อ, นิคฺคหิตาคโม. ส. ฉนฺทสฺ.
ฉายาภมฺภ : (ปุ.) หลักวัดเงาแดด, นาฬิกาแดด.
ชินสาสน : นป. ศาสนาหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ญาติสาโลหิต : (ปุ.) พี่น้องผู้เกี่ยวเนื่องกันด้วย เลือด, พี่น้องผู้เกี่ยวเนื่องกันด้วยสายเลือด, พี่น้องผู้ร่วมสายเลือด, ญาติสาโลหิต, ญาติสายโลหิต ( ญาติที่ลืมสกุลมาโดยตรง ญาติสายโลหิตเดียวกัน ). คำ ญาติ ทาง ศาสนาหมายถึงคนที่ไม่ใช่สายเลือดเดียว กัน ก็ได้ ดังบาลีว่า วิสฺสาสาปรมา ญาติ ความคุ้นเคยชื่อว่าเป็นญาติอย่างยิ่ง. (ญาติ สนิท).
ฐาน : นป. ฐานะ, การตั้งอยู่, การดำรงอยู่, การหยุดอยู่, ที่ตั้ง, หลักแหล่ง, ตำแหน่ง, เหตุ, โอกาส
ฐิติภาคิย : ค. ผู้มีส่วนแห่งความตั้งมั่น, ผู้มีหลักฐาน, ผู้มีความยั่งยืน
ตทงฺคนิพพาน : (นปุ.) ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌานมีปฐมฌานเป็นต้น อัฏฐกถาให้ วิ. ว่า ปฐมฌานาทินา เตน เตน องฺเคน นิพพานํ ตทงฺคนิพพานํ. ตทงฺคนิพพาน ศัพท์นี้มีในไตร. ๒๓ ข้อที่ ๕0 สูตรที่ ๙ แห่งปญจาลวรรค. ไม่ควรแปลว่า นิพพาน ชั่วขณะ ดังที่อาจารย์บางท่านแปล ควร แปลว่า ความดับด้วยองค์นั้น ๆ โดยฌาน มี ปฐมฌาน เป็นต้น ตามที่อัฏฐกถาจารย์ ตั้ง วิ. ไว้ เพราะว่า “นิพพาน” นับเป็น ๑ ในโลกุตตรธรรม ๙ ไตร. ๓๑ ข้อ ๖๒0 และชาวพุทธฝ่ายเถรวาท ใช้คำ นิพพาน เป็นชื่อของจิตที่ดับกิเลสเป็นสมุจเฉทป – หานด้วยอริยมรรคที่ ๔ เป็นอกุปปา – วิมุตติอย่างเดียว เพราะฉะนั้น นิพพาน ชั่วขณะจึงไม่มี ขอฝากนักปราชญ์รุ่นหลัง ผู้หวงแหนพระพุทธศาสนาด้วย.
ติกฺข : ค. ฉลาด, คม, หลักแหลม
ติตฺถ : (นปุ.) ท่า, ท่าน้ำ, ท่าเป็นที่ข้าม, ท่า ข้าม, ทิฏฐิ คือความเห็นนอกพุทธศาสนา, ลัทธิ ( นอกพุทธศาสนา), อุบาย ( เหตุ ), น้ำศักดิ์สิทธิ์. ตรฺ ปฺลวนตรเณสุ, โถ, อสฺส อิตฺตํ, ทฺวิตฺตํ ( แปลง ถ เป็น ตฺถ), รโลโป. หรือแปลง รฺ เป็น ตฺ ก็ไม่ต้องแปลง ถ เป็น ตฺถ. ส. ตีรถ.
ติตฺถกร ติตฺถิกร ติตฺถีกร : (ปุ.) ชนผู้ทำซึ่ง ลัทธิ, ชนผู้สร้างลัทธิ, เจ้าลัทธิ, ติตถกร (ครูผู้สอนศาสนานอกศาสนา).
ติตฺถิย : (ปุ.) ชนมีลัทธิดังท่าเป็นที่ข้าม, นิครนถ์ผู้มีลัทธิดังท่าเป็นที่ข้าม, เดียรถีย์ (นักบวชนอกพุทธศาสนา คนถือลัทธินอก พุทธศาสนา).
ติตฺถิยปริวาส : (ปุ.) ติตฺถิยปริวาส ชื่อของ กรรมวิธีตรวจสอบเดียรถีย์ ผู้ที่จะมาบวช ในพุทธศาสนาว่าจะมีความเลื่อมใสแท้จริง หรือไม่ มีกำหนด ๔ เดือน ดูรายละเอียด ใน โตร. ๔ ข้อ ๑๐๐ วิธีนี้ควรจะเอามา ประยุกต์ใช้กับคนที่จะมาบวชในปัจจุบัน นี้บ้าง.
ติตฺถิยสาวก : ป. สาวกเดียรถีย์, ศิษย์นักบวชนอกศาสนา
เถต : (วิ.) มั่น, คง, มั่นคง, แข็งแรง, แน่นอน, เป็นหลักฐาน. ฐา ถา วา คตินิวุตฺติยํ, โต. แปลง อา เป็น เอ ถ้าตั้ง ฐา พึงแปลง เป็น ถา.
เถรภูมิ : (อิต.) ชั้นแห่งพระเถระ, ขั้นแห่ง พระเถระ, ชั้นมั่น, ฐานะมั่น, เถรภูมิ ชื่อ ชั้นหรือฐานะของท่านผู้สอบความรู้ใน พระพุทธศาสนา ได้นักธรรมชั้นเอก หรือ หมายถึงพระผู้ใหญ่มีพรรษาครบ ๑๐ แล้ว.
เถรวาท : (ปุ.) เถรวาทชื่อนิกายของพระพุทธ- ศาสนาฝ่ายใต้ซึ่งถือพระธรรมวินัยตามมติ ของพระเถรพุทธสาวกที่ได้ทำสังคายนาไว้ คือไม่ยอมเปลี่ยนหรือถอนพระวินัย แม้ แต่ข้อเล็กน้อย.
ทฺวตตีสาการ : (ปุ.) อาการสามสิบสอง, ส่วนของร่างกายสามสิบสองส่วน, ส่วนของร่างกายทางศาสนากล่าวว่ามี ๓๒ ส่วน มีผม (เกสา) เป็นต้น มีเยื่อในสมอง (มตฺถลุงคํ) เป็นที่สุด.
ทสวิธราชธมฺม : (ปุ.) ธรรมของพระราชามี อย่างสิบ, ธรรมของพระเจ้าแผ่นดินสิบ อย่าง, ทศพิธราชธรรมล ทศพิธราชธรรมเป้นหลักะรรมประจำองค์พระเจ้าแผ่นดินและเป็นคุณธรรมของผู้ปกครองบ้าน เมืองทั้งหลายด้วยมี ๑๐ อย่างคือ ทาน ศีล บริจาค อาชวะมัทวะ ตบะ อักโกธะ อวิหิงสาขันติ และอวิโรธนะ
ทารก : (ปุ.) เด็ก, เด็กชาย, ทารก คือเด็กที่ ยังไม่เดียงสา เด็กแบเบาะ มติทาง ศาสนาว่าเด็กตั้งแต่คลอดถึง ๖ ขวบ. วิ. ทรติ กีฬวเสน ภูมี วิลิขตีติ ทารโก. ทรฺ วิทารเณ, ณวุ. ส. ทารก.
ทิฏฺฐิ : อิต. ทิฐิ, ความเห็น, ทฤษฎี, ความเชื่อถือ, หลักสิทธิ; ความเห็นผิด
ทิฏฺฐิปฺปตฺต : ค. ผู้ถึงแล้วซึ่งทิฐิ, ผู้บรรลุธรรมด้วยความเห็นถูกต้อง, ผู้เข้าใจในหลักความเห็น
เทวาลย : (ปุ.) ที่อยู่ของเทวดา, ประเทศเห็นที่อยู่เทวดา, เทวาลัย ชื่อสถานที่เป็นที่ประดิษฐานเทวรูปฯ โบสถ์พราหมณ์, วัดของศาสนาฮินดู. ส. เทวาลย.
เทสนา : (อิต.) วาจาเป็นเครื่องแสดง, การแสดง, การบรรยาย, การชี้แจง, การแถลง, การสอน, เทสนา, เทศนา (การแสดงธรรม คำสั่งสอนในทางศาสนา). วิ. เทสียตีติ เท สนา. เทสนํ วา เทสนา, ทิสฺ ทิสิ วา อุจุจารเณ, ยุ, อิศฺถิยํ อา.
ธมมจาค : (วิ.) ผู้สละซึ่งธรรม, ผู้ละทิ้งธรรม คือละทิ้งศาสนา ไม่นับถือศาสนา.