Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ส่วนภูมิภาค, ภูมิภาค, ส่วน , then ภมภาค, ภุมิภาค, ภูมิภาค, สวน, ส่วน, สวนภมภาค, ส่วนภูมิภาค .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ส่วนภูมิภาค, 1298 found, display 51-100
  1. ยอด : น. ส่วนสูงสุด, ส่วนเหนือสุด, เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดเขา, ส่วน ปลายสุดของพรรณไม้หรือที่แตกใหม่ เช่น ยอดผัก ยอดตำลึง ยอดกระถิน; เรียกคนหรือสัตว์ที่มีคุณสมบัติยิ่งยวดเหนือผู้อื่น เช่น ยอดคน ยอดหญิง ยอดสุนัข; จํานวนรวม เช่น ยอดเงิน; ฝี (ใช้ในราชาศัพท์ว่า พระยอด). (ปาก) ว. ที่สุด เช่น ยอดเยี่ยม ยอดรัก.
  2. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  3. กรีดไพ่ : ก. สับไพ่ป๊อกโดยวิธีแยกไพ่ออกเป็น ๒ ส่วน ใช้มือแต่ละข้างจับไพ่แต่ละส่วนไว้ แล้วใช้ที่หัวแม่มือระไพ่ แต่ละใบให้ล้มทับสลับกันจนหมดแล้วผลักรวมเข้าด้วยกัน.
  4. กฤดายุค : [กฺริดา-] น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฺฤตยุค). (ดู จตุรยุค).
  5. กลียุค : [กะลี-] น. ชื่อยุคที่ ๔ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลง โดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน. (ป., ส. กลิยุค). (ดู จตุรยุค).
  6. กะรัต : [-หฺรัด] น. หน่วยมาตราชั่งเพชรพลอย ๑ กะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม หรือ ๓.๐๘๖๕ เกรน, ปริมาณทองคําแท้ที่ประสมอยู่กับธาตุอื่น โดยกําหนดทองคําและโลหะที่ประสมกันนั้นรวมเป็น ๒๔ ส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายความว่า มีเนื้อทองคํา ๑๔ ส่วน นอกนั้นอีก ๑๐ ส่วนเป็นธาตุอื่นประสม. (อ. carat).
  7. กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
  8. โกฐาส : [โกดถาด] (แบบ) น. ส่วน เช่น พรพอใจบ้นนน้นนอนนเป็น โกฐาสถ้อย. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป. โกฏฺ?าส).
  9. โคแทนเจนต์ : (คณิต) น. โคแทนเจนต์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ๑ ส่วน แทนเจนต์ของมุมนั้น). (อ. cotangent).
  10. เงินเยอรมัน : น. โลหะเจือซึ่งมีองค์ประกอบโดยประมาณเป็นทองแดง ๕ ส่วน สังกะสี ๒ ส่วน และนิกเกิล ๒ ส่วน. (อ. German silver).
  11. จักรราศี : น. อาณาเขตที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์, อาณาเขตโดย รอบดวงอาทิตย์ที่ดาวเคราะห์เดิน, วิถีโคจรประจําของดวงอาทิตย์ซึ่งดู เสมือนวนไปรอบท้องฟ้าได้๓๖๐ องศาใน ๑ ปี วงโคจรนี้แบ่งออกเป็น ๑๒ ส่วน หรือ ๑๒ ราศี แต่ละส่วนหรือแต่ละราศีมีช่วง ๓๐ องศา ได้แก่ ราศีเมษ ราศีพฤษภ ราศีเมถุน ราศีกรกฎ ราศีสิงห์ ราศีกันย์ ราศีตุลหรือ ราศีดุล ราศีพฤศจิกหรือราศีพิจิก ราศีธนู ราศีมังกร ราศีกุมภ์ และราศีมีน, วงโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ที่สมมุติขึ้นทาง โหราศาสตร์ประกอบด้วย ๑๒ ราศี. (ส.).
  12. จำนวนเชิงซ้อน : (คณิต) น. จํานวนที่มีองค์ประกอบ ๒ ส่วน เขียนได้ เป็น a + bi โดย a และ b เป็นจํานวนจริง และ i๒ = -๑.
  13. จำนวนตรรกยะ : (คณิต) น. จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปเศษส่วนได้ โดยทั้งเศษและส่วนต้องเป็นจํานวนเต็ม และส่วนต้องไม่เท่ากับศูนย์, จํานวนที่สามารถเขียนให้เป็นรูปทศนิยมไม่รู้จบประเภทซํ้าได้ เช่น เศษ ๑ ส่วน ๙ (เท่ากับ ๐.๑), เศษ ๑๒ ส่วน ๙๙ (เท่ากับ ๐.๑๒).
  14. ไซน์ : (คณิต) น. ไซน์ของมุมใดคืออัตราส่วน (เศษ ความยาวของด้าน ตรงข้ามมุมนั้น ส่วน ความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก) ในเมื่อ ถือเอารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (ที่มีมุมนั้น) เป็นหลัก. (อ. sine).
  15. ตัน ๒ : น. มาตรานํ้าหนักและมาตราวัด มีหลายอัตราแล้วแต่วัตถุที่ใช้ คือ ๑. เมตริกตัน มาตราชั่ง เท่ากับ นํ้าหนัก ๑,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๑๖ (เศษ ๒ ส่วน ๓) หาบหลวง หรือเป็นมาตราวัดเท่ากับ ๑.๑๓ ลูกบาศก์เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต. ๒. ตันระวางเรือ ถ้าคํานวณระวางบรรทุกสินค้า และห้องทั่วไป เรียก ตันกรอส, ถ้าคํานวณเฉพาะบรรทุกสินค้า เรียก ตันเน็ต, และถ้าคํานวณนํ้าหนักทั้ง ลําเรือเช่นเรือรบ เรียก ตันระวางขับน้ำ, ทั้ง ๓ นี้วัด ๑๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่งเช่นเดียวกัน. ๓. ตัน ระวางบรรทุกอื่น ๆ ถ้าของหนักคิด ๑,๐๑๖.๐๔๗ กิโลกรัม เป็นตันหนึ่ง ถ้าเป็นของเบาคิดวัด ๑.๑๓ ลูกบาศก์ เมตร หรือ ๔๐ ลูกบาศก์ฟุต เป็นตันหนึ่ง. (อ. ton).
  16. ทองเค : น. เรียกทองคําที่มีเกณฑ์สําหรับวัดความบริสุทธิ์เป็นกะรัตว่า ทองเค, ทอง ๒๔ กะรัต ถือเป็นทองแท้ ถ้ามีกะรัตตํ่าลงมา ก็มีโลหะ อื่นเจือมากขึ้นตามส่วน เช่น ทองคํา ๑๔ กะรัต หมายถึงมีเนื้อทอง ๑๔ ส่วน มีโลหะอื่นปน ๑๐ ส่วน, ทองนอก ก็เรียก.
  17. ธงชาติ ๒, ธงชาติไทย : (กฎ) น. ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและ ชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบ สีนํ้าเงินแก่ กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีนํ้าเงินแก่ออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง ๒ ข้างเป็น แถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ''ธงไตรรงค์''.
  18. ธงบรมราชวงศ์ใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี มี ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาว ของผืนธง ที่ตรงกลางตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของผืนธงเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสสีขาบ มีขนาดกว้างยาวครึ่งหนึ่งของความกว้างของผืนธง ภายใน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีขาบมีรูปมงกุฎขัตติยราชนารีประดิษฐานบนพาน แว่นฟ้า ๒ ชั้นเหนือตั่ง และมีตั่งลดตั้งฉัตรกลีบบัว ๕ ชั้น อยู่ ๒ ข้าง รูปเหล่านี้เป็นสีเหลืองเข้ม.
  19. ธงราชินีใหญ่ : (กฎ) น. ธงสําหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน พื้นธงสีเหลือง ตอนต้น ๒ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธงเหมือนธงมหาราชใหญ่ ตอนปลายตัดเป็น แฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๑ ใน ๓ ส่วนของความยาวของผืนธง.
  20. แบ่ง : ก. แยกสิ่งที่เป็นอันเดียวกันหรือถือว่าเป็นอันเดียวกันออกเป็น ส่วน ๆ เช่น แบ่งเงิน แบ่งของ.
  21. ปฐมเทศนา : [ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถม เทดสะหฺนา] น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมาย สําคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทํานิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทํา ท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง.
  22. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  23. แมง : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีร่างกายแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนหัวกับอกรวมเป็นส่วนเดียวกันส่วนหนึ่ง และส่วนท้องอีกส่วนหนึ่ง มีขา ๘ หรือ ๑๐ ขา ไม่มีหนวด ไม่มีปีก เช่น แมงมุม แมงดาทะเล แมงป่อง มักเรียกสับกับคําว่า แมลง.
  24. แมลง : [มะแลง] น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มี ๖ ขา เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกเดียวที่มีปีก ซึ่งอาจมี ๑ หรือ ๒ คู่ แต่อาจพบพวกที่ไม่มีปีกก็ได้ เป็นสัตว์ที่มีมากชนิดที่สุดในโลก มักเรียกสับ กับคําว่า แมง.
  25. โม่ : น. เครื่องบดชนิดหนึ่งทําด้วยหิน รูปร่างคล้ายสีสีข้าว มี ๒ ส่วน ส่วนบนซึ่งเรียกว่า ลูกโม่นั้น มีมือถือสำหรับหมุน และมีรูสำหรับกรอกเมล็ดพืช เมื่อหมุนลูกโม่จะบด เมล็ดพืชให้ละเอียดและไหลลงสู่ส่วนล่างซึ่งมีลักษณะเป็นรางสำหรับรองรับอยู่เกือบ รอบลูกโม่ ด้านหนึ่งของส่วนล่างมีช่องเปิดให้สิ่งที่โม่แล้วไหลลงสู่ภาชนะ ที่รองรับได้. ก. บดให้ละเอียดด้วยโม่.
  26. ราย : น. เรื่อง ส่วน บุคคล หรือสิ่งซึ่งแยกกล่าวเป็นอย่าง ๆ ไป เช่น พิจารณา เป็นราย ๆ ไป แต่ละราย รายนี้เข้าที่ไหนบ่อนแตกที่นั่น, ลักษณนาม ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น อุบัติเหตุ ๓ ราย เขามีลูกหนี้หลายราย. ว. ที่แยกเป็นลําดับหรือเป็นระยะต่อเนื่องกัน เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารรายเดือน ค่าอาหารคิดเป็นรายหัว ถามเป็นรายบุคคล, ที่เรียงกัน เป็นแถวเป็นระยะ ๆ เช่น ศาลาราย เจดีย์ราย.
  27. เรือต่อ : น. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัย กงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตาม ส่วน เช่น เรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ.
  28. วินาที : น. ส่วน ๑ ใน ๖๐ ของนาที.
  29. สมมาตร : [สมมาด] น. ลักษณะที่รูป ๒ รูปหรือรูปรูปเดียว แต่แยกได้เป็น ๒ ส่วน มีสมบัติว่า ถ้านํารูปแรกไปทับรูปที่ ๒ หรือพับส่วนแรกไปทับส่วนที่ ๒ ในกรณีที่เป็นรูปเดียวกันแล้ว ทั้ง ๒ รูปหรือ ๒ ส่วนนั้นจะทับกันสนิท, ถ้าเป็นรูปทรง ๓ มิติ เมื่อแบ่งครึ่งออกไป ๒ ซีกจะเหมือนกันทุกประการ. (อ. symmetry).
  30. หลัก ๒ : น. ตําแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจํานวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จํานวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่าจํานวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จํานวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จํานวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจํานวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗.
  31. หุ้น : น. ส่วนที่ลงทุนเท่ากันในการค้าขายเป็นต้น. (เทียบภาษาจีนแต้จิ๋ว หุ่ง ว่า หุ้น, ส่วน); (กฎ) หน่วยลงทุนแต่ละหน่วยที่มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ซึ่งรวมกัน เป็นทุนเรือนหุ้นของบริษัทจํากัด. (อ. share).
  32. องศ์ : น. ส่วน, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ไตรยางศ์ (ตฺรย + อํศฺ) ว่า ๓ ส่วน.
  33. อูฐ : [อูด] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Camelidae หัว คอ และขา ทั้ง ๔ ยาว มีนิ้วตีนข้างละ ๒ นิ้ว กระเพาะมี ๓ ส่วน ไม่มีถุงนํ้าดี มี ๒ ชนิด คือ ชนิด ๒ หนอก (Camelus bactrianus) มีในประเทศจีน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน, ชนิดหนอกเดียว (C. dromedarius) มีในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ. (ป. โอฏฺ?; ส. อุษฺฏฺร).
  34. ครึ่ง : [คฺรึ่ง] ว. กึ่ง, ๑ ส่วนใน ๒ ส่วน.
  35. ทวิภาค : น. ๒ ส่วน. (ส.).
  36. ฝ่าย : น. ข้าง, พวก, ส่วน.
  37. ร้อยละ : น. ต่อร้อย, จำนวนส่วนในร้อยส่วน, เช่น ร้อยละ ๑๐ คือ ๑๐ ต่อ ๑๐๐ หรือ ๑๐ ส่วนใน ๑๐๐ ส่วน.
  38. เศษส่วน : น. จํานวน ๒ จํานวน หรือนิพจน์ ๒ นิพจน์ที่เขียน ในรูปของผลหารโดยไม่ต้องหารต่อไปอีก เช่น (รูปภาพ) หรือ (รูปภาพ) จำนวนบนเรียกว่า เศษ จำนวนล่างเรียกว่า ส่วน. (อ. fraction).
  39. เศษ : ส่วนที่เหลือใช้การไม่ได้ตามวัตถุประสงค์, ส่วนที่เหลือซึ่งไม่ ต้องการ, เช่น เศษกระดาษ น. เศษอาหาร เศษขยะ; สิ่งที่เกินหรือ เลยจากจํานวนเต็มที่กําหนดไว้ เช่น เวลา ๒ นาฬิกาเศษ ยาว ๒ วาเศษ; ส่วนปลีกย่อยหรือส่วนย่อย เช่น เศษสตางค์; เศษเนื้อ เศษผ้า(คณิต) ส่วนที่เหลือจากการหาร เช่น ๙ หารด้วย ๗ เหลือเศษ ๒. (ส.; ป. เสส).
  40. สวน ๔, สวนะ ๑ : [สะวะนะ] น. การฟัง. (ป.; ส. ศฺรวณ).
  41. กระสาย : น. เครื่องแทรกยา เช่น น้ำเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยา ทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.
  42. ดา ๑ : น. ชื่อแมลงพวกมวน มีหลายสกุล, ชนิดที่ตัวกว้าง รูปไข่ แบน เมื่อพับปีก ปีกจะแนบไปกับสันหลัง ความยาวจากหัวถึงปลายปีก ๖.๒-๘.๒ เซนติเมตร ส่วนท้องกว้าง ๒.๖-๒.๘ เซนติเมตร สีนํ้าตาลแก่หรือนํ้าตาลอมเขียว ด้าน หลังของส่วนอกตอนต้นมีลายเป็นแถบ ๕ แถบ คือ แมลงดา หรือ แมลงดานา (Lethocerus indicus) ใช้ตํากับนํ้าพริก กินได้; อีกสกุลหนึ่ง คือ แมลงดาสวน หรือ แมลงสีเสียด (Sphaerodema rusticum และ S. molestum) รูปร่างคล้าย แมลงดานามาก แต่เล็กกว่า ขนาดยาว ๑.๓-๑.๗ เซนติเมตร กว้าง ๐.๙ เซนติเมตร นํามาคั่วกับเกลือ กินได้; และยังมีสกุล Laccotrephes ได้แก่ชนิด L. ruber และ L. robustus ซึ่งมีลําตัวยาว ๓-๔.๔ เซนติเมตร กว้าง ๑-๑.๓ เซนติเมตร สีนํ้าตาลอมแดง มีหางยาว ๒ อัน ยาว ๑.๒-๑.๓ เซนติเมตร, สกุลนี้ แมลงดาโป้งเป้ง ดากลั้นเยี่ยว หรือ ดาเยี่ยว ก็เรียก.
  43. พื้น : น. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็น แผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทํา สวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มี ดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
  44. ศกละ : [สะกะละ] น. ส่วน, ซีก. (ส.; ป. สกล).
  45. อัฏฐังค์ : น. องค์ ๘, ๘ ส่วน, ๘ ชั้น. (ป.).
  46. กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
  47. กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
  48. กงสี : น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสําหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท. (จ. กงซี ว่า บริษัททําการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
  49. กฎหมายพาณิชย์ : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจํานอง การจํานํา ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท. (อ. commercial law).
  50. กฎอัยการศึก : (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจําเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1298

(0.1273 sec)