Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนภูมิภาค, ภูมิภาค, ส่วน , then ภมภาค, ภุมิภาค, ภูมิภาค, สวน, ส่วน, สวนภมภาค, ส่วนภูมิภาค .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนภูมิภาค, 1298 found, display 1101-1150
  1. เหยี่ยว : น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).
  2. เหลือบ ๑ : [เหฺลือบ] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมี ลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ตาโต ตัวผู้ตาชิดกัน ตัวเมียตาห่าง ปากมี อวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีดตัดเนื้อให้ขาด และมีอวัยวะเป็นท่อดูด ของเหลวกินได้ ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. ว. สีเลื่อมพรายเวลากระทบแสงเป็นหลายสี คล้ายสีตัวเหลือบ.
  3. เหวทะเล : น. ส่วนที่ลึกมากของผืนท้องทะเลและมหาสมุทร มีขอบสูง ชันและมีบริเวณจํากัด โดยทั่วไปกําหนดความลึกตั้งแต่ ๕,๔๐๐ เมตร ลงไป.
  4. เหา ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก แต่บางชนิดไม่มีตา อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นชัด ขามี หนามตรงข้ามกับเล็บช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดดูดกิน อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ดูดเลือดคนและสัตว์ ที่อยู่บนศีรษะ ของคนได้แก่ ชนิด Pediculus humanus ในวงศ์ Pediculidae.
  5. แหยม : [แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า หนวดแหยม.
  6. โหนกแก้ม : น. ส่วนของแก้มตรงที่มีกระดูกนูนออกมา.
  7. โหลงโจ้ง : [โหฺลง-] (ปาก) ว. ลักษณะที่มีแต่นํ้าเป็นส่วนใหญ่ แทบไม่มีเนื้อเลย เช่น แกงมีแต่นํ้าโหลงโจ้ง.
  8. ไหล่ : น. ส่วนของบ่าตอนที่ติดกับต้นแขน.
  9. ไหล ๒ : น. ส่วนของพืชบางชนิดเช่นบอนและบัว ซึ่งเลื้อยชอนไปแตกเป็นหน่อ ขึ้น, หางไหล ก็เรียก.
  10. ไหล่เขา : น. ส่วนของเขาที่ถัดยอดเขาลงมา.
  11. ไหล่ถนน, ไหล่ทาง : น. ส่วนของถนนที่ติดอยู่กับทางจราจรทั้ง ๒ ข้าง.
  12. อก ๑ : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียก เลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.
  13. อกเมือง : (กลอน) น. ส่วนสําคัญของเมือง.
  14. องค์กร : น. บุคคล คณะบุคคล หรือสถาบันซึ่งเป็นส่วนประกอบ ของหน่วยงานใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกัน เช่น คณะ รัฐมนตรีเป็นองค์กรบริหารของรัฐ สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กร ของรัฐสภา, ในบางกรณี องค์กร หมายความรวมถึงองค์การด้วย. (อ. organ).
  15. องค์ประกอบ : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่ง ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, ส่วนประกอบ ก็เรียก
  16. องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  17. องคาพยพ : [องคาบพะยบ, องคาพะยบ] น. ส่วนน้อยและใหญ่ แห่งร่างกาย, อวัยวะน้อยใหญ่. (ป. องฺค+ อวยว).
  18. องศา : น. หน่วยในการวัดขนาดของมุม โดยกําหนดให้มุมที่รองรับโค้ง ๑ ใน ๓๖๐ ส่วนของเส้นรอบวง มีขนาด ๑ องศา และ ๙๐ องศา เป็น ๑ มุมฉาก; หน่วยในการวัดอุณหภูมิตามชนิดของเครื่องวัด; (โหร) น. ส่วนหนึ่งของจักรราศี คือ วงกลมในท้องฟ้า แบ่งจักรราศีออกเป็น ๑๒ ราศี และแบ่ง ๑ ราศีออกเป็น ๓๐ องศา ฉะนั้นวงกลมจึงเท่ากับ ๓๖๐ องศา. (ส. อํศ).
  19. อณู ๒ : น. ส่วนของสารที่ประกอบด้วยปรมาณู. (ป., ส. อณุ).
  20. อถรรพเวท, อาถรรพเวท : [อะถับพะเวด, อะถันพะเวด, อาถับพะเวด, อาถันพะเวด] น. ชื่อ คัมภีร์ที่ ๔ ของพระเวท ส่วนใหญ่ประพันธ์ขึ้นภายหลัง แต่มีบาง บทที่เก่ามากซึ่งนำมาจากฤคเวทก็มี. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  21. อนีก, อนีกะ, อนึก : [อะนีกะ, อะนึก] น. กองทัพในสมัยโบราณ, เมื่อใช้เป็นส่วนท้าย ของสมาสใช้ว่า อนีกะ บ้าง อนึก บ้าง เช่น ปัตตานีกะ ปัตตานึก = กองทัพเหล่าราบ กองทัพทหารเดินเท้า, อัศวานีกะ อัศวานึก = กองทัพม้า เหล่าทหารม้า. (ป., ส.).
  22. อนุกรม : [อะนุกฺรม] น. ลําดับ, ระเบียบ, ชั้น, เช่น โดยอนุกรม, นิยมใช้เป็น ส่วนท้ายของสมาส เช่น พจนานุกรม ปทานุกรม นามานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม. (ส. อนุกฺรม; ป. อนุกฺกม).
  23. อนุภาค : น. ชิ้นหรือส่วนขนาดเล็กมาก, ในทางวิทยาศาสตร์มักใช้เรียกส่วน ที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา. (อ. particle).
  24. อนุมูลกรด : น. ส่วนหนึ่งของโมเลกุลของกรดที่ปรากฏอยู่หลังจาก ที่ไฮโดรเจนไอออนแยกตัวออกไปแล้ว เช่น อนุมูลกรดคาร์บอเนต (-CO3) อนุมูลกรดไฮโดรเจนซัลเฟต (-HSO4). (อ. acid radical).
  25. อปรภาค : [อะปะระพาก] น. ส่วนอื่นอีก, เวลาอื่นอีก, ภายหลัง. (ป.).
  26. อพยพ ๒ : [อบพะยบ] (กลอน) น. อวัยวะ, ส่วนของร่างกาย. (ป., ส. อวยว).
  27. อรรธ, อรรธ : [อัด, อัดทะ] น. ครึ่งหนึ่ง, ซีก, ส่วนหนึ่ง. (ส. อรฺธ; ป. อฑฺฒ, อทฺธ).
  28. อเส : [อะ] น. ตัวไม้ซึ่งประกอบยึดเสาส่วนบนของเรือน; ไม้ยึดหัวกงเรือ.
  29. อห : [อะหะ] น. วัน, วันหนึ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสในคําที่มาจาก ภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น สัปดาห์ มาจาก ส. สปฺต + อห = ๗ วัน.
  30. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  31. ออกวัง : ก. แยกจากวังหลวงไปอยู่วังส่วนพระองค์ (ใช้แก่พระเจ้าลูกยาเธอ).
  32. อะตอม : น. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทําปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอม ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สําคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลาง และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู. (อ. atom).
  33. อัคร : [อักคฺระ] ว. เลิศ, ยอด, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส, เช่น อัครมเหสี อัครมหาเสนาบดี. (ส.; ป. อคฺค).
  34. อังกุระ, อังกูร : [กูน] น. หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย; มักใช้ อังกูร เป็นส่วน ท้ายของสมาส เป็น อางกูร เช่น พุทธางกูร นรางกูร. (ป., ส.).
  35. อังคาร : [คาน] น. ชื่อวันที่ ๓ ของสัปดาห์; ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๔ ใน ระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ ๒๒๘ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖,๗๘๗ กิโลเมตร มีพื้น ผิวขรุขระ และมีบรรยากาศเบาบาง ส่วนใหญ่เป็นแก๊สคาร์บอน ไดออกไซด์ มีบริวาร ๒ ดวง; เถ้าถ่านของศพที่เผาแล้ว. (ป., ส.)
  36. อัชฌัตติก : [อัดชัดติกะ] ว. ภายใน, เฉพาะตัว, ส่วนตัว, เช่น อัชฌัตติกปัญญา. (ป.).
  37. อัณฑ, อัณฑะ : [อันทะ] น. ส่วนหนึ่งของอวัยวะลับชาย, กระโปก; ไข่. (ป., ส.).
  38. อัตนัย : ว. ที่เปิดโอกาสให้แสดงความรู้หรือความคิดเห็นส่วนตัวได้, เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบบรรยายแสดงความรู้หรือแสดงความ คิดเห็นของตนเองว่า การสอบแบบอัตนัย, คู่กับ ปรนัย, จิตวิสัย ก็ว่า. (อ. subjective).
  39. อัตโนมัติ : [อัดตะ] น. ความเห็นส่วนตัว, ความเห็นโดยลําพังตน, เช่นในคําว่า อัตโนมัตยาธิบาย คือ อธิบายตามความเห็นของตน. (ป. อตฺตโน ว่า ของตน + มติ ว่า ความเห็น). ว. เป็นไปได้ในตัวเอง, ทําหน้าที่ได้ใน ตัวเอง, มีกลไกทําหน้าที่ได้เอง, เช่น นาฬิกาอัตโนมัติ. (อ. automatic).
  40. อันดร : [ดอน] น. ภายใน, ระหว่าง, มักใช้เข้าสนธิกับคําอื่น เป็นส่วนท้าย ของคําสมาส เช่น พุทธ + อันดร = พุทธันดร นิร + อันดร = นิรันดร. (ป., ส. อนฺตร).
  41. อันเต, อันโต : คําใช้เป็นส่วนหน้าสมาส หมายความว่า ภายใน.
  42. อันโตนาที : น. ระยะเวลาโคจรของพระอาทิตย์ภายในราศีหนึ่ง ๆ โดยคิดเป็นวันใน ๑ ปี แล้วเทียบส่วนมาเป็นมหานาทีใน ๑ วัน (๑ มหานาที เท่ากับ ๒๔ นาที) เช่น อยู่ในราศีเมษ ๕ มหานาที ราศีพฤษภ ๔ มหานาที ราศีเมถุน ๓ มหานาที.
  43. อัพภันดร, อัพภันตร : [อับพันดอน, ตะระ] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัด ในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).
  44. อัพภูตธรรม : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป.).
  45. อัมพฤกษ์ : [อํามะพฺรึก] น. ชื่อเส้นซึ่งเป็นศูนย์กลางของร่างกาย อยู่ด้านหน้าท้อง; อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาอ่อนแรง.
  46. อัมพาต : [อํามะพาด] น. อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาตายไป กระดิกไม่ได้. (ส. อมฺ + วาต = โรคลม).
  47. อัศวานึก : [อัดสะวานึก] น. กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า, เป็นส่วน หนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือจตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่า ทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพ เหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ส. อศฺวานีก; ป. อสฺสานีก).
  48. อาการ, อาการ : [อากาน, อาการะ] น. ความเป็นอยู่, ความเป็นไป, สภาพ, เช่น อาการไข้; กิริยาท่าทาง เช่น อาการพิรุธ; ลักษณะเดียวกัน เช่น โดยอาการนั้น; ส่วนของร่างกายซึ่งนิยมว่ามี ๓๒ อย่าง เรียกว่า อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น. (ป., ส.).
  49. อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
  50. อาคม : [คม] น. เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | [1101-1150] | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1298

(0.1301 sec)