กาหลงรัง : (สํา) น. ผู้ที่ไปหลงติดอยู่ ณ บ้านใดบ้านหนึ่งแล้ว ไม่ยอมกลับบ้านของตน, ผู้เร่ร่อนไปไม่มีที่พักพิงเป็นหลักแหล่ง.
กำเลาะ : (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
กุ ๓ : (โบ) ก. กรุ เช่น กุกดดดาน คือ กรุกระดาน. (จารึกสยาม).
กุมภา : (กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).
เก๊ : ว. ปลอมหรือเลียนแบบเพื่อให้หลงผิดว่าเป็นของแท้, ไม่ใช่ของแท้, ไม่ใช่ของจริง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีราคา, ใช้การไม่ได้. (จ.).
ขุดบ่อล่อปลา : (สํา) ก. ทํากลอุบายเพื่อให้ฝ่ายหนึ่งหลงเชื่อโดย หวังประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง.
โขมด ๑ : [ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืน ทําให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า ได้แก่ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้ว ติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).
เครื่องสับ : น. เรียกเรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้ว่า เรือนเครื่องสับ, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
เคลิ้ม : [เคฺลิ้ม] ว. เผลอตัว, หลงไป, จวนหลับ, หลับยังไม่สนิท.
งมงาย : ก. หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น หรือเหตุผลของผู้อื่น.
จตุรงค์ : ว. องค์ ๔, ๔ เหล่า. น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า. (กำสรวล). (ป.; ส. จตุร + องฺค).
ฉ้อฉล : ก. ใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเท็จมากล่าวเพื่อให้เขาหลงผิด.
ชอล์ก ๒ : น. เครื่องเขียนกระดานดําชนิดหนึ่งที่เป็นสีขาวทําจาก แคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมนํ้า, ที่มีสีอื่น ๆ ผสมด้วยดินสีหรือสีสําเร็จรูป เรียกว่า ชอล์กสี. (อ. chalk).
ตกค้าง : ว. หลงเหลืออยู่.
ตกเบ็ด : ก. หย่อนเบ็ดล่อปลา, โดยปริยายหมายความว่า ล่อให้หลง โดยมีเครื่องล่อ. น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง.
ต้ม ๑ : ก. กิริยาที่เอาของเหลวเช่นนํ้าใส่ภาชนะแล้วทําให้ร้อนให้เดือดหรือให้สุก เช่น ต้มนํ้า ต้มข้าว ต้มมัน; ทําให้สะอาดและสุกปลั่ง เช่น ต้มผ้า ต้มทอง ต้มเงิน. ว. เรียกสิ่งที่ต้มแล้ว เช่น นํ้าต้ม ข้าวต้ม มันต้ม; (ปาก) โดย undefined ปริยายใช้ว่าล่อลวงให้หลง, ผู้ถูกล่อลวงให้หลง เรียกว่า ผู้ถูกต้ม.
ต้มจนสุก, ต้มเสียสุก : (ปาก) ก. ล่อลวงให้หลงได้สำเร็จ.
ตลบตะแลง : ว. พลิกแพลงด้วยเล่ห์เหลี่ยมให้หลงเชื่อ, ปลิ้นปล้อน.
ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
ตะเคียน, ตะเคียนทอง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Hopea odorata Roxb. ในวงศ์ Dipterocarpaceae เนื้อไม้แข็ง ใช้เลื่อยเป็นกระดาน และขุดทําเรือ.
ตะพาย : ก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอา เชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่าถูกบังคับให้ยอม ทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือก ที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสําหรับร้อย เชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
ตะวัน : น. ดวงอาทิตย์. ตะวันขึ้น ก. ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันตก. ตะวันตก ก. ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า, ตรงข้ามกับ ตะวันขึ้น, ตะวันตกดิน ก็เรียก; เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าว่า ทิศตะวันตก, ตรงข้ามกับ ทิศตะวันออก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกในกลางฤดูฝนว่า ลมตะวันตก; เรียกประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปและอเมริกาว่า ประเทศตะวันตก, เรียกประชาชนโดย เฉพาะพวกผิวขาว ตลอดจนวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า ชาวตะวันตก วัฒนธรรมตะวันตก เป็นต้น. ตะวันยอแสง ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ยังเห็นแสงตะวันจับขอบฟ้าเป็นสี แดงเข้ม. ตะวันออก ว. เรียกทิศที่ดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าว่า ทิศตะวันออก, ตรงข้ามกับ ทิศ ตะวันตก; เรียกลมที่พัดมาจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกในปลายฤดูฝนว่า ลมตะวันออก; เรียกประชาชนที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนมากเป็นพวกผิวเหลือง ว่า ชาวตะวันออก. ตะวันออกกลาง น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ทาง ทิศตะวันตก ของประเทศอินเดียและปากีสถาน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา, เดิมหมายรวมถึงประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย และพม่า ด้วย. ตะวันออกใกล้ น. กลุ่มประเทศในคาบสมุทรบอลข่านของทวีปยุโรปและในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของทวีปเอเชีย ได้แก่ กรีซ ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย แอลเบเนีย ตุรกี เลบานอน ซีเรีย อิสรา เอล จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย และประเทศอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ บางทีก็หมายรวมถึงอียิปต์และซู ดานด้วย. ตะวันออกไกล น. กลุ่มประเทศในภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเชีย ซึ่งอยู่ห่างไกลจาก ทวีปยุโรปมาก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลีย และไซบีเรีย บางทีก็รวมถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอ เชียตะวันออก เฉียงใต้ คือ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนี เซียด้วย. ตะวันอ้อมข้าว ก. ลักษณะที่ดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โคจรอ้อมลงสู่ขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว.
ทำเสน่ห์ : ก. ทําให้เพศตรงข้ามหลงรักด้วยวิธีการทางไสยศาสตร์.
ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
นกต่อ : (สํา) น. คนที่ทําหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลง เชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี).
นมผา : น. หินงอกหรือหินย้อยซึ่งเกิดจากคราบหินปูนที่ย้อยลงมาจาก เพดานถํ้า มีสีนวลอ่อนคล้ายนํ้านม เมื่อต้องแสงจะมีประกายแวววาว
น้ำมันพราย : น. นํ้ามันที่ได้จากการลนปลายคางศพหญิงที่ตายทั้งกลม เชื่อว่าดีดใส่ผู้หญิง ทําให้ผู้หญิงหลงรัก.
บวช ๒ : (ปาก) ก. หลอก, ล่อลวง, ทําอุบายให้หลงเชื่อ, เช่น ถูกเขาบวชเช้า บวชเย็นรํ่าไป. (อิเหนา ร. ๕).
บังหน้า : ก. นําชื่อบุคคลเป็นต้นมาอ้างเพื่อประโยชน์ตนโดยเจตนา ให้ผู้อื่นหลงผิด; ทํากิจการอย่างหนึ่งเพื่ออําพรางกิจการอีกอย่างหนึ่ง.
ปลอม : [ปฺลอม] ก. ทําให้เหมือนคนอื่นหรือสิ่งอื่น เพื่อให้หลงผิดว่าเป็น คนนั้นหรือสิ่งนั้น เช่น ปลอมตัว. ว. ไม่แท้หรือไม่จริงตามสภาพ ของสิ่งนั้น เช่น ฟันปลอม ผมปลอม.
ปลุกผี : ก. นั่งบริกรรมคาถาจนกระทั่งผีลุกขึ้นมาหรือปรากฏกาย เพื่อใช้ให้ไปทําประโยชน์ตามที่ตนปรารถนา หรือเพื่อลนเอานํ้ามัน จากคางผีตายทั้งกลม ที่เรียกกันว่า น้ำมันพราย สำหรับดีดให้หญิง หลงรัก; รื้อฟื้นเรื่องที่ยุติไปแล้วขึ้นมาใหม่ เช่น ปลุกผีคอมมิวนิสต์.
ปอกลอก : ว. ทําให้เขาหลงเชื่อแล้วล่อลวงเอาทรัพย์เขาไป.
ปั้นสีหน้า : ก. แกล้งแสดงหน้าตาให้ผิดปรกติเพื่อลวงให้เขาหลงเชื่อ เช่น ไม่เจ็บแต่ปั้นสีหน้าให้เหมือนคนเจ็บ.
ผอก ๒ : ว. น่าเกลียด เช่น แลจะให้แก่พราหมณ์เถ้าผอกหงอกหลง. (ม. คําหลวง มหาราช).
ผัดเจ้าล่อ : ก. ผัดให้หลงเชื่อรํ่าไปอย่างขอไปที.
ผีโขมด :
น. ผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืนทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟ อยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป. (ดู โขมด๑).
ผีบุญ : น. ผู้อวดคุณวิเศษว่ามีฤทธิ์ทําได้ต่าง ๆ อย่างผีสางเทวดา ให้คนหลงเชื่อ.
แฝด ๒ : น. เรียกยาหรือสิ่งที่ผู้หญิงให้ผัวกินเพื่อให้หลงรักตัวคนเดียวว่า ยาแฝด.
พงศาวดาร : [วะดาน] น. เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติ หรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น เช่น พงศาวดาร กรุงศรีอยุธยา พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์.
พลัด : [พฺลัด] ก. พลาด หลุด หรือตกจากที่ใดที่หนึ่ง เช่น ของพลัดจากมือ เด็กพลัดจากต้นไม้, พรากจากกันโดยไม่รู้ว่าหลงไปอยู่ที่ใด เช่น พลัดพ่อ พลัดแม่, พรากจากถิ่นฐานหรือบ้านเกิดเมืองนอนเดิม เช่น พลัดถิ่นฐานบ้านเมือง พลัดบ้าน พลัดเมือง.
พาซื่อ : ก. เข้าใจตรง ๆ ตามที่เขาพูด, พลอยหลงเชื่อหรือหลงผิด ตามไปด้วย.
พิสดาร : [พิดสะดาน] ว. กว้างขวาง, ละเอียดลออ (ใช้แก่เนื้อความ) เช่น ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร มีความพิสดารดังนี้; (ปาก) แปลกพิลึก เช่น เล่นพิสดาร. (ส. วิสฺตาร; ป. วิตฺถาร).
มนิลา : น. เรียกเชือกเกลียวสีขาว ๆ ค่อนข้างใหญ่ เหนียวมาก ว่า เชือกมนิลา, มักเรียกว่า เชือกมลิลา; เรียกเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมาไม่หักหน้าจั่ว เหมือนเรือนปั้นหยา แต่ไม่งอนช้อยเหมือนเรือนฝากระดาน ว่า เรือน ทรงมนิลา, เรือนทรงมลิลา ก็เรียก.
มหาละลวย : น. ชื่อมนตร์สําหรับเป่าให้คนหลงรัก.
มอมเมา : ก. ทําให้หลงผิด, ทําให้หมกมุ่นในทางที่ผิด.
มัวเมา : ว. หลงละเลิง, เมามัว ก็ว่า.
มายาวี : น. ผู้มีมารยา, ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมทําให้ลุ่มหลง, เจ้าเล่ห์. (ป., ส.).
มารยาสาไถย : น. การทำให้เขาหลงผิดหรือเข้าใจผิด เช่น เขาทำมารยาสาไถย.
มุ่นหมก : ก. กังวลรักใคร่อยู่, ลุ่มหลงอยู่, หมกมุ่น ก็ว่า.
เมา : ก. เอาไปวางสุมไว้. ก. อาการที่มึนจนลืมตัวขาดสติเพราะฤทธิ์เหล้าฤทธิ์ยาเป็นต้น เช่น เมาเหล้า เมากัญชา, มีอาการวิงเวียนคลื่นเหียนอาเจียนเพราะโดยสารเรือ รถ เครื่องบิน เป็นต้น เช่น เมาเรือ เมารถ เมาเครื่องบิน, ลุ่มหลงจนลืมตัวเพราะมียศมีอำนาจ เป็นต้น เช่น เมายศ เมาอำนาจ.